(V)accine (-) (“)(one)(zero)(zero)(zero) million(“)
➡️(25 เมษายน 2564) ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยว่า “ขณะนี้ได้มีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลก แล้วถึงระดับ 1,000 ล้านโดส ใน 191 ประเทศ/เขตปกครอง ใช้เวลาเพียง 138 วัน เร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยความเร็วในการฉีดรวดเร็วเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง 500 ล้านโดสแรกใช้เวลา 108 วัน ในขณะที่ 500 ล้านโดสหลัง ใช้เวลาเร็วขึ้น 3 เท่า เพียง 30 วันเท่านั้น”
ในขณะนี้ อัตราการฉีดล่าสุดรวมกันทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ 18.3 ล้านโดสต่อวัน โดยอิสราเอล มัลดีฟส์และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฉีดวัคซีนครอบคลุมเฉลี่ยกว่าครึ่งของประชากร ในขณะที่สหรัฐอเมริกาฉีดวัคซีนเป็นจำนวนมากที่สุด รองลงมาคือประเทศจีน โดยจีนได้เร่งฉีดวัคซีนได้ถึงวันละ 4.1 ล้านโดส และ
สหรัฐอเมริกาฉีดวันละ 2.8 ล้านโดส คาดว่าจีนน่าจะเป็นประเทศที่ฉีดวัคซีนจำนวนมากที่สุดในโลกภายในสัปดาห์หน้า ทั้งนี้สหรัฐอเมริกาและจีน ได้ฉีดวัคซีนรวมกันคิดเป็นเกือบครึ่งของจำนวนการฉีดทั่วโลก
“สำหรับประเทศไทย ได้ฉีดวัคซีนแล้วรวม 1,124,153 โดส ซึ่งมีผู้ที่ฉีดครบสองเข็มแล้ว 175,029 คน” จังหวัดที่ฉีดวัคซีนมากที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร และมี 31 จังหวัดที่ฉีดวัคซีนเข็มที่สองแล้ว ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 52 เป็นบุคลากรการแพทย์/สาธารณสุข และ อสม. รองลงมาอีก 28% เป็นประชากรในพื้นที่เสี่ยง” “ทั้งนี้มีผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 โดส จำนวน 949,124 คน หรือเท่ากับประมาณ 1.43% ของประชากร” ปลัดกระทรวง อว. สรุป
ในขณะที่ทุกประเทศในอาเซียนได้ฉีดวัคซีนแล้วรวมกันมากกว่า 28 ล้านโดส โดยสิงคโปร์เป็นประเทศที่ฉีดวัคซีนในสัดส่วนมากที่สุดครอบคลุมเกือบ 1 ใน 5 ของประชากร ส่วนอินโดนีเซียฉีดวัคซีนจำนวนมากที่สุดถึง 18.5 ล้านโดส
🌏 ในการฉีดวัคซีนโควิด-19 จำนวน 1,000 ล้านโดสนี้ อว. ขอรายงานสถิติที่สำคัญ คือ
1.ระยะเวลาที่ใช้เวลาในการฉีดวัคซีนถึง 500 ล้านโดสแรก ในเวลา 108 วัน ในขณะที่ 500 ล้านโดสหลัง ใช้เวลา 30 วัน (เร็วขึ้น 3 เท่า)
-แตะ 200 ล้านโดส ในเวลา 75 วัน
400 ล้านโดส ในเวลาอีก 25 วัน
600 ล้านโดส ในเวลาอีก 14 วัน
800 ล้านโดส ในเวลาอีก 12 วัน
และ 1,000 ล้านโดส ในเวลาอีกเพียง 12 วัน
- ประเทศที่ฉีดวัคซีนแล้วมากที่สุด
มี 4 ประเทศลำดับแรกที่ฉีดวัคซีนมากกว่า 100 ล้านโดส ได้แก่ - สหรัฐอเมริกา จำนวน 225.64 ล้านโดส (22.4% ของจำนวนการฉีดทั่วโลก)
- จีน จำนวน 216.08 ล้านโดส (21.4%)
- อินเดีย จำนวน 140.80 ล้านโดส (14%)
- สหภาพยุโรป จำนวน 126.34 ล้านโดส (12.5%)
- ประเทศที่ฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรมากที่สุด
มี 3 ประเทศที่ฉีดวัคซีนให้กับประชากรมากกว่า 40% แล้ว ได้แก่ - อิสราเอล (ครอบคลุมอย่างน้อย 57.4% ของประชากร) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech และ Moderna)
- มัลดีฟส์ (48.5%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford)
- สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (47.4%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaleya)
- ความเร็วในการฉีดวัคซีน สูงที่สุด 10 อันดับแรก (เฉลี่ยล่าสุด)
- จีน (เฉลี่ยวันละ 4.1 ล้านโดส)
- สหรัฐอเมริกา (วันละ 2.8 ล้านโดส)
- อินเดีย (วันละ 2.6 ล้านโดส)
- สหภาพยุโรป (วันละ 2.4 ล้านโดส)
- บราซิล (วันละ 1 ล้านโดส)
- รัสเซีย (วันละ 0.7 ล้านโดส)
- เยอรมนี (วันละ 0.5 ล้านโดส)
- สหราชอาณาจักร (วันละ 0.5 ล้านโดส)
- คาซัคสถาน (วันละ 0.4 ล้านโดส)
- เม็กซิโก (วันละ 0.4 ล้านโดส)
ทั้งนี้มี 5 ประเทศ/ภูมิภาค ที่ฉีดวัคซีนประมาณวันละ 1 ล้านโดสหรือมากกว่า ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา อินเดีย สหภาพยุโรป และบราซิล - จำนวนการฉีดวัคซีน แยกตามภูมิภาค
- เอเชียและตะวันออกกลาง 47.74%
- อเมริกาเหนือ 25.44%
- ยุโรป 17.89%
- ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน 7.02%
- แอฟริกา 1.69%
- โอเชียเนีย 0.22%
- ยอดการจองวัคซีนทั่วโลก รวมกันประมาณ 9,600 ล้านโดส
-ประเทศที่มียอดการจองวัคซีนจำนวนมากที่สุด ได้แก่ อินเดีย
-วัคซีนที่ได้รับการจองมากที่สุดคือวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford
-ประเทศที่มีการจองวัคซีนในสัดส่วนประชากรมากที่สุดคือ สหราชอาณาจักร - ในภูมิภาคอาเซียน ได้ฉีดวัคซีนแล้วในทุกประเทศ รวมกัน 28,133,888 โดส ได้แก่
- สิงคโปร์ จำนวน 2,213,888 โดส (ครอบคลุมประชากรอย่างน้อย 19.5% ของประชากร) โดยฉีดวัคซีนของ Pfizer และ Moderna
- กัมพูชา จำนวน 1,915,966 โดส (5.7% ของประชากร) โดยฉีดวัคซีนของ Sinopharm Sinovac และ AstraZeneca
- อินโดนีเซีย จำนวน 18,556,227 โดส (3.5% ของประชากร) โดยฉีดวัคซีนของ Sinovac และ AstraZeneca
- มาเลเซีย จำนวน 1,290,414 โดส (2% ของประชากร) โดยฉีดวัคซีนของ Pfizer และ Sinovac
- ลาว จำนวน 179,525 โดส (1.2% ของประชากร) โดยฉีดวัคซีนของ Sinopharm และ Sputnik V
- พม่า จำนวน 1,040,000 โดส (1% ของประชากร) โดยฉีดวัคซีนของ AstraZeneca
- ไทย จำนวน 1,124,153 โดส (0.8% ของประชากร) โดยฉีดวัคซีนของ Sinovac และ AstraZeneca
- ฟิลิปปินส์ จำนวน 1,612,420 โดส (0.7% ของประชากร) โดยฉีดวัคซีนของ Sinovac และ AstraZeneca
- บรูไน จำนวน 2,323 โดส (0.3% ของประชากร) โดยฉีดวัคซีนของ Sinopharm และ AstraZeneca
- เวียดนาม จำนวน 198,972 โดส (0.1% ของประชากร) โดยฉีดวัคซีนของ AstraZeneca
- ข้อมูลการฉีดวัคซีนล่าสุดของประเทศไทย
ได้จัดส่งวัคซีนแล้วจำนวน 2,003,846 โดส จำนวนการฉีดวัคซีนสะสม 1,124,153 โดส ณ วันที่ 25 เมษายน 2564 แบ่งเป็นเข็มแรก 949,124 โดส และเข็มสอง 175,029 โดส โดยฉีดแล้วครบทุกจังหวัด
หากพิจารณาจากผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 โดส จะมีจำนวน 949,124 คน หรือเท่ากับ 1.43% ของประชากร 8.1 สัดส่วนการฉีดวัคซีนแบ่งตามกลุ่มเป้าหมาย- บุคลากรการแพทย์ สาธารณสุขและ อสม. 52%
- ประชาชนในพื้นที่เสี่ยง 28%
- เจ้าหน้าที่อื่นๆที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย 13%
- บุคคลที่มีโรคประจำตัว 4%
- ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 3%
- กรุงเทพมหานคร
- สมุทรสาคร
- ภูเก็ต
- สุราษฎร์ธานี
- ตาก
- ชลบุรี
- นนทบุรี
- สมุทรปราการ
- ปทุมธานี
- นครราชสีมา
แหล่งข้อมูล Bloomberg Vaccine Tracker, Covidvax, กระทรวงสาธารณสุข
ประมวลข้อมูลโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)