ไปบังคับใช้แรงงานบนเรือประมงในน่านน้ำสหพันธรัฐมาเลเซีย
ที่เป็นอาชญากรรมข้ามชาติซึ่งมีประเทศไทยหรือคนสัญชาติไทยเกี่ยวข้อง นั้น
เมื่อวันศุกร์ที่ 30 เมษายน 2564 กรมสอบสวนคดีพิเศษ ภายใต้การอำนวยการของ
พันตำรวจโท กรวัชร์ ปานประภากร อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พันตำรวจโท สุภัทธ์ ธรรมธนารักษ์
รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พันตำรวจตรี สิริวิชญ์ ชาญเตชะสิทธิ์กุล ผู้อำนวยการกองคดีการค้ามนุษย์ และพันตำรวจโท จักรกฤษณ์ วิเศษเขตการณ์ ผู้อำนวยการกองปฏิบัติการพิเศษ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ส่วนคดีการค้ามนุษย์ 3 กองคดีการค้ามนุษย์ และศูนย์สืบสวนสะกดรอยและการข่าว กองปฏิบัติการพิเศษ ได้สนธิกำลังกันเข้าจับกุมชายไทย อายุ 45 ปี เจ้าของเรือ ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาในความผิดฐานสมคบกันกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ ร่วมกันแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากการบังคับใช้แรงงานบนเรือประมง
กรณีดังกล่าวเป็นคดีพิเศษที่ 14/2562 กรณีหลอกลวงแรงงานชาวกัมพูชาไปบังคับใช้แรงงานบนเรือประมงในน่านน้ำสหพันธรัฐมาเลเซีย กล่าวคือ เมื่อปี พ.ศ. 2558 แรงงานชาวกัมพูชาได้เดินทางเข้ามาในประเทศไทยเพื่อหางานทำ ต่อมาได้เร่ร่อนมาที่บริเวณท่าเรือสะพานปลาจังหวัดสมุทรปราการ และได้ถูกนายหน้าชาวกัมพูชาหลอกลวงให้ทำงานในเรือประมง โดยแจ้งว่าเป็นงานที่สบายและได้ค่าตอบแทนเป็นรายเดือน แต่เมื่อตอบตกลงและทำงานตามที่พูดคุยกันแล้ว ได้ถูกพาไปส่งให้กับเจ้าของเรือ และปรากฏว่า สภาพการทำงานเป็นไปอย่างยากลำบาก อีกทั้งตลอดระยะเวลาที่ทำงานบนเรือประมงไม่เคยได้รับค่าจ้างจากการทำงานดังกล่าวแต่อย่างใด และยังถูกยึดเอกสารประจำตัวเอาไว้อีกด้วย นอกจากนี้ยังถูกบังคับให้ทำงานบนเรือประมงหลายลำในน่านน้ำสหพันธรัฐมาเลเซีย โดยถูกไต้ก๋งเรือประมงกักขังหน่วงเหนี่ยวไม่ให้ขึ้นฝั่งเป็นเวลานานเกือบ 2 ปี และยังถูกบังคับให้ทำงานต่อเนื่องตลอดทั้งวัน โดยได้นอนเพียงวันละ 4 ชั่วโมง และหากทำงานไม่เสร็จ จะไม่ได้รับประทานอาหาร นอกจากนี้ยังเคยถูกไต้ก๋งทำร้ายร่างกายและคอยกลั่นแกล้งเป็นประจำ เช่น การเอาน้ำเทใส่ในจานอาหาร เป็นต้น โดยเมื่อขอลาออก ไต้ก๋งเรือกลับไม่อนุญาตให้ลาออก จนกระทั่งเดือนกุมภาพันธ์ 2560 ตำรวจมาเลเซียได้ลาดตระเวน พบว่าใบอนุญาตของเรือประมงลำดังกล่าวหมดอายุ จึงได้
กลับขึ้นฝั่งที่ท่าเรือตันหยง มานิส สหพันธรัฐมาเลเซีย และเมื่อหลบหนีออกจากท่าเรือได้แล้ว จึงเข้าขอความช่วยเหลือจากองค์การยุติธรรมนานาชาติ (IJM) ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษได้รับเรื่องไว้เป็นคดีพิเศษ และพนักงานสอบสวนคดีพิเศษได้ทำการสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานร่วมกับพนักงานอัยการในฐานะเป็นความผิดซึ่งมีโทษตามกฎหมายไทยได้กระทำลงนอกราชอาณาจักรไทย จนกระทั่งมีการขออำนาจศาลอาญาอนุมัติหมายจับดังกล่าว