ช่วงนี้เป็นช่วงต้นฤดูกาลในการเก็บชาอินทรีย์ของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ที่มีการปลูกในแปลงส่งเสริมการผลิตชาอินทรีย์ (แปลง 2000) ภายในพื้นที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ โดยบนดอยอ่างขางช่วงนี้ อากาศเย็นสบาย ประมาณ 18-19 องศาเซลเซียส ซึ่งสถานีฯ ดอยอ่างขาง ปกติแล้วมีสภาพอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี โดยช่วงเดือนเมษายน-พฤศจิกายนของทุกปี จะเป็นช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตยอดชา เพื่อนำมาแปรรูปเป็นชาเขียว ชาแดง ชาอู่หลงก้านอ่อน และชาอู่หลงเบอร์ 12

วันนี้ถือโอกาสติดตามพวกพี่ๆ ชาวดาราอั้ง ที่เป็นชาวไทใหญ่ที่เป็นชนเผ่าอาศัยอยู่บนพื้นที่สูง เรียกอีกชื่อว่า ปะหล่อง มาร่วมกันลงแขกเก็บชาในแปลง โดยพี่ๆ เล่าให้ฟังว่า เป็นการเอามื้อ ส้ายมื้อ ตามภาษาพูด ซึ่งก็เข้าใจได้ว่า มาช่วยกันเก็บ โดยจะเวียนกันตามลำดับของเกษตรกรของแต่ละแปลง และนำผลผลิตที่ได้ขึ้นไปเข้ากระบวนการต่างๆ ที่โรงชา ที่ตั้งอยู่ด้านบนของแปลงชา 2,000 ซึ่งถือว่าเป็นโรงชาที่มีเครื่องจักร และขั้นตอนการผลิตที่ทันสมัยและได้มาตรฐาน

การปลูกชาอินทรีย์ของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เป็นพืชที่ได้ทำการส่งเสริมให้กับเกษตรกรปลูกเป็นอาชีพหลัก นอกเหนือจากไม้ผลเมืองหนาว ผักเมืองหนาว สตรอว์เบอร์รี ไม้ดอก พืชไร่ สมุนไพร กาแฟ เห็ด และปศุสัตว์ โดยงานส่งเสริมชาอินทรีย์ได้เริ่มเมื่อปี 2535 มาจนถึงปัจจุบัน

พ.ศ. 2535 สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เริ่มนำเมล็ดพันธุ์ชาลูกผสม (ชาจีน ชาอัสสัม) จากศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ มาทดสอบปลูกที่บ้านนอแล
ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 ต้นชาที่นำมาทดลองปลูกเริ่มให้ผลผลิต (ยอดชา) ได้เก็บมาแปรรูป ผลผลิตชาของปีนั้นกลิ่นและสีเป็นที่น่าพอใจ ทางมูลนิธิโครงการหลวงจึงได้ตั้งทีมส่งเสริมและพัฒนาชาจีนขึ้น (จากนั้นได้มีสถานีฯ ต่างๆ เข้าร่วม 5 แห่ง ได้แก่ อ่างขาง ขุนวาง ม่อนเงาะ ห้วยน้ำขุ่น และแม่ปูนหลวง)
ในช่วง พ.ศ. 2540 สถานีเกษตรหลวงอ่างขางได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลไต้หวัน และสถาบันพัฒนาพื้นที่สูง (องค์กรมหาชน) ช่วยเหลือเรื่องอาคารโรงงาน เครื่องจักรแปรรูป และเทคนิคในการแปรรูปชา

พ.ศ. 2542 สถานีฯ ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานร่วม ในส่วนของกรมพัฒนาที่ดิน, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และกรมชลประทาน ได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่แปลงไม้ผลเขตหนาวเก่าของสถานีฯ ให้เป็นแปลงส่งเสริมการปลูกชาจีน (แปลงสองพัน) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,400 เมตร สภาพอากาศเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของต้นชา โดยมีพื้นที่ประมาณ 70 ไร่ ได้จัดเกษตรกรชนเผ่าดาราอั้ง (ปะหล่อง) 46 ครัวเรือน เข้ารับการส่งเสริมปลูกชาจีนจำนวน 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ก้านอ่อน และพันธุ์เบอร์ 12 โดยมีพันธุ์ก้านอ่อนจำนวน 50,000 ต้น และพันธุ์เบอร์ 12 จำนวน 50,000 ต้น

นายรัฐวิชญ์ อัยราวงศ์ วิทยากรปฏิบัติงานด้านวิชาการเกษตร กล่าวว่า ที่นี่มีการพัฒนาการผลิตชาแปรรูปในชนิดต่างๆ เพิ่มมากขึ้น และให้คุณภาพที่ดีขึ้น จากชาอินทรีย์ที่ทำการส่งเสริม ซึ่งปัจจุบันแปลงสองพันสามารถผลิตชาส่งผ่านสถานีฯ ได้ปีละประมาณ 60,000 กิโลกรัม และมีศูนย์ฯ และสถานีฯ ที่เข้าร่วม รวมจำนวนกว่า 10 ที่ ตามโครงการหลวงดอยต่างๆ ในภาคเหนือ.
ช่วงนี้เป็นช่วงต้นฤดูกาลในการเก็บชาอินทรีย์ของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ที่มีการปลูกในแปลงส่งเสริมการผลิตชาอินทรีย์ (แปลง 2000) ภายในพื้นที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ โดยบนดอยอ่างขางช่วงนี้ อากาศเย็นสบาย ประมาณ 18-19 องศาเซลเซียส ซึ่งสถานีฯ ดอยอ่างขาง ปกติแล้วมีสภาพอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี โดยช่วงเดือนเมษายน-พฤศจิกายนของทุกปี จะเป็นช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตยอดชา เพื่อนำมาแปรรูปเป็นชาเขียว ชาแดง ชาอู่หลงก้านอ่อน และชาอู่หลงเบอร์ 12

วันนี้ถือโอกาสติดตามพวกพี่ๆ ชาวดาราอั้ง ที่เป็นชาวไทใหญ่ที่เป็นชนเผ่าอาศัยอยู่บนพื้นที่สูง เรียกอีกชื่อว่า ปะหล่อง มาร่วมกันลงแขกเก็บชาในแปลง โดยพี่ๆ เล่าให้ฟังว่า เป็นการเอามื้อ ส้ายมื้อ ตามภาษาพูด ซึ่งก็เข้าใจได้ว่า มาช่วยกันเก็บ โดยจะเวียนกันตามลำดับของเกษตรกรของแต่ละแปลง และนำผลผลิตที่ได้ขึ้นไปเข้ากระบวนการต่างๆ ที่โรงชา ที่ตั้งอยู่ด้านบนของแปลงชา 2,000 ซึ่งถือว่าเป็นโรงชาที่มีเครื่องจักร และขั้นตอนการผลิตที่ทันสมัยและได้มาตรฐาน
การปลูกชาอินทรีย์ของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เป็นพืชที่ได้ทำการส่งเสริมให้กับเกษตรกรปลูกเป็นอาชีพหลัก นอกเหนือจากไม้ผลเมืองหนาว ผักเมืองหนาว สตรอว์เบอร์รี ไม้ดอก พืชไร่ สมุนไพร กาแฟ เห็ด และปศุสัตว์ โดยงานส่งเสริมชาอินทรีย์ได้เริ่มเมื่อปี 2535 มาจนถึงปัจจุบัน
พ.ศ. 2535 สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เริ่มนำเมล็ดพันธุ์ชาลูกผสม (ชาจีน ชาอัสสัม) จากศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ มาทดสอบปลูกที่บ้านนอแล

ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 ต้นชาที่นำมาทดลองปลูกเริ่มให้ผลผลิต (ยอดชา) ได้เก็บมาแปรรูป ผลผลิตชาของปีนั้นกลิ่นและสีเป็นที่น่าพอใจ ทางมูลนิธิโครงการหลวงจึงได้ตั้งทีมส่งเสริมและพัฒนาชาจีนขึ้น (จากนั้นได้มีสถานีฯ ต่างๆ เข้าร่วม 5 แห่ง ได้แก่ อ่างขาง ขุนวาง ม่อนเงาะ ห้วยน้ำขุ่น และแม่ปูนหลวง)
ในช่วง พ.ศ. 2540 สถานีเกษตรหลวงอ่างขางได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลไต้หวัน และสถาบันพัฒนาพื้นที่สูง (องค์กรมหาชน) ช่วยเหลือเรื่องอาคารโรงงาน เครื่องจักรแปรรูป และเทคนิคในการแปรรูปชา
พ.ศ. 2542 สถานีฯ ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานร่วม ในส่วนของกรมพัฒนาที่ดิน, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และกรมชลประทาน ได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่แปลงไม้ผลเขตหนาวเก่าของสถานีฯ ให้เป็นแปลงส่งเสริมการปลูกชาจีน (แปลงสองพัน) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,400 เมตร สภาพอากาศเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของต้นชา โดยมีพื้นที่ประมาณ 70 ไร่ ได้จัดเกษตรกรชนเผ่าดาราอั้ง (ปะหล่อง) 46 ครัวเรือน เข้ารับการส่งเสริมปลูกชาจีนจำนวน 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ก้านอ่อน และพันธุ์เบอร์ 12 โดยมีพันธุ์ก้านอ่อนจำนวน 50,000 ต้น และพันธุ์เบอร์ 12 จำนวน 50,000 ต้น

นายรัฐวิชญ์ อัยราวงศ์ วิทยากรปฏิบัติงานด้านวิชาการเกษตร กล่าวว่า ที่นี่มีการพัฒนาการผลิตชาแปรรูปในชนิดต่างๆ เพิ่มมากขึ้น และให้คุณภาพที่ดีขึ้น จากชาอินทรีย์ที่ทำการส่งเสริม ซึ่งปัจจุบันแปลงสองพันสามารถผลิตชาส่งผ่านสถานีฯ ได้ปีละประมาณ 60,000 กิโลกรัม และมีศูนย์ฯ และสถานีฯ ที่เข้าร่วม รวมจำนวนกว่า 10 ที่ ตามโครงการหลวงดอยต่างๆ ในภาคเหนือ.