สว.วิธาวีร์ ประทุมสวัสดิ์ เสนอในการประชุมร่วมรัฐสภาแถลงนโยบายรัฐบาลแนะ 3 มาตรการปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ทั้งระบบ
เมื่อวันที่ 12 กันยายน ในการประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภาผู้แทนราษฎรเป็นวันที่สอง โดยมี นายมงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา ในฐานะรองประธานรัฐสภา เป็นประธานการประชุม น.ส.วิธาวีร์ ประทุมสวัสดิ์ สมาชิกวุฒิสภา ได้อภิปรายนโยบายที่ 1 การปรับโครงสร้างหนี้ทั้งระบบว่า ปัญหาหนี้สำหรับประชาชน เกิดขึ้นมาตั้งแต่ตนจำความได้ จนขณะอายุ 40 ปี คนไทยยิ่งเป็นหนี้ และเพิ่มมากขึ้น นโยบายของรัฐบาลต้องชัดเจน จริงจังและจริงใจในการแก้ปัญหาหนี้สิน การปรับโครงสร้างหนี้ทั้งระบบที่ไม่ชัดเจน นโยบายที่รัฐบาลจะต้องระดมสรรพกำลังทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้ามาผนึกกำลังเพื่อแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือพี่น้องประชาชน
ทั้งนี้ เราผ่านรัฐบาลมาหลายยุค หลายสมัย ทุกสมัยพูดคุยกันในเรื่องแก้หนี้ แก้จน ตอนนี้ต้องกลับมาแก้ที่คนออกนโยบายนั่นคือรัฐบาล ว่า ออกนโยบายมาแล้ว จะทำได้เป็นรูปธรรมได้อย่างไรนี่คือความท้าทาย ที่ประชาชนทั้งประเทศเฝ้ารอ การคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย และมุ่งเน้นการแก้ปัญหาที่ครอบคลุมทั้งหนี้ในระบบและนอกระบบ วินัยทางการเงิน การส่งเสริมความรู้ความ เข้าใจทางการเงินที่ถูกต้อง ส่งเสริมการออมในรูปแบบที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตคนไทย สิ่งนี้จะเป็นหลักการที่สำคัญในการแก้ปัญหาหนี้อย่างยั่งยืนในระยะยาว อีกทั้งสถาบันการเงินของรัฐ ธนาคารพาณิชย์ และบริษัทบริหารสินทรัพย์ ที่จะเป็นองค์กรที่มาช่วย ขับเคลื่อนนโยบายได้
น.ส.วิธาวีร์ กล่าวว่า หนี้ครัวเรือนไทยที่มีแนวโน้มถึง 91.4% ต่อ GDP คุณภาพหนี้ ครัวเรือนที่มีแนวโน้มด้อยลง แม้ว่าเราจะพยายามแก้ปัญหาเศรษฐกิจด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ แต่ที่ผ่านมาเราจะพบว่า ปัญหาของการปรับโครงสร้างหนี้ ก็ยังคงเป็นเรื่องเดิม ๆ นั่นคือ ประชาชนไม่ได้รับข้อมูลที่ชัดเจนคลุมเครือจากนโยบายการปรับโครงสร้างหนี้ของแต่ละสถาบันการเงิน แตกต่างกันออกไป เช่น บางธนาคารมีเงื่อนไขที่ดีช่วยเหลือลูกหนี้ บางธนาคารก็เคร่งครัดมากเกินไปทำให้การปรับโครงสร้างหนี้ไม่ประสบผลสำเร็จ
อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่สำคัญทำให้การแก้ปัญหาหนี้ไม่สำเร็จคือ การขาดการบูรณาการของหน่วยงานรัฐกับเอกชน รัฐบาลไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการช่วยเหลือลูกหนี้ หรือประชาชนอย่างจริงจัง รัฐบาลควรการกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพที่ชัดเจน เช่น จะลด สัดส่วนหนี้แต่ละประเภทอย่างไร ลงเหลือเท่าไหร่ ระยะเวลาเท่าใด มีมาตรการอย่างไร ในการป้องกันการเกิดหนี้ซ้ำซ้อนในอนาคต ที่สำคัญเห็นว่า นโยบายนี้ ไม่มีการกล่าวถึงการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบอย่างเป็นรูปธรรม สิ่งนี้สำคัญสำหรับพี่น้อง ประชาชน
“ดิฉันขอเสนอนโยบายปรับโครงสร้างหนี้ ดังนี้ 1.รัฐบาลควรมีมาตรการเชิงรุกในการแก้ปัญหาหนี้ทุกประเภท ให้นโยบายนี้เกิดเป็นรูปธรรมโดยเร็ว บูรณา การระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ให้ธนาคารทุกธนาคาร มีมาตรการเพื่อแก้หนี้ภาคประชาชน ภาคธุรกิจ ไปใน ทิศทางเดียวกัน และกระตุ้นการประชาสัมพันธ์เกิดการรับรู้ในวงกว้าง 2.รัฐบาลควรมีมาตรการเชิงรุกในการแก้ปัญหาหนี้ทุกประเภท ให้นโยบายนี้เกิดเป็นรูปธรรมโดยเร็ว บูรณา การระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ให้ธนาคารทุกธนาคาร มีมาตรการเพื่อแก้หนี้ภาคประชาชน ภาคธุรกิจ ไปใน ทิศทางเดียวกัน และกระตุ้นการประชาสัมพันธ์เกิดการรับรู้ในวงกว้าง และ 3.รัฐบาลต้องมีมาตรการเพิ่มรายได้ให้กับประชนควบคู่ไปด้วย
เช่น การส่งเสริมอาชีพ การพัฒนาทักษะ แรงงาน ตราบใดที่เศรษฐกิจฐานรากยังฟื้นตัว ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจยังไม่ลดลง ความสามารถในการชำระหนี้ของประชาชนก็อาจจะยังไม่กลับมาเป็นปกติ และคาดว่าภาระหนี้ก็จะทวีสูงขึ้น และสิ่งนี้เป็นปัจจัยฉุดรั้งเศรษฐกิจต่อไป ดังนั้นการดำเนินการแก้ปัญหาหนี้อย่างยั่งยืนและเป็นระบบมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการปฏิบัติกับประชาชนอย่างเป็นธรรม สร้างการรับรู้และตระหนักในการปรับวินัยทางการเงิน เพิ่มช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างเหมาะสม สิ่งนี้จะเป็นแนวทางสำคัญที่จะช่วยบรรเทาปัญหาหนี้สินของ คนไทยได้ในระยะยาว”น.ส.วิธาวีร์ กล่าว