มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แถลงผลตรวจสารเคมีเกษตรในองุ่นไชน์มัสแคททั่วกรุงเทพและปริมณฑล โดยพบสารพิษตกค้าง 50 ชนิด จากการสุ่มตรวจ 24 ตัวอย่าง โดยสุ่มตรวจสารเคมีเกษตรกว่า 400 ชนิด พบสารเคมีเกษตรตกค้างในทุกตัวอย่างที่ตรวจ และได้สั่งยกระดับเฝ้าระวังความปลอดภัยผักผลไม้เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค
โดยที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) ร่วมนิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แถลงผลทดสอบสารเคมีเกษตรในองุ่นไชน์มัสแคททั่วกรุงเทพและปริมณฑล
ซึ่งการเก็บตัวอย่างองุ่นไชน์มัสแคทตรวจครั้งนี้ได้เก็บองุ่นไชน์มัสแคททั้งหมด 24 ตัวอย่าง จาก 15 สถานที่จำหน่ายในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล ซึ่งมีราคาตั้งแต่กิโลกรัมละ 100 ถึง 699 บาท ซึ่งบางตัวอย่างเป็นยี่ห้อเดียวกันแต่มาจากแหล่งจำหน่ายต่างสถานที่กัน
พบว่า 95.8% ของตัวอย่างองุ่นไชน์มัสแคท 23 จาก 24 ตัวอย่างพบสารพิษตกค้างเกินค่าที่กฎหมายกำหนด พบสารพิษตกค้างทั้งหมด 50 ชนิด พบว่าเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 จำนวน 26 ชนิดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 (ยกเลิกการใช้ในประเทศไทย) จำนวน 2 ชนิด ได้แก่
Chlorpyrifos และ Endrin aldehyde และเป็นสารที่อยู่นอกบัญชีวัตถุอันตรายมากถึง 22 ชนิด ซึ่งเป็นสารที่ยังไม่มีการประเมินใดๆภายใต้กฎหมายไทย ได้แก่ Triasulfuron , Cyflumetofen , Chlorantraniliprole , Flonicamid , Etoxazole , Spirotetramat , Bifenazate , Dinotefuran , Fluopyram , Boscalid , Fluopicolide , Pyrimethanil , Ametoctradin , Tetraconazole , Ethirimol , Metrafenone , Fludioxonil , Bupirimate , Isopyrazam , Oxathiapiprolin , Biphenyl และ Cyazofamid
มีสารประเภทดูดซึม (Systemic pesticide) 37 ชนิด หรือคิดเป็น 74% ของสารพิษตกค้าง โดยสารกลุ่มนี้มีโอกาสตกค้างอยู่ในเนื้อเยื่อขององุ่น ซึ่งการล้างสารกลุ่มนี้ออกจากเนื้อเยื่อพืชคงไม่ใช่เรื่องที่ทำได้โดยง่าย
องุ่นไชน์มัสแคทแต่ละตัวอย่างพบสารพิษตกค้างระหว่าง 7-18 ชนิด โดยจำนวน 23 จาก 24 ตัวอย่างพบสารพิษตกค้างเกินค่าที่กฎหมายกำหนด 1-6 ชนิด
โดยทาง Thai-PAN ได้ส่งต่อข้อมูลดังกล่าวให้ อย.แล้ว ทั้งนี้ อย.ได้ยกระดับการเฝ้าระวังผัก ผลไม้ นอกจากการดำเนินการที่ด่านอาหารและยาแล้ว กรณีพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบการกระทำความผิด นอกจากดำเนินคดี และไม่สามารถนำเข้าผัก ผลไม้ที่ตรวจพบสารตกค้างเกินมาตรฐานแล้ว ถ้าตรวจพบสารตกค้างผิดมาตรฐาน 3 ครั้งใน 1 ปี โดยเป็นหรืออาหารชนิดเดียวกันจากผู้นำเข้าเดียวกัน หรือตรวจพบวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 เช่น chlorpyrifos 2 ครั้งใน 1 ปี