สภาองค์กรของผู้บริโภคสนับสนุน การดำเนินนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ซึ่งขณะนี้ รัฐบาลได้ศึกษา แนวทางการซื้อคืนสัญญา9สัมปทานรถไฟฟ้าคาดว่าจะใช้เงิน2 แสนล้านบาท โดยเตรียมเปิดสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าทุกสาย และ ศึกษาแนวทางการซื้อคืนสัมปทานคู่ขนานไปด้วยเพื่อให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทเกิดขึ้นได้จริง
นาย คงศักดิ์ ชื่นไกรลาศ ผู้ช่วยเลขานุการคณะอนุกรรมการด้านการขนส่งและยานพาหนะ สภาผู้บริโภค บอกว่า สภาองค์กรผู้บริโภคกำลังจะเปิดสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าแต่ละสายเพื่อดูว่ามีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง และจะศึกษาแนวทางการซื้อคืนสัมปทานว่าทำได้อย่างไรบ้าง คาดว่าผลการศึกษาจะออกประมาณปลายปีนี้ และต้นปี2568 เพื่อสนับสนุนนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทให้เกิดขึ้น
“เราคิดว่าเรา เปิดตัวสัญญาสัมปทานก่อน รูปแบบสัญญาสัมปทานในสายสำคัญๆ ที่ให้บริการแล้ว โดยจะพิจารณาว่ามีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง ที่จะส่งผลต่อนโยบายกำหนดราคา 20 บาททุกสาย รวมถึงเรื่องของการซื้อคืนสัมปทานต่างๆเพื่อหาทางออกว่าจะสามารถดำเนินการซื้อคืนสัมปทานจากเอกชนได้อย่างไรบ้าง”
นาย คงศักดิ์ ย้ำว่า การซื้อคืนคงจะส่งผลต่อตัวผู้ประกอบการที่จะขาดตัวรายได้ ในบางส่วนซึ่งรัฐต้องชดเชย เยียวยา แต่นโยบายของนายกรัฐมนตรี ที่จะทำเรื่องการซื้อคืนสัมปทาน เพื่อให้ทุกคนใช้บริการรถไฟฟ้าในราคา 20 บาท สภาองค์กรของผู้บริโภคให้ความสำคัญจึงไดนำสัญญามาศึกษาและวิเคราะห์อย่างละเอียด โดยนักวิชาการว่าจะสามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้างซึ่งว่าจะสามารถนำเสนอแนวทางได้ในต้นปี2568
ขณะ ที่นายอดิศักดิ์ สายประเสริฐ นักวิชาการอิสระ เห็นว่ารัฐบาลควรจะเปิดโอกาสให้หน่วยงานภาคประชาชน เข้ามาร่วมการศึกษาแนวทางการซื้อคืนสัมปทานเพื่อให้เห็นความคุ้มค่าและความเหมาะสมในการดำเนินการอย่างแท้จริง

คงศักดิ์ ชื่นไกรลาศ ผู้ช่วยเลขานุการคณะอนุกรรมการด้านการขนส่งและยานพาหนะ สภาผู้บริโภค
“ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญให้ภาคประชชนนักวิชาการ เข้าไปมีส่วนร่วมในการ ทำประมาณการณ์ ที่คาดว่าจะได้รับหลังจากที่มีการซื้อคืน ระบบรถไฟฟ้ามาเป็นของรัฐ ที่ผ่านมาปัญหาคือว่า เวลาเราทำแผน ทำโครงการรถไฟฟ้ามีการประมาณการณ์ผู้โดยสารที่สูง เกินความเป็นจริง ทำให้ผู้โดยสารที่เป็นจริงไม่เคยถึงประมารการณ์นั้นเลยส่งผลให้การคิดค่าโดยสารแพงกว่าปกติ ซึ่งถือเป็นปัญหาหนึ่ง ดังนั้นการทำเวทีคู่ขนานในการศึกษาวิจัยจะทำให้โครงการซื้อคืนโปร่งใสและสมเหตุสมผลมากขึ้น”
หรับสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งเปิดดำเนินการแล้งวในปัจจุบันมีทั้งหมด 9 โครงการ โดยคาดว่า รัฐอาจใช้งบประมาณกว่า2 แสนล้านบาทในการซื้อคืนสัมปทาน
1.รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ผู้ลงทุน ,ผู้บริหาร และผู้เดินรถ คือ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ระยะเวลาสัญญา 30 ปี (2563-2593 )เหลือเวลา 26 ปี)
2.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ผู้ลงทุน,ผู้บริหารและผู้เดินรถคือ บริษัท บีทีเอส ระยะเวลา 30 ปี (2542-2572 ) เหลือเวลา 5 ปี
3.โครงการรถไฟฟ้าสีเขียวส่วนต่อขยาย1 สถานีตากสิน-บางหว้า และสุขุมวิท -แบริ่ง ผู้ลงทุนคือ BMA หรือ การบริหารกรุงเทพมหานคร (Bangkok Metropolitan Administration ผู้บริหาร คือ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด, ผู้เดินรถคือ บีทีเอส ระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี (2555-2585 )เหลือเวลา 19 ปี
4.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย 2 ช่วง แบริ่ง-สมุทรปราการ และ หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ผู้ลงทุนคือ BMA หรือ การบริหารกรุงเทพมหานคร (Bangkok Metropolitan Administration ผู้บริหาร คือ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด, ผู้เดินรถคือ บีทีเอส ระยะเวลาสัมปทาน 25 ปี (2560-2585 ) เหลือเวลาสัมปทาน 19 ปี
5.โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ผู้ลงทุน และผู้บริหาร คือ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ MRTA ,ผู้เดินรถ คือ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ระยะเวลาสัมปทาน 30ปี (2559-2589 ) เหลือเวลาสัมปทาน 23 ปี
6.โครงการรถไฟฟ้าสายสีทอง ผู้ลงทุนคือ BMA หรือ การบริหารกรุงเทพมหานคร (Bangkok Metropolitan Administration ผู้บริหาร คือ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด และผู้เดินรถ คือ บริษัท บีทีเอส ระยะเวลาสัญญา 30 ปี (2561-2591 ) เหลือเวลา 25 ปี
7.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ผู้ลงทุนคือ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ MRTA ผู้บริหาร และผู้เดินรถ คือ บริษัท บีทีเอส ระยะเวลาสัญญา 30 ปี (2566-2596 ) เหลือเวลาสัมปทาน 30 ปี
8.โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ผู้ลงทุน และผู้บริหาร คือ การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ SRT ,ผู้เดินรถคือ บริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ต่อสัญญาปีต่อปี
9.โครงการถไฟฟ้า แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ผู้ลงทุน และผู้บริหาร คือ การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ SRT ผู้เดินรถคือ AERA1 ผู้ลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะเวลาสัญญา 50 ปี หลังเริ่มสัญญา
10.โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ผู้ลงทุน การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ MRTA ผู้บริหาร และผู้เดินรถ คือ บริษัท บีทีเอส ระยะเวลาสัญญา 30 ปี (2566-2596 )