เปิดบันทึกเบื้องลึกพระท่ากระดานทีสุดของพระเบญจภาคีเนื้อชิน ถูกสร้างขึ้นในสมัยอู่ ทอง แบบองค์พระมีลักษณะนูนมีภาพด้านหน้าเพียงด้านเดียว ส่วนด้านหลังแบนเรียบ
พุทธลักษณะของพระเป็นปางมารวิชัยขัดราบ มีสังฆาฏิแบบสี่เหลี่ยมกว้าง หนา ยาว จรดลงมาถึงบริเวณส่วนพระหัตถ์ซ้าย ส่วนฐานจะเรียกว่า “สำเภา” อันเป็นเอกลักษณ์ของพระเครื่องสมัยอู่ทอง พระเกศมีลักษณะยาว ใบหน้าองค์พระลึกมีแววยิ้มแบบเคร่งเครียด
พระท่ากระดานที่ขุดได้จาก กรุลั่นทม กรุวัดวัดล่าง วัดกลาง วัดบน อยู่ในเขตอ.ศรีสวัสดิ์ นิยมเรียกว่า “พระกรุเก่าศรีสวัสดิ์” เป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง ได้รับความนิยมมากที่สุดในบรรดาพระท่ากระดาน และพระท่ากระดานกรุศรีสวัสดิ์ ยังเป็น1ใน5ของพระเบญจภาคียอดขุนพลเนื้อชิน ซี่งประกอบด้วย
1.พระร่วงรางปืน
- พระท่ากระดานกรุศรีสวัสดิ์
- พระลพบุรีหูยาน
- พระมเหศวร
- พระชินราชใบเสมา
พระท่ากระดานกรุเก่าศรีสวัสดิ์มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักของวงการพระเครื่องมาอย่างช้านาน