ด้วยนวัตกรรมสร้างสรรค์และทุนทางวัฒนธรรมและทรัพยากรท้องถิ่นสู่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและเพิ่มประสิทธิภาพห่วงโซ่มูลค่าของผลิตภัณฑ์มุ่งพัฒนาทักษะองค์ความรู้ศักยภาพบุคลากรและผู้ประกอบการหัตถกรรมพื้นเมืองที่มีความแตกต่างและโดดเด่นตามความต้องการของตลาดในยุคนิวนอร์มัล
โดยเมื่อบ่ายวานนี้ ศ ดร เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว อว ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานเปิดการอบรมเพื่อเพิ่มสมรรถนะด้านการออกแบบสร้างสรรค์ของผู้ประกอบการหัตถกรรมพื้นเมืองสำหรับตลาดในยุคนิวนอร์มัลหรือโคโยริโปร์เจ็ค2021พร้อมเยี่ยมชมผลงานวิจัยเด่นซึ่งจัดโดยคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม มทรล้านนา ร่วมกับ วชและกรมการพัฒนาชุมชนเพื่อพัฒนาทักษะองค์ความรู้และเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรแลัะผู้ประกอบการหัตถกรรมพื้นเมืองใน8จังหวัดภาคเหนือให้มีความคิดสร้างสรรค์สามารถพัฒนาสินค้าให้มีความโดดเด่นตรงกับความต้องการของตลาดในยุคนิวนอร์มัลโดยเน้นใ้นวัตกรรมแลัวัฒนธรรมสร่้างสรรค์เพิ่มมูลค่าสินค้่าทำรายได้มากขึ้นหลายเท่าตัว
รมว อว ได้แสดงความขอบคุณ วชที่สนับสนุนให้เกิดโครงการนี้ เพราะจังหวัดกลุ่มล้านนามีความรุ่มรวยทางวัฒนธรรมมายาวนาน มีหัตถกรรมและความหลากหลายของชนเผ่าต่างๆซึ่งบ่งบอกถึงประวัติศาสตร์สามารถย้อนหลังได้เป้นพันปี ควรค่าแก่การรักษาไว้ให้คงอยู่สืบไปแะยังเป็นการสนับสนุนเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ตามนโยบายของรัฐบาลอีกด้วย
ดร วิภารัตน์ ดีอ่อง ผอ วช กล่าวว่าวชมีนโยบายในการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งพร้อมขับเคลื่อนนโยบายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของปรเขาชนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ ขุมชนทั่วไปให้สามารถสร้างรายได้พัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ใหม่ให้มีมูลค่าเพิ่มสร้างการเรียนรู้ฝึกอาชีพจึงได้สนับสนุนทุนวิจัยแก่ ดร สุรพล ใจวงศ์ษา จาก มทรล้านนาดำเนินโครงการ โคโยริ
ด้านดร สุรพล เปิดเผยว่า คณัวิจัยได้ร่วมกับสมาคมวัฒนหัตถศิลป์และสำนักงานพาณิชย์8จังหวัดภาคเหนือตอนบนลงพื้นที่อบรมเพิ่มทักษะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภายใต้โครงการโคโยริของญี่ปุ่นซึ่งเป็นการถักร้อยด้วยเชือกเปรียบเหมือนความร่วมมือกันโดยดึงจุดเด่นของวัฒนธรรมในแต่ละผลิตภัณฑ์มาผสมผสานกับแนวคิดการออกแบบจากนักออกแบบทั้งไทยและต่างประเทศพัฒนาเอกลักษณ์และเสริมสร้างคุณค่าหัตถกรรมพื้นบ้านใน4ด้านคือด้านผลิตภัณธ์และผู้ประกอบการ ด้านการตลาด ด้านการสร้างแบรนด์และด้านการสร้างเครือข่ายจัดทำโครงการมา3ปี ปีนี้มีผุ้เข้าร่วมอบรม88คน ที่ผ่านมามีผลงานการพัฒนาสินค้าหัตถกรรมสามารถเพิ่มมูลค่าหลายเท่า โดยเฉพาะสินค้าประเภทเซรามิกส์ที่มียอดสั่งจองถล่มทลาย เป้าหมายต่อไปอยากจะทำกับสินค้าหัตถกรรมในภูมิภาคอื่นอีกด้วย
ขณะที่ รศ ศีลศิริ สง่าจิตร ปฏิบัติหน้าที่อธิการบดี มทร ล้านนายืนยันว่า เป้าหมายของมหาวิทยาลัยคือการนำงานไปตอบโจทย์สนองความต้องการของชุมชนอย่างใก้ล้ชิดจึงพร้อมที่จะสนับสนุนนักวิจัยให้ทำงานเพื่อชุมชน และขอขอบคุณ วชและอวที่ให้การสนับสนุน