บรรดาผู้ประกอบการ“SMEs”วิงวอนรัฐเร่งช่วยเหลือให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนก่อนทยอยปิดตัว “SMEs สงขลา”ระบุสาเหตุหลักธุรกิจไปไม่ถึงฝั่งมาจากปัจจัยนักท่องเที่ยวเปลี่ยน จากนักท่องเที่ยวกรุงเทพฯ จังหวัดใกล้เคียงหาย ต่างชาติสิงคโปร์ มาเลเซียหดตัว ขอเติมเงิน 30,000 ล้านบาท แนะทางออกเคสบายเคส รัฐหนุนเงินบัตรสวัสดิการ เงินช่วยเหลือ 10,000 บาท ให้ไปทาง SMEs ผู้ประกอบการสามารถประคองไปได้
แหล่งข่าวจากผู้ประกอบการ SMEs ร้านสังฆภัณฑ์จำหน่ายธูปเทียน ฯลฯ ย่านศูนย์กลางเศรษฐกิจการค้าการท่องเที่ยวในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จ.สงขลา เปิดเผยว่า สภาพธุรกิจเศรษฐกิจการค้าในกลุ่ม SME เฉพาะหาดใหญ่สงขลา ยังอยู่ในอาการที่ค่อนข้างไม่ดี โดยสภาพมีอาการมาก่อนสถานการณ์โควิด 19 และอาการหนักเมื่อเกิดสถานการณ์โควิด 19
“เฉพาะในส่วนร้านสังฆภัณฑ์ขนาดใหญ่มีประมาณ 10 ร้าน ร้านขนาดเล็กขนาดไม่ต่ำกว่า 100 ร้าน”
และภายหลังสถานการณ์โควิด19 คลี่คลายลงก็ยังพบกับสภาพที่ไม่ฟื้นตัว โดยเฉพาะ SMEs หาดใหญ่สงขลา จะประกอบด้วยปัจจัยสำคัญสำหรับ SMEs หาดใหญ่ คือภาคธุรกิจการท่องเที่ยวหาดใหญ่สงขลา นักท่องเที่ยวได้เปลี่ยนไป แต่เดิมจะมีนักท่องเที่ยวจากกรุงเทพ ฯ และจังหวัดใกล้เคียงจะเข้ามามา ท่องเที่ยว ช๊อปดื่ม กิน กันมากตั้งแต่กลางวันถึงเที่ยงคืนที่กระจัดกระจาย ตั้งแต่สาย 3 ถนนนิพัทธ์อุทิศ ถนนเสน่ห์หานุสรณ์ ถนนประชาธิปัตย์ แต่ทุกวันนี้จะซบเซาไปแทบหมด จะยกเว้นแต่นักท่องเที่ยวจากมาเลเซีย แต่ก็จะเป็นนักท่องเที่ยวจากรัฐใกล้เคียง เช่น รัฐเคดาห์ ปะลิส กลันตัน ส่วนนักท่องเที่ยวจากประเทศสิงคโปร์ อินโดนีเซีย จะหดตัวมาก
แหล่งข่าว กล่าวเพิ่มเติมอีก จะเห็นได้ว่าห้องพักโรงแรมที่ปิดตัวเมื่อคราวสถานการณ์โควิด 19 ก็ยังไม่เปิดให้บริการไม่ต่ำกว่าประมาณ 3,500 ห้อง จากจำนวน 23 โรงแรม ทั้งขนาดใหญ่กลางเล็กจากห้องพักทุกประเภทไม่ต่ำกว่า 40,000 ห้อง
จากสภาพที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบการค้ากับร้านค้าย่านกลางใจศูนย์กลางเศรษฐกิจเมืองหาดใหญ่ โดยเฉพาะร้านประเภท สังฆภัณฑ์ บางร้านทำยอดขายได้ประมาณ 150 บาท / วัน และบางร้านทำยอดขายได้ประมาณ 350 บาท / วัน แต่มีต้นทุน ฯลฯ ประมาณ 2,500 บาท / วัน
แหล่งข่าว ยังกล่าวอีกว่า แนวทางออกเพื่อสนับสนุนช่วยเหลือ SMEs รัฐบาลควรหามาตรการให้ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุน ให้สามารถพยุงในการประกอบอาชีพให้เดินต่อไปได้ รัฐบาลโดยกระทรวงการคลัง สถาบันการเงิน อำนวยความสะดวกในขั้นตอน เงื่อนไขให้เข้าถึง ซึ่งขณะนี้อยู่ในอาการที่จะต้องเสริมสภาพคล่องไม่ต่ำกว่า 60 %
“โดยให้พิจารณาไปตามความเป็นจริง โดยเฉพาะ SMEs รายเก่า ๆ ก็สามารถปล่อยสินเชื่อได้ หรือแม้ว่า SMEs ที่ยังไม่มีศักยภาพคืนชำระเงินต้น แลตมีความสารถชำระดอกเบี้ยได้ สถาบันการเงิน รัฐบาลก็ยังมีรายได้จากดอกเบี้ย จะดีกว่าที่ปล่อยให้ SMEs ปิดกิจการไป ความสำคัญทั้งหมดให้อยู่ได้คือแหล่งเงินกู้ เพื่อเสริมสภาพคล่อง”
แหล่งข่าว กล่าวอีกว่า รัฐบาล กระทรวงการคลัง สามารถดำเนินการปล่อยสินเชื่อได้สำหรับ จ.สงขลาประมาณ 30,000 ล้านจะอยู่ในเกณฑ์ดี โดยสินเชื้อแต่ละรายไม่เกิน 1 ล้านบาท เพราะบางรายต้อกงารเพียงประมาณ 300,000 และบางราย 500,000 บาท โดยพิจารณาประกอบการจริง
“ที่ผ่าน SMEs จำนวนไม่น้อย ที่ไม่มีความสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน จึงได้หันไปเอาเงินทุนนอกระบบเข้ามาหมุนบริหารจัดการธุรกิจร้านค้า SMEs เองก็ยอมรับว่าสถาบันการเงินก็ย่อมต้องเข้มงวดในการปล่อยเชื่อ เพราะวิตกว่าเมื่อให้เงินไปแล้วจะมีศักยภาพชำระคืนเงินได้หรือไม่” แหล่งข่าว ระบุ และว่า
แต่ก็ยังมีสถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อให้สำหรับผู้มีบัตรเครดิต เช่น บัตรเครดิตในวงเงิน 30,000 บาท จะให้กู้ 30,000 บาท วงเงิน 100,000 บาท จะให้กู้ 100,000 บาท โดยมีระยะคืนเงินต้น 3 เดือน 6 เดือน และ 10 เดือน ดอกเบี้ยร้อยละ 0.74 และ 0.69 / เดือน
แหล่งข่าว ยังกล่าวอีกว่า SMEs เมื่อได้เงินทุนมาก็จะได้ซื้อสินค้าจาก ยี่ป๊วก็จะได้ซื้อสินค้าจากโรงาน โรงงานก็จะขับเคลื่อนไปได้ และ SMEs ก็จะได้กระจายสินค้าได้ครบทุกตัวเพื่อบริการผู้บริโภค
“เกี่ยวกับนโยบายสนับสนุน SMEs ผมเองได้สอบถามไปยังทางธนาคาร SMEs ได้รับคำตอบว่ายังไม่มีนโยบายในการปล่อยสินเชื่อให้กับ SMEs ต้องรอก่อน”
นายกร สุริยพันธุ์ ประธานสมาพันธ์ SMEs ไทยจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า ผู้ประกอบการ SMEs มีความกังวลเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลที่ยังไม่ชัดเจนต่อการลงทุนและในส่วนสนับสนุน SMEs กับเงิน Soft Loan นำมาเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการค้า โดยจากภาพรวมแล้ว SMEs ยังอ่อนตัวมากไม่ได้มีการลงทุนต่อยอดกันแต่อย่างใด
“การค้าซื้อมาขายไปสินค้าอุปโภคบริโภคไม่ได้ขยายตัว ซึ่งในปี 2567 นี้ ต่างพูดกันว่าเพียงเสมอตัวก็ดีแล้วคือการมียอดขายเท่ากับปีที่แล้ว 2566 ก็ถือว่าอยู่ในเกฑ์ดี เพราะกำลังซื้อที่ลดลง เงินสดในกระป๋าไม่มี”
นายกร กล่าวอีกว่า เบื้องต้นที่ทาง SMEs ที่กังวลและนำเสนอต่อรัฐบาล คือหาแนวทางเรื่องค่าครองชีพที่เห็นควรที่จะต้องลดลง เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าพลังงาน ส่วนมาตรการที่จะปรับอัตราค่าแรง 400 บาท ก็จะส่งผลกระทบตอราคาสินค้าที่จะต้องปรับราคาสูงขึ้น ซึ่งอุตสาหกรรมขนาดไซซ์ L ที่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้จะพอไปได้ ส่วนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงานมากจะประสบปัญหา แต่ที่ประเภทมีทุนสายป่านยาวก็พอไปได้แต่สายป่านสั้นก็จะอยู่ไม่ได้
นายกร กล่าวอีกว่า สมาคม SMEs ไทยจังหวัดสงขลา เห็นด้วยที่กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ได้เรียกร้องถึงรัฐบาลเรื่อง Soft Loan ประมาณ 30,000 ล้าน จะเป็นการเติมเงินเข้ามาในจังหวัดอัดฉีดเข้าระบบ SMEs ซึ่ง SMEs จ.สงขลา ตามข้อมูลของ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ที่ขึ้นทะเบียนไว้มีอยู่ 70,000 ราย การเงินก็จะเกิดการหมุนเวียนได้คล่องตัว
“ในส่วนประเด็นเรื่อง NPL ก็ต้องมีการดำเนินการพิจารณาหาทางออกให้กับทุกฝ่ายเช่นเดียวกัน”
นายกวิศพงษ์ สิริธนนนท์สกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เคแอนด์เค ซุปเปอร์สโตร์ เซาท์เทิร์น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ภาวะ SMEs มีขนาดที่ต่างกันจึงเคสบายเคส ภาพรวม SMEs ซึ่งจะสามารถมาสนับสนุนเสริมสภาพคล่องได้ หากมีการหมุนเงินซื้อขายลงตัวเข้ารอบและเป็นไปตามภาวะของธุรกิจการค้าที่จะเดินไปได้
นายกวิศพงษ์ กล่าวว่า โจทก์ทางธุรกิจการค้า ถ้าบอกว่า SMEs ฝืดเคือง ธุรกิจการค้าขายไม่มีผลกำไร คือทางรัฐ รัฐบาลจะต้องหาวิธีและมีวิธีการที่จะให้การสนับสนุนเพื่อให้อยู่ได้ เช่น เช่น บัตรสวัสดิการแห่งรัฐร และเงินที่รัฐบาลช่วยเหลือ 10,000 บาท และตลอดจนโครงการอื่น ๆ โดยหันมาสนับสนุนให้กับ SMEs เงินก็จะเข้าสู่ผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งจะส่งให้ผู้ประกอบการไม่ฝืดเคือง.
นายวิทยา แซ่ลิ่ม อดีตผู้ก่อตั้งสมาคมมมัคคุเทศก์อาชีพจังหวัดสงขลา และผู้ประกอบการนำเที่ยวชาวไทย และมาเลเซีย เปิดเผยว่า จากกาทำงานภาคสนามสัมผัสกับนักท่องเที่ยวมาตลอดกว่า 40 ปี สำหรับคนในพื้นที่มีกำลังซื้อที่ไม่ดี ส่วนนักท่องเที่ยชาวต่างชาติที่เป็นหลัก คือชาวมาเลเซีย ที่เข้ามาท่องเที่ยวก็มีกำลังซื้อลดลง แต่เดินจะมีค่าใช่จ่าย 5,000 – 6,000 บาท / คน แต่มาในขณะนี้จะเหลือประมาณ 4,000 บาท / คน อีกทั้งเงินเหรียญริงกิตอ่อนค่าเหลือกว่า 7 บาท / ริงกิต และนักท่องเที่ยวจะมีมากในระยะสัปดาห์มีอยู่แค่ 2 วัน
“ในการจับจ่าย เน ซื้อสินค้าพฤติกรรมก็เปลี่ยน โดยจะหันไปซื้อตามโมเดิร์นเทรด ร้านสะดวกซื้อ”
นายวิทยา ยังกล่าวอีกว่า และนักท่องเที่ยวจะประหยัดกันมากแม้กระทั้งจะเข้าไปนั่งรับประทานอาหารตามภัตตาคาร ก็ยังยุติกันมาก โดยจะหันไปรับประทานอาหารตามร้านปกติ และร้านอาหารริมถนนและ SME ที่อ่อนตัวลง คือเมืองในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่เอง ได้ขยายตัวออกรอบนอกที่กว้างขึ้น ร้านค้า SMEs ก็ขยายตัวตาม ร้าน SMEs เดิมที่ส่วนแบ่งการตลาดที่เคยขายได้ 100 % การตลาดก็ต้องถูกแบ่งไป รายได้ก็ไม่คงเดิม ประกอบกับร้านเอสเอ็มอี 1. ค่าเช่าพื้นที่ราคาสูง 2. แรงงานราคาสูง 3. ต้นทุนผลิตภัณฑ์ก็ราคาปรับตัวสูงขึ้น ฯลฯ ประกอบกับเงินกระเป๋าผู้บริโภคอ่อนตัวมาก