ค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ทั่วไทย เกินมาตรฐานหลายจังหวัด กระทบต่อสุขภาพ ขณะที่ กทม. สีส้ม 70 พื้นที่ อุตุฯ คาดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังอ่อนลง
เมื่อเวลา 07.00 น. วันที่ 2 ก.พ. 68 ศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานภาพรวมปริมาณ PM 2.5 ในประเทศ พบเกินค่ามาตรฐานใน จ.ปทุมธานี กรุงเทพฯ จ.นนทบุรี จ.นครปฐม จ.สมุทรสาคร จ.สมุทรปราการ จ.เชียงราย จ.น่าน จ.ลำปาง จ.แพร่ จ.อุตรดิตถ์ จ.สุโขทัย จ.พิษณุโลก จ.ตาก จ.กำแพงเพชร จ.พิจิตร จ.เพชรบูรณ์ จ.นครสวรรค์ จ.อุทัยธานี จ.ชัยนาท จ.สิงห์บุรี จ.ลพบุรี จ.สระบุรี จ.อ่างทอง จ.พระนครศรีอยุธยา จ.สุพรรณบุรี จ.ราชบุรี จ.สมุทรสงคราม จ.เพชรบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.สระแก้ว จ.ฉะเชิงเทรา จ.ชลบุรี จ.ระยอง จ.จันทบุรี จ.ตราด จ.ชุมพร จ.หนองคาย จ.เลย จ.อุดรธานี จ.นครพนม จ.หนองบัวลำภู จ.สกลนคร จ.มุกดาหาร จ.ขอนแก่น จ.กาฬสินธุ์ จ.มหาสารคาม จ.ร้อยเอ็ด จ.อำนาจเจริญ จ.ชัยภูมิ จ.ยโสธร จ.อุบลราชธานี จ.ศรีสะเกษ จ.นครราชสีมา จ.บุรีรัมย์ และ จ. สุรินทร์
ภาคเหนือ เกินค่ามาตรฐาน 14 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 10.9 – 59.0 มคก./ลบ.ม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 34.5 – 73.0 มคก./ลบ.ม.
ภาคกลางและตะวันตก เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 27.5 – 81.4 มคก./ลบ.ม.
ภาคตะวันออก เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 34.7 – 72.5 มคก./ลบ.ม.
ภาคใต้ เกินค่ามาตรฐาน 1 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 19.5 – 43.2 มคก./ลบ.ม.
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยสถานีตรวจวัดของ คพ. ร่วมกับ กทม. เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 39.6 – 71.7 มคก./ลบ.ม.
ขณะที่ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร ตรวจวัดได้ 40.1-71.1 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 70 พื้นที่
12 อันดับ ของค่าฝุ่นPM2.5 เขตสูงสุดในกรุงเทพมหานคร
เขตหนองจอก 70.7 มคก./ลบ.ม.
เขตลาดกระบัง 70.6 มคก./ลบ.ม.
เขตทวีวัฒนา 68.6 มคก./ลบ.ม.
เขตหนองแขม 68.2 มคก./ลบ.ม.
เขตคันนายาว 66.9 มคก./ลบ.ม.
เขตบึงกุ่ม 66.6 มคก./ลบ.ม.
เขตมีนบุรี 66.6 มคก./ลบ.ม.
สวนหนองจอก เขตหนองจอก 66.6 มคก./ลบ.ม.
เขตคลองสามวา 65.8 มคก./ลบ.ม.
เขตวังทองหลาง 65.3 มคก./ลบ.ม.
เขตบางนา 64.8 มคก./ลบ.ม.
เขตบางกอกน้อย 63.3 มคก./ลบ.ม.
ขณะที่ กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานสภาวะอากาศที่มีผลต่อการสะสมฝุ่นละอองในระยะนี้ การสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันบริเวณประเทศไทยตอนบนอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงค่อนข้างมาก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังอ่อนลง