ไลฟ์สไตล์ » ชาวคลองด่านเคลื่อนไหว “ร้อง” สว. ขอให้นำพื้นที่ “บ่อบำบัดน้ำเสีย”

ชาวคลองด่านเคลื่อนไหว “ร้อง” สว. ขอให้นำพื้นที่ “บ่อบำบัดน้ำเสีย”

14 มิถุนายน 2021
403   0

กลับมาให้ชาวบ้านใช้ประโยชน์ สู้วิกฤตการณ์โควิด-19
และดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย

เมื่อวันที่14 มิถุนายน 2564 เวลา 11.00 น. ที่อาคารสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ชาวคลองด่าน จังหวัดสมุทรปราการ นำโดยนายอรัญ อยู่คง รองนายกฯ อบต.คลองด่าน ตัวแทนชาวบ้าน เดินทางไปยื่นหนังสือประชาคมชาวคลองด่าน ต่อ รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ สมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) ประธานกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ โดยขอให้พิจารณาข้อเสนอของประชาชนตำบลคลองด่านในการปรับใช้ประโยชน์พื้นที่ “โครงการระบบ บำบัดน้าเสียคลองด่าน” เพื่อประโยชน์สาธารณะ หวังให้ชาวคลองด่านและพื้นที่ใกล้เคียงมีอาชีพช่องทางทำกิน สู้กับวิกฤตโควิด-19
โดยมีรายละเอียดเบื้องต้น ดังนี้
ความเป็นมา

  1. โครงการก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน ได้มีการยกเลิกการก่อสร้าง เมื่อปี พ.ศ. 2546 และมีการปล่อยพื้นที่โครงการ จำนวน 1,900 ไร่ ทิ้งร้างไม่มีการใช้ประโยชน์จนถึงปัจจุบัน
  2. เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม 2558 องค์การจัดการน้ำเสีย(อจน.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ได้มีการทำประชาคมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ตำบลคลองด่าน เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ในโครงการระบบบำบัดน้ำเสียคลองด่านว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร โดยมีประชาชน เข้าร่วมประชาคม จำนวน 2,015 คน โดยองค์การจัดการน้ำเสียเสนอแนวทางดำเนินการ เช่น ให้มีการศึกษา ตามแผนของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่อไปโดยให้เอกชนดำเนินการ เปลี่ยนรูปแบบ ระบบบำบัดน้ำเสียให้สอดคล้องกับความเป็นจริง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เป็นศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และยกเลิกโครงการโดยไม่ต้องดำเนินการอะไร ซึ่งผลการทำประชาคมมีผู้เห็นด้วยกับข้อเสนอของ องค์การจัดการน้ำเสียโดยเฉพาะข้อเสนอให้ยกเลิกโครงการโดยไม่ดำเนินการอะไร จานวน 60 คน คิดเป็น ร้อยละ 2.98 ของประชาชนทั้งหมดที่เข้าร่วมประชาคม ซึ่งองค์การจัดการน้ำเสีย(อจน.) จะนำผลการประชาคม ดังกล่าวเสนอต่อรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป
    ข้อเท็จจริงและข้อเสนอของประชาชนตาบลคลองด่าน
    องค์การบริหารส่วนตำบลคลองด่านและประชาชนตำบลคลองด่าน ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ และได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการดังกล่าวโดยตรงได้มีการพิจารณาร่วมกันแล้วเห็นว่า เพื่อให้มีการดำเนินการกับสิ่งก่อสร้างและท่อรวบรวมน้ำเสียที่ผู้รับเหมาทิ้งไว้ในโครงการ กลับมาใช้ประโยชน์ อย่างคุ้มค่าสูงสุด จึงมีข้อเสนอดังนี้
  3. ให้องค์การจัดการน้ำเสีย ตรวจสอบสิ่งก่อสร้างระบบบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน และท่อรวบรวมน้ำเสียในโครงการที่ผู้รับเหมาก่อสร้างทิ้งไว้ หากพบว่าไม่ได้ก่อสร้างตามแบบมาตรฐาน คู่สัญญา ให้องค์การจัดการน้ำเสียส่งหลักฐานให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ ให้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 17 พฤศจิกายน 2558 ต่อไป
  4. นำพื้นที่ที่เหลือจากการก่อสร้างซึ่งเป็นพื่นที่ป่าชายเลน พื้นที่ชายทะเล จำนวน 1,300 ไร่ พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว
  5. ให้ท้องถิ่นบริหารจัดการและบริหารการท่องเที่ยวเมื่อมีการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว
  6. ให้องค์การจัดการน้ำเสีย ตั้งพิพิธภัณฑ์การทุจริตโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน เพื่อเป็นการให้ความรู้และข้อมูลที่ถูกต้องแก่ประชาชน
  7. ให้องค์การจัดการน้าเสีย ใช้พื้นที่ด้านเหนือของที่ต้ังโครงการก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสีย ปรับปรุงเป็นสวนน้ำเพื่อการท่องเที่ยว
  8. ให้องค์การจัดการน้ำเสีย นำแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำเสียจังหวัดสมุทรปราการ ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย มาใช้เป็นพื้นฐานในการแก้ปัญหาน้ำเสียของจังหวัดสมุทรปราการต่อไป
    ด้าน รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ หลังจากรับหนังสือประชาคมจากตัวแทนชาวคลองด่านแล้ว กล่าวว่า
    “เรื่องที่พี่น้องชาวคลองด่านร้องเรียนมาถึงกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำนี้ ประเด็นคือว่า ต้องการนำพื้นที่ที่เหลือจากสิ่งปลูกสร้างประมาณ 1,300 ไร่ ที่ไม่ได้ใช้งาน ซึ่งขึ้นอยู่กับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อนำมาประกอบอาชีพ ซึ่งเรื่องนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ เราจะศึกษารายละเอียดและจะแจ้งแนวทางให้พี่น้องชาวคลองด่านทราบต่อไป และยังมีประเด็นเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา ทางกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำวุฒิสภาได้ให้ข้อเสนอแนะต่อนายกรัฐมนตรี และ ครม.ต่อปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งก็พ้องกับปัญหาของชาวคลองด่านด้วย”