ไลฟ์สไตล์ » พาณิชย์ปทุมฯ เปิดตัวผลิตภัณฑ์นวัตกรรมต้นแบบเชิงพาณิชย์

พาณิชย์ปทุมฯ เปิดตัวผลิตภัณฑ์นวัตกรรมต้นแบบเชิงพาณิชย์

3 กันยายน 2021
348   0


พาณิชย์จังหวัดปทุมธานี จับมือนักออกแบบระดับประเทศ เปิดตัวผลิตภัณฑ์ 12 ผลงานที่ สร้างสรรค์จาก 6 นักออกแบบชั้นนําที่จะนําการออกแบบมาขับเคลื่อนสินค้าเชิงพาณิชย์ ต่อยอดสินค้าเกษตร ด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยี และการออกแบบ หวังเพิ่มมูลค่าขีดความแข่งขันให้ผู้ประกอบการ ยกระดับรายได้ สอดคล้องนโยบายรัฐบาล

วันนี้ (3 ก.ย.2564) พาณิชย์จังหวัดปทุมธานี จัดงานแถลงข่าวและเสวนาเปิดตัว“Pathum Creator ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมต้นแบบเชิงพาณิชย์จังหวัดปทุมธานี” ซึ่งเป็นการดําเนินการภายใต้โครงการ ส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและธุรกิจบริการ กิจกรรมสร้างสินค้าต้นแบบด้วยนวัตกรรม พร้อมถ่ายทอดสด ผ่าน Facebook page: Pathum Creator: ปทุม ครเีอเตอร์ และแอพลิเคชั่น Zoom


โดยได้รับเกียรติจากนายจรูญศักดิ์ สิงหเดช รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี เป็นประธานกล่าว เปิดงาน และนางรวีพรรณ ช้างเย็นฉ่ํา พาณิชย์จังหวัดปทุมธานี กล่าวรายงาน พร้อมด้วยนักออกแบบชื่อดัง ดร.กรกต อารมย์ดี นักออกแบบเจ้าของรางวัล ศิลปาธร สาขาศิลปะการออกแบบ ประจําปี 2560 เจ้าของแบ รนด์ Korakot ผู้สร้างสรรค์งานหัตถกรรมไม้ไผ่ระดับโลก กล่าวถึง “แนวคิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม ต้นแบบเชิงพาณิชย์จังหวัดปทุมธานี” และดร.เรืองลดา ปุณยลิขิต อาจารย์ประจําหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขา ศิลปะการออกแบบ มหาวิทยาลัยศิลปากร และที่ปรึกษาด้านการออกแบบโครงการฯ ในหัวข้อ“การพัฒนา ความรู้และศักยภาพพื้นฐานของผู้ประกอบการ เพื่อต่อยอดผลิตภัณฑ์นวัตกรรมต้นแบบเชิงพาณิชย์จังหวัด ปทุมธานี ได้อย่างยั่งยืน”
นางรวีพรรณ กล่าวว่าจากสถิติมูลค่าทางการตลาดของกลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์ในปีที่ผ่านมาพบว่า มีมูลค่ามากกว่า 385 ล้านบาท และมีแนวโน้มการเติบโตที่สูงขึ้นโดยสินค้าที่เป็นที่นิยมในต่างประเทศ จะมี ทั้งหมด 5 กลุ่มสินค้า นั่นคือกลุ่มสินค้าของขวัญ ของฝาก ของที่ระลึก กลุ่มเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน กลุ่มสินค้าของเล่น กลุ่มสินค้าเครื่องหนัง เครื่องนุ่งห่มและกลุ่มอัญมณีและเครื่องประดับ โดยกลุ่มลูกค้าที่ นําเข้าและเป็นคู่ค้า ได้แก่สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมนี อิตาลี จีน เวียดนาม อินโดนีเซีย อินเดีย ซึ่งประเทศ ไทยมีจุดแข็งในด้านงานฝีมือ สตอรี่ของสินค้าคุณภาพสินค้าที่ดีกว่าคู่แข่งขัน ดีไซน์ และการสร้างสรรค์แต่จาก การสํารวจผู้ประกอบการจังหวัดปทุมธานี พบว่ามีจุดอ่อนที่กลุ่มผู้ผลิตยังขาดความรู้ความเข้าใจในการ ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานและคุณภาพท่ีทันสมัย ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ ของตลาดจึงมีความจําเป็นต้องช่วยส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์ปทุมธานีมีความสวยงาม มีเอกลักษณ์ทันสมัย และมี คุณภาพ
“การปรับเปลี่ยนการตลาดเข้าสู่ยุคดิจิทัลมีความสําคัญอย่างมากซึ่งสํานักงานพาณิชย์จังหวัป ทุมธานี ได้มีโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรม เกษตร และธุรกิจบริการรวมถึงกิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการในการ สร้างสินค้าต้นแบบด้วยนวัตกรรมโดยกลุ่มตัวอย่าง เป็นกลุ่มสินค้า แฟชั่น ไลฟ์สไตล์ของจังหวัดปทุมธานี เพื่อ

สร้างโอกาส ส่งเสริมภาพลักษณ์ และการเข้าถึงตลาดให้แก่ผู้ประกอบการเป็นการยกระดับรายได้ตามนโยบาย ของจังหวัดปทุมธานีและรัฐบาล” นางรวีพรรณ กล่าว
“Pathum Creator ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมต้นแบบเชิงพาณิชย์จังหวัดปทุมธานี” เป็นการสร้าง มูลค่าเพิ่มพัฒนาและสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากสินค้าเกษตรด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีและการออกแบบ จาก นักออกแบบระดับมืออาชีพ โดยมีผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP SMEs กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดปทุมธานีกว่า 80 คน คณะทํางานขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรม เกษตรกร และธุรกิจบริการ กิจกรรมสร้าง มูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร เยาวชนนักศึกษาเข้าร่วม โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบนักออกแบบระดับมือ อาชีพมาร่วมจัดทําผลิตภัณฑ์”
นางรวีพรรณ กล่าว ทั้งนี้ ภายในงานมีการนําเสนอผลิตภัณฑ์ที่ผลิตมาจากวัสดุและสินค้าจาก การเกษตร และผลิตภัณฑ์ที่มีโอกาสตอบโจทย์เทรนสินค้าไลฟ์สไตล์ที่มีความหลากหลาย ทั้งหมด จํานวน 12 ผลิตภัณฑ์ จากนักออกแบบ 6 ท่าน เริ่มกันที่ ดร.กรกต อารมย์ดี นักออกแบบประจําโครงการฯ (Head of designer) โดยนักออกแบบได้ร่วมกับทางกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง นําเศษหนังสัตว์จากอุตสาหกรรมหนังสัตว์ เช่น หนังวัว หนังนกกระจอกเทศ เป็นต้น มาสร้างสรรค์ให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์กระเป๋าตอบโจทย์สําหรับ คนทํางานออฟฟิศ ต่อยอดการขายได้ ทั้งตลาดบนและล่าง โดยการปรับเปลี่ยนรูปทรงและการใช้งานเพิ่มเติม และอีก 1 ผลงานคือ Collection โคมไฟไม้ไผ่รูปทรงอิสระและรูปทรงเลขาคณิต ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจในการ สร้างอาชีพให้กับชุมชน โดยการนําทักษะที่มีของผู้ประกอบที่มีความสามารถเรื่องของการประดิษฐ์ เพื่อเพิ่มขีด ความสามารถสามารถพัฒนางานให้เป็นงานสไตล์ ของแต่งบ้าน ซึ่งโคมไฟมีมูลค่าทางการตลาดค่อนข้าสูง และ ยังเหมาะกับการจัดแสดงในงานต่าง ๆ อีกด้วย
คุณรัฐ เปลี่ยนสุข นักออกแบบสาย Product design ร่วมกับกลุ่มผู้ประกอบการเฟอร์นิเจอร์ และ กลุ่มงานฝีมืองานประดิษฐ์ สร้างสรรค์งานออกแบบ เก้าอี้จากผ้าใยบัวประดิษฐ์ โครงสร้างลวดลายที่สวยงาม ประสานกับการประดับตกแต่ง เพื่อให้เกิดเป็นเก้าอี้โปร่งแสงที่สามารถใช้ตกแต่งห้องรับประทานอาหารได้ อย่างลงตัวทั้งยังเป็นการพลิกเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานเพื่อตลาดที่แตกต่าง และ ผลงาน Floret Lamp : โคมไฟจากต้นโสนหางไก่ จากวัสดุทางการเกษตรในจังหวัดปทุมธานี มาทําเป็นกลีบดอกไม้ให้ความโปร่งแสง และเป็นธรรมชาติเพื่อใช้เป็นสินค้าตกแต่งที่พักอาศัย

หมอนรองนั่งถักปักร้อยสไบมอญออกแบบโดย ดร.สุภาวินี จรุงเกียรติกุล นักออกแบบที่มีใจรัก ด้านงานผ้าได้ร่วมกับกลุ่มที่มีศักยภาพในเร่ืองการทอผ้าและตัดเย็บ เช่น กลุ่มแม่บ้านแสงตะวันที่เป็นกลุ่ม ริเริ่ม นําใยกล้วยมาพัฒนา ทอเป็นผืนผ้า เป็นต้น โดยได้รับแรงบันดาลใจจากลักษณะใบของดอกบัวหลวงและ “ลายใบมะตาด”ต้นไม้อนุรักษ์ของคนรามัญ ผสมผสานภูมิปัญญา และผลิตภัณฑ์ BUALUANG FASHION DRESS ชุดแฟชั่นผู้หญิงจากเส้นใยกล้วยบัวหลวง มีการเลือกใช้โทนสีชมพูของ “บัวหลวง” มาเป็นจุดเด่นใน การออกแบบผืนผ้าทอ โดยใช้ “ใยกล้วย” ซึ่งเป็นวัสดุท้องถิ่นของจังหวัดปทุมธานี ผสมผสานการออกแบบ ลวดลายผ้าทรี่่วมสมัยเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สินค้าแฟชั่นจากผ้าทอใยกล้วยให้มีเอกลักษณ์โดดเด่น

ดร.ศุภพงศ์ สอนสังข์ นักออกแบบ เฟอร์นิเจอร์ไม้ ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ ใน Concept Modular Design เป็นการผสมผสานวัสดุด้วยการเรียงชิ้นส่วนโลหะที่มีรูปทรงเฉพาะ สามารถยึดติดกับเศษวัสดุชิ้นเล็กๆ ที่มีรูปทรงหลากหลาย ซึ่งเป็นไม้ที่เหลือจากการผลิตเฟอร์นิเจอร์ จนเกิดรูปทรงใหม่ และมิติของแสงแบบสุ่ม เกิดไดจ้ากเหลี่ยมมุมของชิ้นไม้ชิ้นนั้นๆออกแบบให้สามารถนําไปสร้างสรรค์เป็นรูปทรงและหน้าที่ใช้สอยอ่ืนๆ
2

ได้อีกมากมาย ในครั้งนี้ได้พัฒนาออกมาเป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์โคมไฟ และTable site โดยมีวัตถุดิบหลักคือไม้ พิวเตอร์ และ ทองเหลือง
คุณธีรพจน์ ธีโรภาส นักออกแบบรุ่นใหม่ใจรักเฟอร์นิเจอร์ ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ 3 ชิ้นงาน ได้แก่ Dusk till Dawn พวงหรีดจากต้นโสนหางไก่ โดยออกแบบให้ประกอบขึ้นจากดอกไม้จันทน์ประดิษฐ์จาก ต้นโสนบนโครงสร้างลอยตัว และCollection MYTH กระจกและม้านั่งห่อหุ้มเศษหนังเหลือใช้ ลวดลายถูก ออกแบบผ่านแนวคิดการสร้าง modular system ขนาดเล็กเพื่อให้เข้ากับขนาดของวัสดุเหลือใช้ แนวคิดที่ พัฒนามาจากภาษาของบล็อกของเล่นไม้เด็ก ทําให้ลวดลายสามารถสลับสับเปลี่ยนได้ง่ายขึ้นอยู่กับวัสดุที่มี
และนักออกแบบท่านสุดท้าย อาจารย์ชัยนรินทร์ ชลธนานารถ อาจารย์พิเศษ สาขาวิชาออกแบบ ภายใน คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ผันตัวมา เป็นนักออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ Pana-ware พลาสติกชีวภาพจากเปลือกกล้วยหอมปทุมธานี โดย นํามาออกแบบเป็นชุด Tableware ที่สามารถใช้ได้จริง ในชีวิตประจําวัน นวัตกรรมนี้นอกจากจะช่วยลด ปริมาณขยะและเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรแล้ว ยังตอบสนองต่อความต้องการใช้วัสดุหรือบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อมในอนาคต
นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมต้นแบบเชิงพาณิชย์จังหวัดปทุมธานีทั้ง 12 ต้นแบบ จะนําไปจัดแสดง นิทรรศการ “Pathum Creator Roadshow” ระหว่างวันที่ 5 – 7 กันยายน 2564 ณ ลานกิจกรรม Nine Square (Center Zone) ศูนย์การค้า เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ เปิดให้เข้าชมนิทรรศการได้ ตั้งแต่เวลา 10.30–19.00น.ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าชมนิทรรศการโดยไม่มีค่าใช้จ่ายทั้งนมี้ีขั้นตอนการตรวจคัด กรองและการจํากัดจํานวนเข้าชมในแต่ละรอบ เป็นไปตามมาตรการการป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19