กรมคุมประพฤติ จัดงานแถลงข่าวประกวดหนังสั้น “โอกาสที่สังคมมอบให้”

พร้อมประกาศ 15 ทีมเข้ารอบสุดท้าย เพื่อชิงเงินรางวัลกว่าห้าแสนบาท

กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม จับมือ 5 ผู้กำกับชั้นนำของเมืองไทย จัดประกวดหนังสั้น ภายใต้หัวข้อ “โอกาสที่สังคมมอบให้” เพื่อเปิดพื้นที่ให้กับคนรุ่นใหม่ ร่วมสร้างสรรค์ผลงานผ่านการทำหนังสั้น สร้างความตระหนักให้สังคมยอมรับ และให้โอกาสผู้กระทำผิด พร้อมประกาศทีมที่ผ่านเข้ารอบ 15 ทีมสุดท้าย ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 500,000 บาท

กรมคุมประพฤติ จัดงานแถลงข่าว โครงการประกวดหนังสั้น ภายใต้หัวข้อ “โอกาสที่สังคมมอบให้” เพื่อเปิดพื้นที่ให้กับคนรุ่นใหม่โดยเฉพาะนักเรียน นิสิต นักศึกษา มีเวทีให้ฝึกฝีมือ ร่วมสร้างสรรค์ผลงานผ่านการทำหนังสั้น เพื่อสร้างการรับรู้ สร้างแรงบันดาลใจ สร้างความตระหนักให้สังคม เกิดความเข้าใจ ยอมรับ และให้โอกาสผู้กระทำผิด กลับไปดำรงชีวิตในสังคมได้ ด้วยระบบประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Video Conference System)

โดยมีนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วยคณะ ผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม และนายวิตถวัลย์ สุนทรขจิต อธิบดีกรมคุมประพฤติ และคณะผู้บริหารกรมคุมประพฤติ ตลอดจนผู้กำกับชื่อดังของเมืองไทย ณ โรงแรมแกรนด์ ราชพฤกษ์ จังหวัดนนทบุรี ภายใต้มาตรการป้องกันและเฝ้า ระวังของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างเคร่งครัด ซึ่งโครงการนี้ได้รับทุนสนับสนุนในการดำเนินโครงการจาก กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ ที่เล็งเห็นประโยชน์ที่สังคมจะได้รับจากการประกวดในครั้งนี้ ที่นอกจากการสร้างโอกาสให้กับคนรุ่นใหม่ได้มีเวที แสดงศักยภาพ ยังเป็นการสร้างโอกาสให้กับผู้กระทำผิดได้กลับมามีที่ยืนในสังคม ผ่านผลงานสร้างสรรค์ที่ได้จากการประกวดในครั้งนี้อีกด้วย

นายวิตถวัลย์ สุนทรขจิต อธิบดีกรมคุมประพฤติ กล่าวว่า โครงการประกวดหนังสั้น “โอกาสที่สังคม มอบให้” มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างความตระหนักให้สังคมเกิดความเข้าใจ ยอมรับ และให้โอกาสผู้กระทำผิดได้ กลับคืนสู่สังคม ในรูปแบบหนังสั้นที่เข้าใจง่าย ซึ่งในภารกิจหลักของกรมคุมประพฤติ คือ การแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด

โครงการประกวดหนังสั้น “โอกาสที่สังคม มอบให้”

ไม่ว่าจะเป็น การคุมประพฤติผู้ใหญ่ เด็กและเยาวชน

ผู้ได้รับการพักการลงโทษ หรือลดวันต้องโทษ รวมทั้ง ดำเนินการสงเคราะห์ผู้กระทำผิดระหว่างคุมประพฤติและภายหลังปล่อย เพื่อให้ผู้กระทำผิดสามารถปรับเปลี่ยน พฤติกรรมเป็นที่ยอมรับของชุมชนและสังคม ดังนั้นเพื่อเป็นการสร้างการรับรู้และความเข้าใจแก่ประชาชน ชุมชน และสังคม ว่ากรมคุมประพฤติแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดให้กลับตัวกลับใจได้แล้ว เราคืนคนดีให้สังคมแล้ว ก็ต้องส่งไม้ ต่อให้คนในชุมชนและคนในสังคมได้เข้าใจว่า “โอกาส” คือสิ่งที่ผู้กระทำผิดเหล่านี้ต้องการ สังคมต้องเข้าใจและให้ โอกาสพวกเขาได้กลับไปมีที่ยืนในสังคม ได้รับโอกาสในการทำงาน ได้ดูแลตัวเองและครอบครัว ได้รับโอกาสเหมือน ทุกๆคนในสังคม นั่นคือสิ่งที่โครงการนี้ต้องการจะสื่อออกไป กรมคุมประพฤติจึงได้จัดโครงการนี้ขึ้นโดยจับมือกับ ผู้กำกับภาพยนตร์ชั้นนำในประเทศไทย 5 ท่านด้วยกัน ได้แก่ คุณปรัชญา ปิ่นแก้ว คุณนนทรีย์ นิมิบุตร คุณธนิตย์ จิตนุกูล คุณบัณฑิต ทองดี และคุณราเชนท์ ลิ้มตระกูล มาเป็นคณะกรรมการตัดสิน และให้ความรู้แก่น้องๆ ผู้เข้า ประกวด ในกระบวนการผลิตหนังสั้นแบบมืออาชีพ ซึ่งได้จัดอบรมในรูปแบบออนไลน์ไปแล้ว เมื่อวันที่ 11 กันยายน ที่ผ่านมา และคณะกรรมการทุกท่านได้ร่วมกันคัดเลือกทีมที่ผ่านเข้ารอบ 15 ทีมสุดท้ายกันอย่างเข้มข้น

โครงการนี้นอกจากจะเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับสังคม เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เคยกระทำความผิด

สามารถกลับไปดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุขแล้ว ยังเป็นการเปิดพื้นที่ให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่สนใจในการผลิต
ภาพยนตร์ ได้มีเวทีให้ฝึกฝีมือการผลิตและกำกับภาพยนตร์สั้นจากผู้มีประสบการณ์ และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ และ

ได้รับการยอมรับในวงการภาพยนตร์ไทยอย่างใกล้ชิด พร้อมชิงเงินรางวัลกว่า 500,000 บาท ที่สำคัญผลงานของ ผู้ประกวดที่สามารถผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ จะได้มีโอกาสไปโชว์ผลงานของตนเองในโรงภาพยนตร์อีกด้วย” อธิบดีกรมคุมประพฤติ กล่าวเพิ่มเติม

ด้าน นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า กระทรวงยุติธรรมมีนโยบาย มุ่งเน้นลดความเหลื่อมล้ำของสังคม ผ่านการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดให้กลับตนเป็นพลเมืองดีของสังคม ตลอดจน ร่วมสร้างงานให้โอกาสออกมาประกอบอาชีพสุจริตเพื่อเลี้ยงดูตนเองและครอบครัว เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ ผู้กระทำผิดไม่หวนกลับไปกระทำผิดซ้ำ ภายใต้แนวคิด สร้างโอกาสเพื่อคืนผู้กระทำผิดสู่สังคม ซึ่งโครงการประกวดหนังสั้น “โอกาสที่สังคมมอบให้” ของกรมคุมประพฤติตอบโจทย์ของแนวคิดดังกล่าว เปรียบเหมือนจิ๊กซอว์ตัวสุดท้ายที่มาเติมเต็มกระบวนการคืนคนดีสู่สังคม เราจะคืนพวกเขาเหล่านี้สู่อ้อมกอดของครอบครัว และกลับคืนสู่สังคมไม่ได้เลย หากสังคมไม่ร่วมกันมอบโอกาสให้กับพวกเขาก่อน เพื่อให้ผู้กระทำผิดเหล่านี้ มีแรงกาย และแรงใจต่อสู้ พัฒนาตนเองเพื่อเป็นกำลังสำคัญร่วมกันพัฒนาประเทศต่อไป

  • สำหรับรายละเอียดที่สำคัญของโครงการประกวดหนังสั้น ในครั้งนี้ประกอบด้วย
  1. คุณสมบัติของผู้สมัคร
  • นักเรียน นิสิต นักศึกษา ในสถาบันการศึกษาต่างๆ หรือประชาชนทั่วไป ผู้มีสัญชาติไทย
  • ไม่จำกัดเพศ
  • อายุไม่เกิน 25 ปี
  • สมัครแบบทีม ทีมละ 2-5 คน
  • รางวัลการประกวด
  • รางวัลชนะเลิศ 150,000 บาท พร้อมโล่และเกียรติบัตร
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 100,000 บาท พร้อมโล่และเกียรติบัตร
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 50,000 บาท พร้อมโล่และเกียรติบัตร
  • รางวัลชมเชย 2 รางวัลๆ ละ 20,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
  • รางวัล Popular Vote 1 รางวัล 20,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร

และรางวัลสนับสนุนทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย 15 ทีมสุดท้าย จะได้รับเงินรางวัล 15,000 บาท

การประกาศรางวัล

  • รอบคัดเลือก ภายในวันที่ 28 เมษายน 2564
  • รอบ 15 ทีมสุดท้าย ภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2564
  • รอบชิงชนะเลิศ ภายในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2564

สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์กรมคุมประพฤติ www.probation.go.th
หรือ Facebook กรมคุมประพฤติ Department of Probation หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 093-428-3636

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา

“เมืองท่ากระดาน” เมืองเก่าแก่เมืองเดียวริมแม่น้ำแควใหญ่

ที่มีความสำคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยาเคียงคู่กับเมืองกาญจนบุรีเก่าและเมืองไทรโยค คือ เป็นเมืองที่มีเจ้าปกครอง อีกทั้งเป็นเมืองหน้าด่านที่ต้องสู้รบกับกองทัพพม่าที่ยกทัพเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ในทุกคราว แต่ปัจจุบันลักษณะสภาพทางภูมิศาสตร์ จึงถูกยุบเป็นกิ่งอำเภอเมื่อ พ.ศ.2438 และลดฐานะเป็นหมู่บ้านชื่อ "บ้านท่ากระดาน" ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสถานศึกษา โรงเรียนชุมชนท่ากระดาน และตำบล อยู่ในเขตการปกครองของ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี

ต่อมา พ.ศ.2495 ได้มีการขุดค้นหาโบราณวัตถุกันเป็นการใหญ่ และได้พบพระพิมพ์เนื้อตะกั่วสนิมแดงที่วัดทั้งสามเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะที่วัดกลางซึ่งเรียกชื่อเต็มว่า "วัดท่ากระดาน" นั้นได้ปรากฏพระพิมพ์เนื้อตะกั่วสนิมแดงที่สนิมแดงงามจัดและปิดทองมาแต่ในกรุทุกองค์ กอปรกับวัดนี้ตั้งอยู่ในส่วนกลางของเมืองท่ากระดานเก่าพอดี ชาวบ้านจึงเห็นเหมาะสมควรศึกษา"พระท่ากระดาน" ก็คือ สภาพสนิมไขสนิมแดง และรักเก่า ทองเก่า นั้นเอง

“เฉลิมชัย”ประธานฟรุ้ทบอร์ดปฏิรูปกลไกบริหารจัดการผลไม้ครั้งใหญ่

วาง3กระทรวง” เกษตร-อุตสาหกรรม-พาณิชย์”รับผิดชอบการผลิตการแปรรูปการตลาด
พร้อมเห็นชอบแผนและงบประมาณปี2565และตั้งทีมขับเคลื่อนศูนย์บริหารจัดการมหานครผลไม้และสนามบินจันทบุรีมอบ”อลงกรณ์”เป็นประธาน

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้ นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรี

เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (หรุ้ทบอร์ด)ครั้งที่ 1/2565 ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Video Conference) Application ZOOM Cloud Meetings พร้อมด้วย นายนราพัฒน์ แก้วทอง กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายอำพันธุ์ เวฬุตันติ รองปลัด กษ. นายประยูร อินสกุล รองปลัด กษ. ดร.สมบัติ ตงเต๊า รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายอนันต์ แก้วกำเนิด รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนผู้ประกอบการ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และผู้แทนเกษตรกรชาวสวนผลไม้ และนายขจร เราประเสริฐ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการฯ ร่วมกันหารือประชุมขับเคลื่อนโดยมีประเด็นผลการดำเนินงานการบริหารจัดการผลไม้ในรอบฤดูกาลผลิตที่ 2/2564 ทั่วประเทศ ผลการจัดประชุมกลุ่มย่อย Focus group เพื่อวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคการบริหารจัดการผลไม้ทั้งระบบ คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงาน ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ มาตรการบริหารจัดการผลไม้ ปี 2565 โดย กระทรวงพาณิชย์ และร่วมกันพิจารณาโครงการบริหารจัดการผลไม้ ปี 2565 ที่เสนอโดยสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ ตามยุทธศาสตร์ “ตลาดนำการผลิต” และนโยบาย “เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” ต่อไป

การบริหารจัดการผลไม้ปี 2564 ของภาคเหนือ (ลำไย) และภาคใต้ (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง) ในภาพรวมสอดคล้องกับแนวทางบริหารจัดการผลไม้ปี 2564 - 2566 

โดยจังหวัดสามารถบริหารจัดการผลไม้แบบเบ็ดเสร็จด้วยตัวเอง โดยผ่านกลไกของคณะกรรมการเพื่อแก้ปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.) ในเชิงคุณภาพสอดคล้องตามยุทธศาสตร์พัฒนาผลไม้ไทย พ.ศ.2558 – 2564 และในเชิงปริมาณที่เน้นการจัดสมดุลอุปสงค์และอุปทาน โดยผลไม้ภาคเหนือ (ลำไย) ปริมาณ 671,308 ตัน และผลไม้ภาคใต้ (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง) ปริมาณ 785,459 ตัน มีการกระจายผลผลิตผ่านกลไกตลาดปกติ โดย คพจ. และเกษตรกรสามารถจำหน่ายผลผลิตในราคาไม่ต่ำกว่าราคาต้นทุนการผลิต และราคาเฉลี่ยของผลผลิตตลอดฤดูกาลสูงกว่าราคาต้นทุนการผลิตไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
จากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ในช่วงกลางปีที่ผ่านมา ได้กระทบต่อแผนการบริหารจัดการผลไม้ทำให้ทั้งการส่งออก การแปรรูป และการกระจายในประเทศ ส่งผลให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน นั้น ได้มีการจัด Focus group วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคการบริหารจัดการผลไม้ โดยร่วมกันระหว่าง ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคเกษตรกร ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเชิงตั้งข้อสังเกตถึง “ปัญหาและอุปสรรค” (Pain Point) ใน ประเด็นโครงสร้าง ระบบ และการบริหารจัดการ Fruit Board ประเด็นกลไกการทำงานในภาวะวิกฤต ประเด็นแผนงาน โครงการ และงบประมาณ รวมไปถึงแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มและแบรนดิ้ง (Branding) ผลไม้ การพัฒนากลไกการค้าผลไม้และการตลาดเชิงรุกทั้งในและต่างประเทศ การบริหารจัดการล้ง การบริหารจัดการระดับ Area based ผลไม้ภาคตะวันออก-ใต้-ใต้ชายแดน การบริหารจัดการระดับ Area based ผลไม้ภาคเหนือ การจัดการปัญหาและอุปสรรคการบริหารจัดการผลไม้รายสินค้า (ทุเรียน, ลำไย, มังคุด, เงาะ, ลองกอง และมะม่วง) โดยข้อมูลดังกล่าวได้ให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร รับทราบและพิจารณาใช้ประโยชน์ และนำมาวางแผนเพื่อรับมือวิกฤติการณ์ในรูปแบบต่างๆ ในอนาคต

คณะกรรมการฯ รับทราบคำสั่งของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานฟรุ้ทบอร์ดในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงาน ครอบคลุมทั้งระบบ ประกอบด้วย

  1. คณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้
    1) คณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหารการผลิต
    2) คณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหารการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า
    3) คณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหารการตลาด
    4) คณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหารการผลไม้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    5) คณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหารการผลไม้ภาคตะวันออก ภาคใต้ ภาคอื่นๆ
  2. คณะทำงานภายใต้คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้
    1) คณะทำงานพัฒนาระบบข้อมูลและโลจิสติกส์
    2) คณะทำงานศึกษาเสถียรภาพกลุ่มสินค้าลำไย
    3) คณะทำงานศึกษาเสถียรภาพกลุ่มสินค้าทุเรียน
    4) คณะทำงานแก้ไขปัญหาผลไม้ล่วงหน้าทั้งระบบ
    ในด้านการรองรับและแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นประกอบกับภาพรวมผลไม้ไทยจะมีผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 3,500,000 ตัน เพิ่มขึ้นประมาณ 8% โดยกระทรวงพาณิชย์ ได้กำหนด 17 มาตรการรองรับผลไม้ ปี 2565 ล่วงหน้า 6 เดือน ประกอบด้วย
    1.มาตรการเร่งรัดตรวจและรับรอง GAP ซึ่งมีเป้าหมายในปี 2565 ไม่ต่ำกว่า 120,000 แปลง
    2.มาตรการช่วยผู้ประกอบการหรือเกษตรกรหรือล้งกระจายผลผลิตผลไม้ออกนอกแหล่งผลิต กิโลกรัมละ 3 บาท ปริมาณ 80,000 ตัน
    3.มาตรการเสริมสภาพคล่องให้ผู้ส่งออกโดยจะช่วยเหลือดอกเบี้ยร้อยละ 3 และช่วยผู้ส่งออกที่ส่งออกผลไม้อีกกิโลกรัมละ 5 บาท ปริมาณ 60,000 ตัน
  3. กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตร สนับสนุนให้มีการใช้พระราชบัญญัติเกษตรพันธสัญญา การทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้านผลไม้ โดยจะสนับสนุนให้มีการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อเกษตรกรได้ทราบว่าขายผลไม้ได้เท่าไหร่ มีคนซื้อที่มีหลักประกัน เซ็นสัญญาตามกฏหมายชัดเจนไม่ต่ำกว่า 30,000 ตัน
    5.มาตรการส่งเสริมการบริโภคผลไม้ในประเทศ ประสานงานกับสายการบินต่างๆ เปิดโอกาสให้โหลดผลไม้ขึ้นเครื่องบินในประเทศไทยฟรี 25 กิโลกรัม ตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2565 เป็นต้นไป
    6.มาตรการช่วยสนับสนุนกล่อง พร้อมค่าจัดส่งผลไม้ที่ขายตรงจากเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ไปยังผู้บริโภคโดยตรงโดยสนับสนุนกล่องมากขึ้นกว่าปี 2564 ที่สนับสนุน 200,000 กล่อง ปี 2565 จะสนับสนุนถึง 300,000 กล่อง
    7.ในช่วงที่ผลไม้ออกเยอะ กระทรวงพาณิชย์จะสนับสนุนให้มีรถเร่ รถโมบาย ไปรับซื้อผลไม้และนำออกจำหน่ายสู่ผู้บริโภคโดยตรง โดยปี 2557 จะสนับสนุนที่15,000 ตัน
    8.ประสานงานกับห้างท้องถิ่นและปั๊มน้ำมันต่างๆ เปิดพื้นที่ระบายผลไม้ให้กับเกษตรกรโดยเพิ่มปริมาณจากปี 2564 ที่ช่วย 1,500 ตัน ปี 2565 จะเพิ่มเป็น 5,000 ตัน
    9.จะทำเซลล์โปรโมชั่นในการส่งเสริมการขายผลไม้ในต่างประเทศซึ่งใช้ชื่อโครงการ Thai Fruits Golden Months ดำเนินการในตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดใหญ่ 12 เมือง เช่นเดียวกับปี 2564 ซึ่งเป็นมาตรการที่ได้ผลดีมาก
    10.จะจัดการเจรจาจับคู่ซื้อขายผลไม้ทางธุรกิจในระบบออนไลน์หรือที่เรียกว่า OBM มุ่งเน้นตลาดใหม่ เช่น อินเดียและรัสเซียเป็นต้น
    11.จะส่งเสริมการขายผลไม้ในต่างประเทศในรูปแบบ THAIFEX – Anuga Asia จัดงานส่งเสริมการบริโภคผลไม้ระดับนานาชาติ ช่วงเดือนพฤษภาคม 65 ที่ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี
    12.เร่งจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ผลไม้ไทยไปในประเทศต่างๆทั่วโลกเป็น 5 ภาษา เพื่อประชาสัมพันธ์ผลไม้ไทย
    13.จะจัดให้มีการอบรมให้ความรู้เกษตรกรกลุ่มเกษตรกรในเรื่องของการค้าออนไลน์เพื่อขายตรงให้กับผู้บริโภคและจะเพิ่มเติมหลักสูตรการส่งออกเบื้องต้นให้ด้วย ตั้งเป้าอบรมเกษตรกรให้ได้อย่างน้อย 1,000 ราย
    14.มาตรการขอความร่วมมือจากผู้ว่าราชการจังหวัดที่เกี่ยวข้องในการเคลื่อนย้ายแรงงาน เพื่อให้สามารถดำเนินการเก็บผลไม้และส่งเสริมการขายผลไม้ได้ต่อไป
    15.ในบางช่วงที่ขาดแคลนแรงงาน ให้ กอ.รมน.ส่งกำลังพลเข้ามาช่วยเก็บเกี่ยวและขนย้ายผลไม้
    16.กระทรวงพาณิชย์จะสั่งการให้ทีมเซลล์แมนจังหวัดและทีมเซลล์แมนประเทศประสานงานกันช่วยระบายผลไม้ของเกษตรกรทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศต่อไป ให้มีความเข้มข้นขึ้น
    17.กระทรวงพาณิชย์และจังหวัดจะบังคับใช้กฎหมายโดยเคร่งครัด เพื่อให้เกษตรกรสามารถขายผลไม้ที่มีคุณภาพ และได้ราคาดีไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ โดยบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ กฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้าและกฎหมายชั่งตวงวัดโดยเคร่งครัดต่อไป
พร้อมกันนี้ คณะกรรมการฯ พิจารณาเห็นชอบ โครงการบริหารจัดการผลไม้ 2565 เสนอโดยสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ประกอลด้วยงบประมาณ เงินจ่ายขาด จำนวนเงิน 113.13726 ล้านบาท แบ่งเป็นวงเงิน 109.842 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนค่าบริหารจัดการกระจายผลไม้ออกนอกแหล่งผลิต และวงเงิน 3.29526 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและติดตามกำกับดูแลของ หน่วยงาน

นายอลงกรณ์ กล่าวว่า คณะกรรมการ fruit Board ได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ และ คณะทำงานที่เกี่ยวข้องซึ่งได้จัดตั้งตามโครงสร้างใหม่นำเสนอแผนงานโครงการและงบประมาณเพื่อ ขับเคลื่อนการบริหารจัดการผลไม้ในการประชุมคราวหน้า
นอกจากนี้Fruit Board ยังมีมติจัดตั้งคณะทำงานศึกษาโครงการศูนย์บริหารจัดการมหานครผลไม้และสนามบินจังหวัดจันทบุรี โดยให้นำเสนอผลการพิจารณาในการประชุมฟรุ้ทบอร์ดครั้งต่อไปเดือนธันวาคม

วช.คิดนอกกรอบปรับมุมมองดึงงานวิจัย นวัตกรรมสร้างคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

เปลี่ยนวัยเกษียณเป็นพลังแผ่นดิน

อีก 2 เดือนเศษ สังคมไทยจะเป็น “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์” นั่นหมายถึงตั้งแต่ต้นปี 2565 ประเทศไทยจะมีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปสูงขึ้นร้อยละ 20 หรือประมาณ 14 ล้านคนจากจำนวนประชากร ประมาณ 66 ล้านคน

และในปี 2576 หรืออีก 12 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะเป็น “สังคมสูงอายุระดับสุดยอด” โดยสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป จะสูงถึงร้อยละ 28 และประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปสูงถึงร้อยละ 20

ขณะที่ประชากรที่เกิดระหว่างปี 2506-2526 ก็กำลังจะกลายเป็นผู้สูงอายุปรากฏการณ์ “อัตราการเกิดที่ลดลงและผู้คนมีอายุยาวขึ้น” เกิดขึ้นทั่วโลก กำลังส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า การเข้าสู่สังคมสูงอายุนั้น จะเป็นปัญหาสำคัญของการพัฒนาประเทศในอนาคต เพราะรัฐบาลมีภาระจะต้องดูแลผู้สูงอายุ มากขึ้น ขณะเดียวกันความสามารถในการแข่งขันของประเทศก็จะลดลงเมื่อประชากรในวัยทำงานลดลงไป

  • แต่เรื่องผู้สูงอายุไม่ใช่แค่ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ต้องมาคำนวณ เนื่องจากมีพ่อแม่ปู่ย่าตายายของเราก็รวมอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย
  • ปัญหาคือจะทำอย่างไรให้สังคมไทยมีความพร้อมเพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมสูงอายุที่กำลังคืบคลานเข้ามาและนั่นเป็นเสมือนโจทย์หรือการบ้านข้อใหญ่ของรัฐบาล

“การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรมีผลกระทบต่อทุกประเทศทั่วโลก ประชากรโลกกำลังมีอายุสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในปี 2563 โลกของเรามีประชากรรวม 7,795 ล้านคน มี “ผู้สูงอายุ” ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 1,050 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 14 ของประชากรทั้งหมด

สำหรับประชากรสูงอายุในประเทศไทย มี 12 ล้านคน จากประชากรรวม 66.5 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 18 ของประชากรทั้งหมด โครงสร้างอายุของประชากรมีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน สังคมจึงต้องมีการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมสูงวัย เพื่อให้สังคมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืน มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีทักษะใหม่ๆ เพื่อการประกอบอาชีพ มีอุปกรณ์เทคโนโลยีในการช่วยเหลือ มีทัศนคติที่ดีต่อกัน เสริมพลังและสร้างคุณค่ากันระหว่างคนต่างรุ่น โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้ความสำคัญในประเด็นดังกล่าวและมองว่างานวิจัยและนวัตกรรมจะมีส่วนช่วยทั้งในด้านผู้สูงอายุโดยตรงและผู้ที่ยังไม่สูงอายุ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ในการเปลี่ยนแปลงทางสังคม” ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับการเข้าสู่สังคมสูงอายุ
ทั้งนี้ ปัจจุบัน วช.กำลังดำเนินโครงการ “เปลี่ยนเกษียณเป็นพลัง” นำผู้สูงอายุเกิน 60 ปีกว่า 6 หมื่นคนมาเข้าโครงการในปี 2564-2565 เพราะคนอายุเกิน 60 ปีหลายคนยังมีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์ มีทักษะที่จะมาถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับคนรุ่นใหม่ ขณะเดียวกัน ก็เป็นการสร้างโอกาสให้ผู้สูงอายุประกอบอาชีพได้ตามทักษะรวมทั้ง พัฒนาทักษะให้ผู้สูงอายุตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานและมีเป้าหมายจะขยายผู้สูงอายุให้เข้าโครงการในปี 2566 จำนวน 1 แสนคน

“นอกจากนี้ ได้มีการเตรียมนวัตกรรมเพื่อผู้สูงอายุ เช่น นวัตกรรมด้านการแพทย์ Telemedicine ที่ช่วยให้ผู้สูงอายุและบุคลากรทางการแพทย์สามารถพูดคุยได้แบบ Real time เช่นเดียวกับการสื่อสารผ่านระบบ VDO conference

เพื่อแลก เปลี่ยนข้อมูลในการดูแลรักษาสุขภาพ ซึ่งมีความเหมาะสมกับสถานการณ์ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 หรือนวัตกรรมเตียงพลิกตะแคงไฟฟ้าพร้อมแอปพลิเคชันทางโทรศัพท์มือถือเพื่อควบคุมเตียงแบบอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยให้ผู้สูงอายุติดเตียงได้รับการดูแลตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลกในการป้องกันการเกิดแผลกดทับที่ต้องพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมงและยังสามารถลดการทำงานของผู้ดูแล ผู้ป่วยได้ หรือนวัตกรรมด้านทันตกรรมผลิตภัณฑ์กลาสเซรามิกชนิดไมกาที่มีความทนทานและมีสีใกล้เคียงกับฟันจริง เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยสามารถเข้ารับการรักษาได้ ยังมีนวัตกรรมที่ช่วยด้านการดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุ อย่างเก้าอี้ย้ายตัวจากเตียงเพื่อการขับถ่ายและอาบน้ำ และอุปกรณ์ย้ายตัวจากรถยนต์สู่รถเข็นและนวัตกรรมที่ช่วยให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างอิสระ ช่วยเหลือตนเองได้ เช่น มอเตอร์ ไซค์สามล้อไฟฟ้าสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการทางการเคลื่อนไหว โดยใช้พลังงานไฟฟ้า ในการขับเคลื่อน สามารถชาร์จไฟได้ที่บ้านหรือสถานีชาร์จไฟฟ้า ถือเป็นการสร้างโอกาส ให้ผู้สูงอายุและผู้พิการได้รับโอกาสในการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวก สามารถเดินทางได้ตามความต้องการ”

ดร.วิภารัตน์ ระบุ ที่สำคัญ วช.ได้สนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมในประเด็นต่างๆ สำหรับผู้สูงอายุ อาทิ การเตรียมความพร้อมก่อนสูงวัย เช่น นวัตกรรมเพื่อการออมและการลงทุน การเตรียมความพร้อมด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม เช่นนวัตกรรม Smart Community ที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุและคนพิการ และการปรับปรุงบ้านให้กับผู้สูงอายุ สอดคล้องกับภูมิศาสตร์และภูมิสังคม Universal Design ที่พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้ยังคงมีสุขภาพที่ดี มีความมั่นคง ปลอดภัย เป็นต้น

“ต้องคิดนอกกรอบและเปลี่ยนมุมมองจากเดิมที่เห็นคนสูงวัยเป็นภาระของสังคม โดยคิดใหม่ว่า คนสูงวัยคือธรรมชาติ เป็นโรคชนิดหนึ่งที่สามารถปรับปรุงแก้ไขให้แข็งแรงอายุยืนยาวได้ พร้อมเปลี่ยนผู้สูงวัยให้เป็นพลังของแผ่นดินในการสร้างเศรษฐกิจมีรายได้ มีสุขภาพดี” ดร.วิภารัตน์ กล่าวทิ้งท้าย
  • “ทีมข่าวอุดมศึกษา” เห็นด้วยกับแนวคิดที่ว่า “ผู้สูงวัย” ไม่ใช่ภาระ เป็นเพียงการเปลี่ยนผ่านจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่งเท่านั้น แม้คนกลุ่มนี้จะมีกำลังวังชาที่ถดถอย แต่ก็มีประสบการณ์ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศ ไม่น้อยกว่าคนรุ่นใหม่ ขณะที่ปัจจุบัน โลกนี้คือโลกของนวัตกรรมที่จะช่วยสร้างโอกาสให้ผู้สูงอายุในการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกผู้สูงวัยสามารถใช้ชีวิตได้อย่างอิสระและช่วยเหลือตนเองได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้และนั่นหมายถึงการเปลี่ยนผ่านจากวัยเกษียณเป็นพลังแผ่นดินที่มั่นคงและมีความสุขได้ตามวัย.

กรมพัฒนาชุมชน ตั้งศูนย์จัดการกองทุนชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำ คว้ารางวัลเลิศรัฐ สาขาบริการภาครัฐ ปี 2564

นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เปิดเผย  ผลจากการพัฒนาประเทศที่ผ่านมา ก่อให้เกิดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมของประชาชนในท้องถิ่นชนบท ประชาชนจำนวนส่วนหนึ่งในพื้นที่ต้องการเงินเพื่อนำไปเป็นทุนในการเลี้ยงชีพแต่ไม่สามารถที่จะเข้าไปในระบบจากสถาบันการเงินได้เนื่องจากไม่มีหลักทรัพย์นำมาค้ำประกันในการกู้ยืม กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย 

จึงได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดตั้งองค์กรการเงินชุมชนในพื้นที่ชนบททั่วประเทศ เช่น กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กองทุนแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) กองทุนกลุ่มอาชีพต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งทุน สามารถกู้ยืมเงินมาลงทุนในการประกอบอาชีพ เพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ “ศูนย์จัดการกองทุนชุมชน” ขับเคลื่อนโดยคณะกรรมการศูนย์จัดการกองทุนชุมชนที่มาจากตัวแทนของกลุ่ม องค์กรการเงินต่าง ๆ

ในหมู่บ้าน/ชุมชน ดำเนินการบริหารจัดการหนี้ครัวเรือนให้ประชาชนที่เป็นหนี้ซ้ำซ้อนกันหลายสัญญา ปรับโครงสร้างหนี้ ปรับลดอัตราดอกเบี้ย ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนสามารถลดหนี้ และปลดหนี้ได้ในที่สุด ซึ่งผลการดำเนินงานของศูนย์จัดการกองทุนชุมชนที่ผ่านมา ในช่วงปี 2560–2562

  • สามารถบริหารจัดการหนี้ให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่เข้าสู่กระบวนการบริหารจัดการหนี้ไปสู่ 1 ครัวเรือน 1 สัญญา จำนวน 45,873 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 50.77 ของครัวเรือน สามารถลดและปลดหนี้ได้ถึง 871,827,496 บาท

การแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือน  โดยศูนย์จัดการกองทุนชุมชนนี้ จึงเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือนของประชาชนในระดับฐานรากได้อย่างยั่งยืน ประกอบกับความเข้มแข็งของคณะกรรมการศูนย์จัดการกองทุนชุมชนที่สามารถบูรณาการการทำงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาล ทำให้การขับเคลื่อนงานมีประสิทธิภาพ อีกทั้งสนับสนุนองค์ความรู้ทางวิชาการ เทคโนโลยี นวัตกรรม ภูมิปัญญาและทักษะในการพัฒนาอาชีพ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการให้ทันสมัย นำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต  ช่วยหนุนเสริมให้ชุมชนบริหารจัดการหนี้ของครัวเรือนให้หมดไปได้ สอดคล้องกับหลักการ “ระเบิดจากข้างใน” ซึ่งเป็นรากฐานการพัฒนาอย่างยั่งยืน

จนสามารถคว้ารางวัลเลิศรัฐ สาขาบริการภาครัฐ ประเภทพัฒนาการบริหาร ประจำปี 2564 ซึ่งเป็นรางวัลที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของบุคลากรสำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน คณะกรรมการศูนย์จัดการกองทุนชุมชน และชาวพัฒนาชุมชนทุกจังหวัด อำเภอ

ที่เพียรพยายาม ตั้งใจเพื่อพี่น้องประชาชน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมุ่งหวังเศรษฐกิจฐานรากที่มั่นคงและชุมชนพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืนต่อไป อธิบดีพช.กล่าว

อว. จัดพิธีน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต ในหลวง ร.๙

วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๔ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดพิธีวางพวงมาลาน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม พร้อมวางพวงมาลาน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณฯ

โดยมีคณะผู้บริหารหน่วยงานในสังกัด อว. เข้าร่วมในพิธีฯ ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น ๑ กระทรวง อว. อาคารพระจอมเกล้า ถนนโยธี กรุงเทพมหานคร

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธี พร้อมวางพวงมาลาน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณฯ

และในวันเดียวกัน สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้กระทรวง อว. ได้จัดกิจกรรมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
บรมนาถบพิตร

โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธี พร้อมวางพวงมาลาน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณฯ โดยมีผู้บริหารและบุคลากร วช. เข้าร่วมในพิธี เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่พระองค์ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย ณ ห้องโถง อาคาร วช. ๒ ชั้น ๑ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

  • หลังจากนั้น ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นำบุคลากร วช. เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ในการช่วยบริการประชาชนที่มาฉีดวัคซีน ณ ศูนย์บริการฉีดวัคซีน KU สู้ COVID-19 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร และในเวลา ๑๕.๐๐ น. ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมจิตอาสาน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๔ พร้อมถวายต้นฟ้าทะลายโจร ๒,๐๐๐ ต้น และหน้ากากอนามัย ๒,๐๐๐ ชิ้น แด่พระภิกษุสงฆ์ เพื่อมอบให้ตัวแทนอุบาสิกาต่อไป พร้อมทั้งได้นำคณะจิตอาสา วช. ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อทำความสะอาด วิหาร พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ และศาลาอเนกประสงค์ต่าง ๆ ณ วัดทัศนารุณสุนทริการาม (วัดตะพาน) เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร

คอลัมน์เรื่องจริงกับ”พญาต่อ”แรมโบ้อีสาน” ว่าที่รัฐมนตรีคนต่อไป.!

หากพูดถึงนักการเมืองในขณะนี้ที่เลือกข้างชัดเจน ต้องเรียกว่าคนนี้มาแรง “เสกสกล อัตถาวงศ์” หรือทราบกันในนาม “แรมโบ้อีสาน”

 พะบู๊บนท้องถนนที่อยู่บนถนนสายการเมืองมาเกือบ 30 ปี หลังพลิกบทบาทจากแกนนำแดงสายฮาร์ดคอร์ มายืนข้างฝั่งรัฐบาล โดยประกาศหันหลังให้กลุ่มเสื้อแดง จนกลุ่มเสื้อแดงออกมาต่อว่า “แรมโบ้อีสาน” ถูกซื้อเพราะไม่เชื่อว่าแรมโบ้อีสานอดีตประธานกลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์ประชาธิปไตยแห่งชาติ(อพปช.) และผู้ตั้งกองกำลังเสื้อแดงอีสานปกป้อง “ยิ่งลักษณ์” ในฐานะที่เป็นหนึ่งในวงจรความขัดแย้ง กลุ่มคนเสื้อแดงก็ไม่เชื่อว่า “แรมโบ้อีสาน” จะเปลี่ยนไปได้ขนาดนี้.!

    ถึงแม้ว่าเจ้าตัวจะออกมายืนยันว่าไม่ได้ทรยศ ไม่ได้หักหลังกลุ่มคนเสื้อแดง และบอกจุดยืนว่าอยากเห็นประชาชนมีความสุข มีความรักสมัครสมานสามัคคี ไม่อยากให้มาขัดแย้งกัน อยากจะให้บ้านเมืองเดินไปข้างหน้า เพราะตอนนี้บ้านเมืองบอบช้ำมาก  เลยขอเป็นตัวอย่างยุติบทบาททางการเมืองที่ไม่มีความขัดแย้ง.!
  •      วันนี้บทบาทสำคัญ ของ “แรมโบ้อีสาน” อดีตผู้นำกองกำลังคนเสื้อแดง กลายเป็นสัญลักษณ์ของรัฐบาล มาเป็น “บ่าวผู้พิทักษ์นาย” ที่คอยปกป้อง  “พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรี ไม่ว่าใครจะออกมาต่อว่าหรือประณาม “แรมโบ้อีสาน” จะต้องออกมาตอบโต้ปกป้องทันทีแบบสุดโต่ง.!

     ดังนั้นถ้า “พลเอกประยุทธ์” จำเป็นต้องปรับตำแหน่งท่านก็ต้องตัดสินใจว่าใคร เป็นบ่าวผู้พิทักษ์นายตัวจริง และมีความทุ่มเท และจริงใจที่คอยปกป้องท่านมากแค่ไหน

     บางคนเป็นนักการเมืองสีเทา ที่ประชาชนไม่เคยไว้วางใจ แม้ตอนนี้จะมาอยู่กับท่านนายก บางคนนั้นคงเปลี่ยนสันดานยาก ไม่รู้ว่าวันใดจะมีการแสวงประโยชน์ที่ทำให้รัฐบาลมัวหมอง สส.ในพรรคบางคนก็สร้างปัญหา บางคนมีคดีความ บางคนก็มีข้อกังขาทางกฎหมายว่าเป็น สส. ได้อย่างไร บางคนก็ใช้อำนาจฟุ่มเฟือย บางคนก็ปากเสียและมีพฤติกรรมเลวร้าย ถามว่าท่านนายกรู้ไหม?…คิดว่าน่าจะรู้นะ! แต่ท่านนายกก็ต้องกล้าตัดสินใจ กล้าพูดกัพวกเขาให้ทำหน้าที่เพื่อชาติเพื่อประชาชน อย่าแสวงหาผลประโยชน์ อย่าทำอะไรที่แสดงออกถึงความโง่เขลาเบาปัญญา อย่าทำอะไรที่ผิดกฎหมาย ผิดทำนองคลองธรรม อย่าแสดงความคิดเห็นโง่ๆ อย่าเล่นพรรคเล่นพวกในการใช้อำนาจ  ถ้านายกพูดแล้วใครไม่ฟังก็ต้องปลดต้องเปลี่ยน เพราะสันดานนักการเมืองส่วนใหญ่ไม่ค่อยเปลี่ยน จะทำอะไรเพื่อสนองต่อผลประโยชน์ของนักการเมืองโดยแท้จริง ประชากรคนไทยกว่า 60 ล้านคนมาร่วมใช้สิทธิ์ให้เข้าไปบริหารประเทศได้โดยตรง และใด้เป็นผลประโยชน์ของนักการเมือง เมื่อได้เป็น สส.แล้ว อาจกระทำการที่ไม่ตรงกับประโยชน์ที่ประชาชนอยากได้  หรืออยากให้เป็น พ่อแม่พี่น้องประชาชนทั่วประเทศทั้งหลาย ไม่ว่าพวกท่านนิยมสีเสื้อใด พวกท่านต้องรู้เท่าทันพวกนักการเมืองเหล่านี้ และจะต้องไม่ตกเป็นเครื่องมือของพวกเขา ให้มาปล้นอำนาจไปเป็น “สมบัติส่วนตัว” และของพวกตัวเองเป็นอันขาด หากมองดูแล้วว่าใครมีความจริงใจในการแก้ไขปัญหาประเทศด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและจงรักภักดี ก็จงสนับสนุนเขา.! แต่”พญาต่อ” มองดูจากคนรอบข้างท่านพลเอกประยุทธ์คงจะ”(…)” 

     แต่อย่างที่บอกตำแหน่งรัฐมนตรีในการปรับครม.ครั้งต่อไป “สปอตไลท์” ยังคงสาดส่อง”แรมโบ้อีสาน” ก็เพราะองค์ประกอบต่างๆ ดูจะเป็นใจ ดูแล้วจะเทน้ำหนักไปมากกว่าใครเพื่อนเพราะเป็น “บ่าวผู้พิทักษ์นาย” ตัวจริง.!

ล้านเรื่องเล่า(ช่วงอ.โอ๊กเล่าเรื่อง) – เปิดถ้ำเมืองบังบดพบโครงกระดูกนักรบโบราณแหล่งที่พบพระท่ากระดาน

โครงกระดูกนักรบโบราณแหล่งที่พบพระท่ากระดาน

“อว. แถลงผลสำเร็จหนุนสินค้าหัตถกรรมพื้นเมืองภาคเหนือตอนบน กระตุ้นเศรษฐกิจสร้างสรรค์สู่ตลาดในยุค New Normal”

จากการที่ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ได้สนับสนุนการอบรมโครงการ “การยกระดับผลิตภัณฑ์หัตถกรรมชุมชนในภาคเหนือตอนบนด้วยนวัตกรรมสร้างสรรค์ และทุนทางวัฒนธรรมและทรัพยากรท้องถิ่นสู่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก และการเพิ่มประสิทธิภาพห่วงโซ่มูลค่าของผลิตภัณฑ์” ที่มุ่งพัฒนาทักษะ องค์ความรู้ ศักยภาพบุคลากรและผู้ประกอบการหัตถกรรมพื้นเมือง ใน 8 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา แพร่ และจังหวัดน่าน ให้สามารถพัฒนาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์หัตถกรรมพื้นเมืองที่มีความแตกต่างและโดดเด่นตรงกับความต้องการของตลาดในยุค New Normal โดยใช้นวัตกรรมและวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของหน่วยงาน อาทิ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กรมการพัฒนาชุมชน สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) และสมาคมวัฒนหัตถศิลป์ล้านนา

โดยวันที่ 10 ตุลาคม 2564 เมื่อเวลา 14.00 น. ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่ ลานโปรโมชั่น 1 Promotion Area 2 ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เกียรติเป็นประธานปิดโครงการอบรมเพื่อเพิ่มสมรรถนะด้านการออกแบบสร้างสรรค์ของผู้ประกอบการหัตถกรรมพื้นเมือง สำหรับตลาดในยุค New Normal (Creative Design Competency Enhancement of Local Craft Entrepreneurs for New Normal Market Workshop)”, Koyori Project 2021 พร้อมเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์หัตถกรรมพื้นเมือง ที่เป็นผลสำเร็จจากโครงการ และพัฒนาโดยกลุ่มผู้ผลิตชุมชน กลุ่มนักออกแบบวิชาชีพ กลุ่มนักออกแบบรุ่นใหม่หรือทายาทชุมชนรุ่นใหม่ ซึ่งมีผลงานได้รับรางวัล10 ผลิตภัณฑ์ จากผลงานเข้าประกวด 10 ผลิตภัณฑ์

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากการที่ วช. มุ่งเน้นการดำเนินงาน เพื่อส่งเสริมการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากของประเทศให้มีความเข้มแข็ง ด้วยวิจัยและนวัตกรรม โดยที่ผ่านมา วช. ได้ให้การสนับสนุนผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยการส่งเสริมการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์พื้นเมือง ผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อสร้างให้มีมูลค่าเพิ่ม สร้างการเรียนรู้ ฝึกอาชีพ และเพิ่มความมั่นคงด้านรายได้ครัวเรือน โดยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้ วช. ได้สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมโครงการ เรื่อง “การยกระดับผลิตภัณฑ์หัตถกรรมชุมชนในภาคเหนือตอนบนด้วยนวัตกรรมสร้างสรรค์ และทุนทางวัฒนธรรมและทรัพยากรท้องถิ่นสู่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและการเพิ่มประสิทธิภาพห่วงโซ่มูลค่าของผลิตภัณฑ์” แก่ ดร. สุรพล ใจวงศ์ษา แห่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เพื่อเป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงองค์ความรู้จากงานวิจัยขยายผลสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรม ในเขตภาคเหนือตอนบนให้เข้มแข็งและยั่งยืน

ทั้งนี้ จากการสนับสนุนโครงการดังกล่าว ได้เห็นผลสัมฤทธิ์ที่สร้างความสำเร็จความพึงพอใจให้กับผู้ประกอบการหัตถกรรมพื้นเมืองอย่างมาก ซึ่งจากการดำเนินโครงการดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ซึ่งเป็นพื้นฐานหลักที่จะสร้างเศรษฐกิจระดับฐานรากให้มีความเข้มแข็งเพื่อเป็นพื้นฐานเชื่อมโยงในการพัฒนาประเทศต่อไป อีกทั้งการดำเนินกิจกรรมโครงการยังก่อให้เกิดการสืบทอดวัฒนธรรมชุมชน วิชาชีพ อาชีพ จากรุ่นเก่า สู่รุ่นใหม่ โดยมีการพัฒนาการออกแบบลวดลายผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์เข้ากับยุคสมัย มีช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์หัตถกรรมพื้นเมืองที่เข้ากับยุคปัจจุบันที่มุ่งเน้นการตลาดแบบ New Normal ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐที่มุ่งเน้นให้เกิดรายได้ อาชีพ จากชุมชน ลดการทิ้งถิ่นฐานทำกินได้อย่างเป็นรูปธรรม

เร่งเดินหน้า”5ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย”ครองแชมป์โลกยางพารา “อลงกรณ์”ปักหมุด7กลยุทธ์รุกตลาดน้ำยาง5หมื่นล้าน

เพิ่มรายได้เกษตรกร อัพเกรด”กยท.”เป็นองค์กรระดับโลก ดึงศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและสภาอุตสาหกรรมร่วมขับเคลื่อน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการติดตามและเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาราคายางและรักษาเสถียรภาพราคายางกล่าววันนี้(10ต.ค)ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินนโยบายบริหารจัดการยางพาราสินค้าเกษตรที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งมีเกษตรกรผู้ปลูกยางจำนวน 1.83 ล้านราย

ครอบคลุมพื้นที่ 24.76 ล้านไร่ภายใต้5ยุทธศาสตร์การปฏิรูปภาคเกษตรกรรมของดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยได้บูรณาร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคีเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยาง โดยมีการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจขับเคลื่อนนโยบายพิจารณาแก้ไขปัญหาและส่งเสริมการตลาดยางพารา โดยเฉพาะการเชื่อมโยงระหว่าง ผู้ซื้อ และผู้ขาย ประกอบด้วย ตลาดกลางยางพารา การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) 8 แห่ง ตลาดซื้อขายออนไลน์ และตลาดยางพาราท้องถิ่น รวมทั้งการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางด้านรายได้ในภาวะช่วงเปลี่ยนผ่านสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและการลดผลกระทบจากวิกฤติโควิด19ด้วยการขับเคลื่อนโครงการประกันรายได้ชาวสวนยางตลอดจนการสร้างกลไกและกลยุทธ์ใหม่ๆ ในการรักษาเสถียรภาพราคา และเพิ่มรายได้ชาวสวนยาง เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว
  การขับเคลื่อนนโยบายตลาดเชิงรุกโดยการให้สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ทูตเกษตรประจำอยู่ต่างประเทศ เช่น จีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป (EU) ร่วมกับทูตพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ ตามโมเดลเกษตรผลิตพาณิชย์ตลาดภายใต้ยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิตได้ผนึกกำลังกันส่งเสริมการตลาดยางพาราในประเทศคู่ค้าสำคัญๆพร้อมกับติดตามและรายงานข้อมูลสถานการณ์การนำเข้าและส่งออก สินค้าและผลิตภัณฑ์ยางพาราไทย และสภาวะแวดล้อมด้านการค้าการแข่งขัน รวมทั้งการวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะโอกาสทางการค้าและการลงทุน ทั้งนี้ ถือได้ว่า เป็นการปรับมิติของกลยุทธ์การตลาดยางพารา โดยขับเคลื่อนร่วมกับการยางแห่งประเทศไทยเป็นกลไกขับเคลื่อนพัฒนาตลาดยางพาราในต่างประเทศ ทั้งในตลาดเก่า และการเปิดตลาดใหม่โดยตั้งเป้าเพิ่มส่วนแบ่งตลาด (Market Share)และขยายการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางทุกชนิด
นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังได้ ดำเนินการเร่งดำเนินการจัดตั้ง”ตลาดซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบจริงของยางพารา”โดยกยท. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ ซึ่งอยู่ระหว่างขั้นตอนการเสนอต่อ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต.พร้อมกันนั้นก็เร่งส่งเสริมการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยส่งเสริมการลงทุนโรงงานผลิตถุงมือยาง รวมทั้งผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ตอบโจทย์ความต้องการใหม่ในยุคนิวนอร์มอล จากผลกระทบของโควิด-19

รวมถึงการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อพัฒนาการผลิตการแปรรูปสินค้าและผลิตภัณฑ์ยางพาราโดยร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) ในงานด้านวิจัยและพัฒนาและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆเน้นเทคโนโลยีเมดอินไทยแลนด์(made in Thailand)
พร้อมทั้งร่วมมือกับภาคเอกชนเช่นสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยภายใต้คณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กรกอ.)ส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมยางพารา เช่น “โครงการ 1 กลุ่มจังหวัด 1 นิคมอุตสาหกรรม” และโครงการเกษตรแม่นยำ2ล้านไร่สู่ธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรยุคใหม่(Big Brothers)
รวมถึงข้อริเริ่มใหม่ๆเช่นโครงการ Rubber Valley ซึ่งเป็นโครงการการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช (suitability and development of the rubber industry in Nakhon Si Thammarat Province) ตามนโยบายของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (Southern Economic Corridor) ของรัฐบาลสู่การพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมยางพาราครบวงจร ครอบคลุมทั้งกิจกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มยางพาราทั้งระบบ
วิกฤตโควิด19เป็นปัญหาและโอกาสที่ท้าทายประเทศไทยซึ่งข้อมูลและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมต่อไปนี้คือคำตอบว่าเรามีศักยภาพมากแค่ไหนและเดิมพันก็สูงมากแต่ก็คุ้มค่าสำหรับอุตสาหกรรมยางพาราโดยเฉพาะน้ำยางข้น
ยางพาราโลกปี2563 ไทยเบอร์ 1
ผลผลิตยางพาราโลกปี2563มีปริมาณ 12.9 ล้านตัน
โดยประเทศไทยมีผลผลิตยางพารามากเป็นอันดับ 1 ของโลก ประมาณ 4.4 ล้านตัน หรือ 38.2%
รองลงมา ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม จีน มาเลเซีย และอินเดีย
เอเซียผลิตมากที่สุดในโลก
ภูมิภาคเอเชียเป็นแหล่งผลิตยางพารา 93% ของผลผลิตยางพาราทั่วโลก
โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอาเซียนเป็นแหล่งผลิตใหญ่ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และประเทศกลุ่ม CLMV (Cambodia, Laos, Myanmar, Vietnam)
ไทย:แชมป์โลกส่งออกน้ำยางข้นและยางแผ่นรมควัน
ปัจจุบันไทยเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ยางขั้นกลางของโลก โดยเฉพาะน้ำยางข้นและยางแผ่นรมควันส่งออกมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก
แนวโน้มการส่งออก
การส่งออกมีแนวโน้มขยายตัว 5.0-8.0% ต่อปี ตามการเติบโตของอุตสาหกรรมถุงมือยางและผลิตภัณฑ์ยางทางการแพทย์ต่างๆ
โดยตลาดหลักยังคงเป็นประเทศมาเลเซียซึ่งเป็นผู้นำเข้าน้ำยางข้นรายใหญ่ของไทย และเป็นผู้ผลิตถุงมือยางรายใหญ่ของโลก
ขณะที่ผู้ผลิตน้ำยางข้นยังมีโอกาสเติบโตต่อเนื่องตามทิศทางความต้องการของอุตสาหกรรมขั้นปลาย ได้แก่ ถุงมือยาง ผลิตภัณฑ์ยางทางการแพทย์ และถุงยางอนามัยในตลาดโลก ประกอบกับการผลิตน้ำยางข้นในตลาดโลกยังมีน้อยเนื่องจากกระบวนการผลิตส่วนใหญ่ยังเน้นผลิตเพียงยางก้อนถ้วยและเศษยาง ทำให้ภาวะการแข่งขันในการส่งออกน้ำยางข้นไม่รุนแรงนัก
จุดแข็งและโอกาสของน้ำยางพาราไทย

1.การผลิตน้ำยางสด92%
การผลิตน้ำยางสดมีสัดส่วนถึง 92% ของผลผลิตยางพาราทั้งหมดซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบผลิตผลิตภัณฑ์ยางขั้นกลางได้ทุกประเภท
ต่างจากมาเลเซียและอินโดนีเซียที่ส่วนใหญ่ผลิตยางก้อนถ้วยจึงเน้นผลิตยางแท่งเป็นหลัก
2.ศักยภาพน้ำยางข้นไทยอันดับ1ของโลก
อุตสาหกรรมน้ำยางข้นของไทยมีมูลค่าตลาดประมาณ 5 หมื่นล้านบาทในปี 2563 (มูลค่ารวมส่งออกและใช้ในประเทศ) โดยส่งออกในสัดส่วน 75.9% และไทยมีส่วนแบ่งตลาดสูงเป็นอันดับหนึ่งของโลกเกือบ 70% ของปริมาณการค้าน้ำยางข้นทั่วโลก
3.ตลาดใกล้กระจุกตัวแต่มีตลาดทั่วโลกรออยู่
ตลาดส่งออกหลักของไทยอยู่ใกล้บ้านในอาเซียนและเอเซียตะวันออกคือ มาเลเซียที่มีสัดส่วนถึงครึ่งหนึ่งของปริมาณส่งออกน้ำยางข้นทั้งหมด
รองลงมาเป็นจีน (33.5%) และเกาหลีใต้ (1.8%)
แต่ในอีกแง่หนึ่งคือการมีตลาดดั้งเดิมกระจุกใน3ประเทศแสดงว่ายังมีตลาดใหม่ในอีกกว่า100ประเทศรอเราอยู่
4.Covid โอกาสในวิกฤติ
จากวิกฤติโควิด19 ทำให้ความต้องการน้ำยางข้นเพิ่มขึ้นจากอุตสาหกรรมถุงมือยางและถุงยางอนามัย
สมาคมผู้ผลิตถุงมือยางมาเลเซีย
The Malaysian Rubber Glove Manufacturers Association (MARGMA) คาดการณ์ความต้องการถุงมือยางทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 662 พันล้านชิ้นในปี 2566 หรือเติบโตเฉลี่ย (CAGR) 23.1% ต่อปีในช่วงปี 2564-2566
สำหรับการพัฒนายางพาราไทย และการสร้างเสถียรภาพราคายางเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของประเทศสู่อนาคตที่ยั่งยืนได้วางกรอบเป็นแนวทางและกลยุทธ์ด้วยมุมมองและกลไกใหม่ๆเพื่อยกระดับอัพเกรดจากฐานศักยภาพเดิมดังนี้
6 แนวทางการพัฒนาน้ำยางพาราสู่ศักยภาพใหม่

  1. การพัฒนาการผลิตและผลิตภัณฑ์
  2. การพัฒนาเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
  3. การพัฒนากยท.สู่Global Player
  4. การพัฒนากลไกการค้า(Fair Trade)และเกษตรพันธสัญญาเพื่อเสถียรภาพราคาที่เป็นธรรม
  5. การส่งเสริมอุตสาหกรรมกลางน้ำและปลายน้ำ
  6. การสร้างหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์CLMV AEC RCEP
    พร้อมกับการวางระบบการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ด้วย 7 กลยุทธ์สู่ศักยภาพใหม่ยางพาราไทยได้แก่
    1.การยกระดับมาตรฐานGAP FSC GMP
    2.การประกันรายได้ชาวสวนยาง การนำระบบการประมูลออนไลน์และตลาดกลางซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบจริงมาเป็นกลไกใหม่ๆ
    3.การยกระดับด้วยAICและกยท.ด้วยการวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยี นวัตกรรมสู่การผลิตที่ดีมีมาตรฐานมีProductivityสูงและผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง
    4.กยท.และบริษัทของไทย เช่นศรีตรัง ต้องยกระดับอัพเกรดองค์กรและการบริหารจัดการทะยานสู่Global Player
    5.การพัฒนาวิสาหกิจยางพาราสู่SMEเกษตร
    6.ส่งเสริมเชิงรุกอุตสาหกรรมน้ำยางข้นทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคสถาบันเกษตรกร เช่นโครงการ Rubber Valley Rubber City SEC EEC
    7.สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่าง4แกนหลักได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคเกษตรกรและภาควิชาการ(ไม่ใช่ภาครัฐและภาคเอกชนเท่านั้นเหมือนในอดีต)แบบทวิภาคีและพหุภาคี แบบคู่ค้าและคู่ขา ไม่ใช่คู่แข่ง โมเดลWin-Win
    “เรากำลังสร้างการเปลี่ยนแปลงในทิศทางการลงทุนอุตสาหกรรมแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆตอบสนองตลาดยุคโควิดแทนการส่งออกน้ำยางข้นเพื่อสร้างรายได้เพิ่มตลอดห่วงโซ่อุปทานโดยเฉพาะชาวสวนยาง 1.83ล้านรายและอุตสาหกรรมต่อเนื่องบนฐานการเป็นประเทศผู้ส่งออกยางอันดับ1ของโลก”

(เป็นส่วนหนึ่งของคำปาฐกถาพิเศษของนายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการติดตามและเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาราคายางและรักษาเสถียรภาพราคายางในงานสัมมนา “น้ำยางคุณภาพดี สร้างสุข ปี 2”ในวันศุกร์ที่ 8ตุลาคม 2564)