พระท่ากระดาน พระยอดนิยม ของไทย

กว่า 500 ปีแล้วที่พระท่ากระดานถูกสร้างขึ้นด้วยเนื้อชิน
ตะกั่วในสมัยอู่ทองราวปี พ.ศ.1800 -2031 พุทธพิมพ์ของพระ
ท่ากระดานพอประมวลได้ว่าเป็นพระเครื่องปติมากรรมแบบ
นูนสูง

คือมีภาพด้านหน้าด้านเดียวเน้นส่วนนูนสูงและเว้าลึก
ส่วนด้านหลังแบนราบ พระประธานประทับนั่งปางมาวิชัย ขัด
ราบ พระพักตร์เคร่งขรึมน่าเกรงขาม สังฆาฏิหนาพาดยาวลง
มา ฐานสำเภา พระเนตร พระกรรณ พระนาสิก และพระโอษฐ์
ชัดเจน พระเกศยาวเหมือนพระอู่ทองหน้าแก่อันเป็นพุทธศิลป์
สมัยลพบุรี กาลเวลาผ่านไปทำให้เกิดเป็นสนิมแดงสนิมไข
พุทธคุณของพระท่ากระดานเป็นเลิศทั้งแคล้วคลาดและ
คงกระพันชาตรี ชมพ
ระท่ากระดานได้ที่ร้าน

อ.โกร่ง ศรีสวัสดิ์ ที่สุดของกรรมการตัดสิน พระท่ากระดาน กรุศรีสวัสดิ์ แห่งวงการพระเครื่องเมืองไทย
ตลาดพระเมืองทองเปิดบริการแล้ว

“อลงกรณ์-อรรถพร”ลุยเพชรบุรีแก้ปัญหาประชาชนนำทีมชลประทานพัฒนาคลองรับมือน้ำท่วม

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ
ร่วมด้วยนายอรรถพร พลบุตร คณะทำงานที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตร.และดร.ชิตชนก สมประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 14 พร้อมกำนันผู้ใหญ่บ้านนำเครื่องจักรกลหนัก รถขุดแขนยาว 4 คันของกรมชลประทานขุดลอกคลองสาย”ดี.25 “ช่วงตำบลบางแก้วถึงตำบลช่องสะแกในพื้นที่อำเภอบ้านแหลมและอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรีโดยลอกคลองกำจัดผักตบชวาเตรียมพร้อมรับมือน้ำหลากฤดูฝนนี้และเป็นคลองส่งน้ำ-กักเก็บน้ำยามฤดูแล้ง
นอกนี้ยังได้รับงบสนับสนุนเพิ่มเติมในการพัฒนาคลอง ดี.9สามารถระบายน้ำในกรณีน้ำท่วมได้ถึง100ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

นายอลงกรณ์กล่าวว่า กระทรวงเกษตรฯ.โดยกรมชลประทานพร้อมสนับสนุนจังหวัดเพชรบุรีในการพัฒนาคลองธรรมชาติทุกคลองและเร่งดำเนินการพัฒนาโครงการชลประทานในจังหวัดเพชรบุรีให้เสร็จสมบูรณ์เร็วที่สุด
ตามนโยบายของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งนี้จะแต่งตั้งคณะทำงานประสานงานการพัฒนาแหล่งน้ำและระบบชลประทานโดยมีนายอรรถพร พลบุตรเป็นประธาน

อธิบดี พช. เยี่ยมศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชนเมืองคอน, โรงเรียนกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านดอนคา

พร้อมมอบทุนอุปการะเด็กกองทุนพัฒนาเด็กชนบท

วันที่ 8 ตุลาคม 2564

นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิธร จันทมฤก ประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชน นายสุรศักดิ์ อักษรกุล รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นายชัยวัฒน์ แสงศรี ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน ผู้อำนวยการสำนัก/กอง ตลอดจนเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง เดินทางลงพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช

ตรวจเยี่ยมศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน บ้านควนเนียง หมู่ที่ 12 ตำบลนาไม้ไผ่ อำเภอทุ่งสง และตรวจเยี่ยมโรงเรียนกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านดอนคา อำเภอพรหมคีรี พร้อมมอบทุนอุปการะเด็ก กองทุนพัฒนแฉาเด็กชนบท จำนวน 30 ทุน โดยมี นายจรัญ อินทสระ พัฒนาการจังหวัดนครศรีธรรมราช พร้อมด้วย นายเกรียงศักดิ์ รักษ์ศรีทอง นายอำเภอพรหมคีรี คณะกรรมการโรงเรียนกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านดอนคา เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนตลอดจนผู้เกี่ยวข้อง ให้การต้อนรับ

นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ตรวจเยี่ยมศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน บ้านควนเนียง หมู่ที่ 12 ตำบลนาไม้ไผ่ อำเภอทุ่งสง พร้อมกล่าวว่า โครงการส่งเสริมการขับเคลื่อนการดำเนินงานผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2564 โดยจัดตั้งศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชนเพื่อเป็นสถานที่บ่มเพาะภาวะผู้นำ ทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน และการบริหารจัดการชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป็นศูนย์ประสานงานภาคีเครือข่ายจิตอาสาพัฒนาชุมชนระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคีการพัฒนาในพื้นที่ทั้ง 7 ภาคส่วน

โดยมีชุมชนเป็นศูนย์กลาง ด้วยการส่งเสริมผู้นำชุมชน กลุ่ม องค์กร เครือข่ายงานพัฒนาชุมชน ที่เป็นทุนทางสังคม ใช้พลังภูมิปัญญาให้เป็นพลังในการสร้างสรรค์งานพัฒนาชุมชน ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ รวมถึงการพัฒนาภาวะผู้นำ สร้างเสริมอุดมการณ์ทำงานเพื่อสาธารณะในรูปแบบผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อชุมชน มีบทบาทและมีส่วนร่วมในการพัฒนาและเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

จากนั้นนายสมคิด จันทมฤก ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโรงเรียนกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านดอนคา ซึ่งเป็นโรงเรียนให้การฝึกอบรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์ในเขตพื้นที่ภาคใต้ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2526 ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 16,250 คน มีทรัพย์สินหมุนเวียนประมาณ 213 ล้านบาท ลูกหนี้เงินกู้ 1,900 คน ลูกหนี้เงินกู้ 117 ล้านบาท มีการจัดสวัสดิการแก่สมาชิก ตั้งแต่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย และสงเคราะห์ คนพิการ ผู้สูงอายุ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จัดซื้อที่ดินให้ผู้ที่ไม่มีที่ดินทำกินและผู้ด้อยโอกาส จัดกิจกรรมสาธารณประโยชน์ และมีกิจกรรมเครือข่าย (การลงทุน) เช่น ศูนย์สาธิตการตลาด โรงแป้งขนมจีน โรงรับซื้อน้ำยาง และรมยาง โรงปุ๋ยชีวภาพ โรงน้ำดื่ม และการให้บริการสินเชื่อในการซื้อสินทรัพย์ให้กับสมาชิก นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานกองทุนชุมชน ที่มีผู้นำ กลุ่ม/องค์กร และหน่วยงานภาครัฐมาเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันโรงเรียนกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านดอนคา จังหวัดนครศรีธรรมราช รับผิดชอบการเรียนการสอนโดยมีกลุ่มเป้าหมายจำนวน 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานี ตรัง สงขลา กระบี่ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สตูล ภูเก็ต และจังหวัดพังงา โดยเปิดการฝึกอบรม 3 หลักสูตรคือ 1) การบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต 2) การบริหารจัดการบัญชีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต และ 3) การบริหารจัดการกิจกรรมเครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต พร้อมกล่าวเพิ่มเติมว่า กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตถือว่าเป็นงานหลักที่เป็นภาพลักษณ์หนึ่งของกรมการพัฒนาชุมชน เป็น DNA ของคน พช. ที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 ซึ่งในการเยี่ยมชมกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านดอนคาในวันนี้ รู้สึกดีใจและขอขอบคุณกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านดอนคาที่มีความเข้มแข็ง มีการบริหารจัดการที่ดี สามารถเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนและเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับชุมชนอย่างแท้จริง

  • ทั้งนี้ในการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโรงเรียนกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านดอนคา นายสมคิด จันทมฤก ได้มอบทุนอุปการะเด็ก กองทุนพัฒนาเด็กชนบท จำนวน 30 ทุน ๆ ละ 1,500 บาท

ซึ่งกรมการพัฒนาชุมชนได้เห็นถึงความสำคัญของเด็กก่อนวัยเรียนว่า เป็นวัยที่สำคัญและเหมาะสมในการปูพื้นฐาน เนื่องจากเป็นวัยที่ร่างกายและสมองเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว กรมการพัฒนาชุมชนได้จัดตั้งกองทุนพัฒนาเด็กชนบท เมื่อปี 2522 เพื่อเป็นกองทุนที่ให้ความช่วยเหลือเด็กก่อนวัยเรียนที่ครอบครัวยากจนและด้อยโอกาส ให้ได้รับการพัฒนาอย่างทั่วถึงและเหมาะสม และเมื่อปี 2536 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระมหากรุณารับกองทุนพัฒนาเด็กชนบทไว้ในพระราชูปถัมภ์ โดยกองทุนได้มีการจัดกิจกรรมเพื่อหารายได้สมทบกองทุนฯ เป็นประจำทุกปี และนำเงินกองทุนฯ ไปใช้ในการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กก่อนวัยเรียน อายุแรกเกิดถึง 6 ปี โดยได้มอบทุนช่วยเหลือเด็กเล็กที่ยากจนและด้อยโอกาสในชนบทตามวัตถุประสงค์ของกองทุน ซึ่งในสถานการณ์ในปัจจุบันประเทศ ต้องเผชิญกับวิกฤตทางเศรษฐกิจ และการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งกรมการพัฒนาชุมชนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เงินอุปการะเด็กที่มอบ ให้แก่เด็กทั้ง 30 ราย ในวันนี้ จะเกิดประโยชน์แก่เด็กตามเจตนารมณ์ของกองทุนฯ ต่อไป

ราชวิทยาลัย – วช.เปลี่ยน “หญิงชาวบ้านแม่มอก” อ.เถิน จ.ลำปาง เป็น “ต้นแบบชุมชนนักบริบาลผู้สูงอายุ” สร้างรายได้กว่า 6 ล้านบาทต่อปี

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุอยู่ราว ร้อยละ 18 ของจำนวนประชากร หรือ ราว 12 ล้านคน หน่วยงานภาครัฐ และภาควิจัย ได้เตรียมความพร้อมด้านนวัตกรรม เทคโนโลยี การวิจัย ครอบคลุมในหลายมิติ โดยเฉพาะเชิงสาธารณสุข ในการรับมือการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากร โดยเฉพาะสัดส่วนโครงสร้างผู้สูงอายุที่สูงขั้น เป็น ร้อยละ 20 ในปี พ.ศ.2565 ซึ่งโครงการ “เปลี่ยนเกษียณเป็นพลัง” ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

โดย วช. ได้ขับเคลื่อนวิจัยและนวัตกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อผู้สูงวัยมาอย่างต่อเนื่อง ตระหนักถึงกลุ่มผู้สูงวัย อายุ 60-70 ปี ที่ยังมีความรู้ความสามารถ ในการพัฒนาให้เป็นกำลังสำคัญของประเทศได้ โดยในปี พ.ศ. 2564-2565 จะมีผู้สูงวัยเข้าร่วมแผนและโครงการประมาณ 8-10 เรื่อง ราว 60,000 คน และก้าวสู่ 100,000 คน ในปี พ.ศ. 2566 ภายใต้ความร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร โดยผู้สูงวัยที่เข้าร่วมสามารถเป็นได้ทั้งผู้เรียน และผู้สอนในคราวเดียวกัน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้เพิ่ม และสานต่อความรู้ เป็น Platform ผู้สูงวัยที่เข้มแข็ง เช่นเดียวกับ แผนงานพัฒนาศักยภาพชุมชนต้นแบบสู่วิสากิจเพื่อสังคมด้านการบริบาลผู้สูงอายุ จนเกิดเป็น “แม่มอกโมเดล” ซึ่งเห็นได้ชัดจากความร่วมมือในครั้งนี้

ศ.พญ.จิรพร เหล่าธรรมทัศน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดเผยว่า ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยเรื่อง “แผนงานพัฒนาศักยภาพชุมชนต้นแบบ สู่วิสาหกิจชุมชนด้านการบริบาลผู้สูงอายุ” จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนต้นแบบสู่วิสาหกิจชุมชนด้านการบริบาลผู้สูงอายุแห่งแรกของประเทศไทย โดยบูรณาการความร่วมมือลักษณะสหสาขาวิชาการ ทั้งภาควิชาการ ภาครัฐ และภาคประชาสังคมในพื้นที่ รวม 22 หน่วยงาน ร่วมกันศึกษาและพัฒนา “ชุมชนนักบริบาลผู้สูงอายุต้นแบบ ต.แม่มอก อ.เถิน จ.ลำปาง” ที่เกิดจากการรวมกันของประชาชนในพื้นที่เป็นภาคประชาสังคมแบบไทย ๆ สร้างโอกาสด้วยการระดมทุนกันเองโดยไม่พึ่งรัฐ สร้างวิชาชีพ “นักบริบาลผู้สูงอายุ” ให้กับหญิงชาวบ้าน ลูกหลานชาวนาที่เป็นหญิงเฝ้าบ้าน ลูกหลานเฝ้ายายในพื้นที่ ให้มีอาชีพเสริมจากอาชีพเกษตรกรรม ภายใต้ชื่อ “ชมรมแม่มอกหลั่นล้าอีโคโนมี” จนได้รับความช่วยเหลือ จากคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี จัดฝึกอบรมหลักสูตร “การดูแลผู้สูงอายุ 80 และ 420 ชั่วโมง” มีผู้จบหลักสูตร 80 ชั่วโมง 90 คน จบหลักสูตร 420 ชั่วโมง 44 คน ออกให้บริการดูแลผู้สูงอายุทั้งในขณะเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาล ติดตามดูแลผู้สูงอายุที่บ้านทั้งแบบไป – กลับ และ แบบประจำรายเดือนควบคู่กับการเป็นจิตอาสาดูแลผู้สูงอายุในชุมชน พัฒนาสู่การเป็น “วิสาหกิจชุมชนด้านการบริบาลผู้สูงอายุ” ผลิตเทคโนโลยีบริหารจัดการผ่านแอปพลิเคชันมือถือ และพัฒนารูปแบบบริการให้ตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ ภายใต้แนวคิดการสร้างคุณค่าร่วม พร้อมทั้งพัฒนาบ้านนักบริบาลผู้สูงอายุในพื้นที่สู่การเป็น สถานประกอบการด้านการบริการดูแลผู้สูงอายุ ต้นแบบ ที่ได้มาตรฐานตามกรมสนับสนุนบริการสุขภาพกำหนด พัฒนาระบบจัดการหลักสูตรดูแลผู้สูงอายุ สำหรับนักบริบาลแบบผสมผสาน เพื่อให้เกิดความสะดวกในการเข้าถึงองค์ความรู้ด้านการบริบาลผู้สูงอายุในยุควิถีใหม่ เป็นคู่มือปฏิบัติงานของนักบริบาลและหน่วยงานที่สนใจพัฒนาวิชาชีพให้กับสมาชิกในชุมชนอย่างกว้างขวางต่อไป

ศ.พญ.จิรพร กล่าวต่อว่า ผลการวิจัย ได้สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจ ต่อระดับรายได้ที่เพิ่มขึ้นของนักบริบาลผู้สูงอายุและวิสาหกิจชุมชน อย่างชัดเจน กล่าวคือ นักบริบาลผู้สูงอายุมีรายได้รวมกันต่อปี จาก 843,000 บาทในปี 2561 เป็น 3,372,000 ในปี 2562 เป็น 4,215,000 บาท ใน ปี 2563 และ 6,323,272 บาท ในปี 2564 วิสาหกิจชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากปี 2561 ในช่วง 3 เดือนแรกของการออกให้บริการของนักบริบาล 42,150 บาท เป็น 168,600 บาท ในปี 2562 และ 190,195 บาท ในปี 2563 จนมีรายได้ 524,000 บาท ในปี 2564 โดยไม่ต้องพึ่งพารัฐ และจากการคำนวณผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนในการผลิตนักบริบาลดูแลผู้สูงอายุ พบว่ามีค่าเท่ากับ 5.83 หมายความว่า ในการลงทุนผลิตนักบริบาล 1 บาท จะได้รับผลตอบแทนกลับมารวมเป็นมูลค่าเท่ากับ 5.83 บาท ชี้ให้เห็นว่า กิจกรรมเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ที่ทางโครงการได้ริเริ่มดำเนินการมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจและสังคมฐานรากสู่เศรษฐกิจชาติที่เข้มแข็ง สามารถ “ถมหลุมแห่งความเหลื่อมล้ำ” ทั้งเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน

“แผนการวิจัย การพัฒนาศักยภาพชุมชนต้นแบบสู่วิสาหกิจชุมชน ด้านการบริบาลผู้สูงอายุ” ยังได้สร้าง “ชุมชนนักวิจัย” ที่สะท้อนถึงความเข้มแข็งของภาคประชาชน ภาคประชาสังคมของไทย ที่ประชาชนในพื้นที่เป้าหมายก็สามารถพัฒนาเป็นนักวิจัยร่วมตลอดกระบวนการวิจัยร่วมกับภาควิชาการ ภาครัฐได้ เป็นการพัฒนาให้เป็นชุมชนต้นแบบด้านวิสาหกิจชุมชนนักบริบาลผู้สูงอายุของประเทศ เป็นนวัตกรรมสังคมที่พัฒนาศักยภาพทรัพยากรบุคคลและมาตรการทางสังคมสู่ทางเลือกในการรองรับสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ของประเทศ ที่สามารถขยายองค์ความรู้และนวัตกรรมที่เกิดจากผลการวิจัยสู่ชุมชน สู่องค์กร สู่พื้นที่สาธารณะอื่นๆ รวมถึงให้ภาควิชาการได้เกิดกระบวนการคิดต่อ วิจัยเพื่อพัฒนาต่อยอด “สร้างความมีสุขภาพดี และคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน สร้างประโยชน์ต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน” ศ.พญ.จิรพร กล่าว

ที่ปรึกษาส่วนตัว สมเด็จอัครมหาเสนาบดี เดโช ฮุนเซ็น พบผู้ว่าการกีฬาแห่งประเทศไทย

เพื่อสร้างเสริม เติมความพร้อมในเอเชี่ยนเกมส์ที่กัมพูชา

Dr. Sok Sokrethya ที่ปรึกษาส่วนตัว สมเด็จอัครมหาเสนาบดี เดโช ฮุนเซ็น นายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรกัมพูชา ผู้แทนรัฐบาลกัมพูชา และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา และรศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา พร้อมคณะที่ปรึกษา

ได้เข้าพบ ดร. ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการกีฬาแห่งประเทศไทย ท่านผู้ว่าฯ อาทิ วิษณุ ไล่ชะพิษ รองผู้ว่าฝ่ายบริหารพร้อมคณะผู้บริหารการกีฬาแห่งประเทศไทย

บรรยากาศการต้อนรับอบอุ่น ได้นำเสนอ วีดีทัศน์ถึงการพัฒนาการกีฬาไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน โดยตั้งเป้าหมายให้ได้เหรียญทองโอลิมปิกในอีกสามปี ของการเข้าร่วมการแข่งขันที่ประเทศฝรั่งเศส และเพื่อเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างรัฐบาลกัมพูชากับตัวแทนของภาคประชาสังคมไทย ด้านกีฬาประเภทต่าง รวมทั้งการเชิญเข้าร่วมการพัฒนาผู้บริหารด้านการกีฬาทั้งระดับกลางและระดับสูงให้เจริญมั่นคงยิ่งขึ้น

Dr. Sok Sokrethya ได้กล่าวชื่นชมถึงความก้าวหน้าของการพัฒนาด้านการกีฬาของไทยและปรารถนาที่จะขอความร่วมมือในการพัฒนาด้านการกีฬา โดยเฉพาะลู่จักรยานเพื่อการพัฒนากีฬาจักรยานที่ปัจจุบัน การขับขี่จักรยานเป็นที่แพร่หลายมากในประเทศกัมพูชา แต่ยังขาดเทคโนโลยีที่ถูกต้อง

Dr. Sok Sokrethya มีความตั้งใจที่พัฒนาการกีฬาเพื่อการท่องเที่ยว โดยจะสร้างลู่ขี่จักรยานที่ได้มาตรฐานขึ้นที่ Seam Reap เพื่อสร้างแรงจูงใจอันดีระหว่างนักกีฬาและท่องเที่ยว และยังกล่าวอีกว่า ประเทศกัมพูชาจะเป็นเจ้าภาพในการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ในอีกสองปีข้างหน้า จำเป็นที่จะต้องพัฒนานักกีฬาอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น

ทั้งนี้ ท่านผู้ว่าการกีฬาแห่งประเทศไทย ดร. ก้องศักด ยอดมณี ยินดีให้ความร่วมมือในเรื่องนี้ เพราะประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา ถือเป็นประเทศที่มีวัฒนาธรรมและความสัมพันธ์อย่างยาวนาน

“ร่างทรง (The Medium)” ภาพยนตร์สยองขวัญเหนือธรรมชาติ โปรเจ็กต์ยักษ์ร่วมทุนสร้างระหว่างไทย-เกาหลี

ผู้คนกำลังชมภาพยนตร์เรื่อง ร่างทรง ใน Lotte Cinema Konkuk University Entrance โดยเปิดไฟสว่างตลอดการฉาย ขอบคุณที่มา Kim Ji Hye

“ร่างทรง” ภาพยนตร์สยองขวัญมาแรง เพิ่งออกฉายที่เกาหลี สามารถทำรายขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง หลอนเขย่าขวัญขั้นสุด ถึงกับต้องเปิดไฟดู!

มาแรงแซงทางโค้งสุด ๆ สำหรับ “ร่างทรง (The Medium)” ภาพยนตร์สยองขวัญเหนือธรรมชาติ โปรเจ็กต์ยักษ์ร่วมทุนสร้างระหว่างไทย-เกาหลี ที่ได้ผู้กำกับมากฝีมืออย่าง “โต้ง บรรจง ปิสัญธนะกูล” และอำนวยการสร้างโดย “นา ฮง-จิน” ผู้กำกับหนังสยองขวัญชื่อดังของเกาหลี นำเสนอเรื่องราวของ ความเชื่อ ความลึกลับ เกี่ยวกับร่างทรงที่อยู่ในสังคมภาคอีสานของไทย

14 ก.ค ที่ผ่านมา หลังจากเปิดฉายที่ประเทศเกาหลีเป็นวันแรก “ร่างทรง” ก็ได้รับกระแสตอบกลับอย่างล้นหลาม สามารถไต่ขึ้นไปถึงอันดับหนึ่ง เป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดในรอบวัน ซึ่งกวาดเงินไปกว่า 1.1 ล้านดอลลาร์ หรือราว 36.4 ล้านบาท แซงหน้า “Black Widow” ไปได้

ผู้คนต่างพากันส่งต่อถึงความน่ากลัว ลือกันว่าเป็น “ภาพยนตร์สยองขวัญขั้นสุด” สร้างความหลอนเขย่าประสาทสุดขีด ถึงขนาดที่ว่าโรงภาพยนตร์บางแห่งต้องจัดรอบฉายพิเศษ เปิดไฟให้สว่างได้ตลอดการฉาย พร้อมกับแจกที่อุดหูป้องกัน ในขณะที่ผู้ชมบางคนปิดตาไปตลอดทั้งเรื่องเลยก็มี!

วช.-ซินโครตรอน-มูลนิธิธรรมิกชน ใช้ “แสงซินโครตรอน”ผลิตอักษรเบรลล์”ช่วยผู้พิการสายตา

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) และมูลนิธิธรรมิกชน พัฒนาอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวก (Assistive Technology) สำหรับผู้พิการทางสายตา โดยใช้เทคโนโลยีแสงซินโครตรอน ผลิตเครื่องแสดงผลอักษรเบรลล์ เสริมสร้างการดำรงชีวิตของผู้พิการทางสายตา

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ภาครัฐได้ส่งเสริมสวัสดิการแก่ผู้พิการและผู้สูงอายุในหลายภาคส่วน ภายใต้การนำชุดข้อมูลจากการวิจัยมาใช้สนับสนุน ที่ผ่านมา วช. และหน่วยงานพันธมิตร ได้ร่วมกันจดบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อให้เกิดการกำหนดนโยบาย วางแผนการพัฒนางานวิจัย นวัตกรรมและเทคโนโลยีสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ ส่งเสริมและสนับสนุนให้คนพิการและผู้อายุให้ได้รับการบริการด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยการนำองค์ความรู้ต่าง ๆ ขับเคลื่อนผลงานวิจัย นวัตกรรมและเทคโนโลยี ขยายผลสู่กลุ่มเป้าหมาย ให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ ลดภาระงานของหน่วยงานรัฐ เพื่อดูแลและส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้พิการและผู้สูงอายุให้มีประสิทธิภาพได้ต่อไป

ดร.รุ่งเรือง พัฒนากุล สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า ได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาเครื่องแสดงผลอักษรเบรลล์เพื่อผู้พิการทางสายตาด้วยเทคโนโลยีชิ้นส่วนจุลภาค” จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) เนื่องจาก ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้พิการทางสายตามากกว่า 2 แสนคนที่ต้องดำรงชีวิตอยู่ในสถาวะการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่รวดเร็ว และการระบาดของโควิด-19 จึงต้องใช้เครื่องมือสื่อสารเข้ามาช่วยดำรงชีวิตที่มีความเสี่ยง ไม่เพียงแค่การเดินทาง แต่ยังมีโอกาสในการรับเชื้อต่าง ๆ เพิ่มขึ้น เครื่องมือในปัจจุบันนอกจากสมาร์ทโฟนที่ใช้เสียงในการสื่อสารแล้ว ยังมีเครื่องแสดงผลอักษรเบรลล์ที่ใช้การรับส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์มาแสดงเป็นข้อความอักษรเบรลล์ เพื่ออ่านผ่านการสัมผัสที่ปลายนิ้ว โดยอักษรเบรลล์ถือได้ว่าเป็นหัวใจหลักในการดำรงชีวิตของผู้พิการทางสายตา ไม่เพียงแค่ให้สามารถอ่านหนังสือหรือข้อมูลตามสถานที่ต่าง ๆ ได้เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการบันทึกองค์ความรู้และเรื่องราวต่าง ๆ ที่ได้ประสบมาในชีวิต

ดร.รุ่งเรือง กล่าวต่อว่า ผู้พิการทางสายตาส่วนมากมีฐานะยากจน ไม่สามารถซื้อเครื่องแสดงผลอักษรเบรลล์ที่มีราคาหลายหมื่นบาทมาใช้งานได้ จึงเกิดเป็นอุปสรรคในการเข้าถึงความรู้และข้อมูลข่าวสารในยุคปัจจุบัน คณะวิจัยโดยสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ร่วมกับสำนักหอสมุดเบญญาลัย มูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และ วช. จึงได้เริ่มโครงการพัฒนาอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวก (Assistive Technology) สำหรับผู้พิการทางสายตาโดยการใช้เทคโนโลยีแสงซินโครตรอนเข้ามาร่วมในการผลิตชิ้นส่วนและกลไกขนาดเล็กเพื่อผลิตเครื่องแสดงผลอักษรเบรลล์ที่รองรับการส่งผ่านข้อมูลจากอุปกรณ์ต่างๆ โดยภายในเซลล์แสดงผลอักษรเบรลล์มีโครงสร้างขนาดเล็กระดับไมโครเมตรถึงมิลลิเมตรที่ถูกควบคุมด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อให้สามารถบังคับการเคลื่อนที่ของจุดแสดงผลอักษรเบรลล์ได้อย่างอิสระ โดยอักษรเบรลล์ 1 ตัวจะประกอบไปด้วย 6-8 จุดซึ่งในสภาวะปกติจุดทั้งหมดจะถูกซ่อนอยู่ภายใน แต่เมื่อได้รับข้อมูลจากหน่วยประมวลผลจะทำการแปลงข้อความเป็นรหัสเบรลล์เพื่อสั่งการให้จุดในแต่ละตำแหน่งเคลื่อนที่ขึ้นเพื่อแสดงข้อความและเคลื่อนที่ขึ้นใหม่อีกครั้งตามตำแหน่งของตัวอักษรเบรลล์ต่อไป ดังนั้นการอ่านข้อความด้วยเครื่องแสดงผลอักษรเบรลล์จึงสามารถทำได้อย่างไม่สิ้นสุด ในปัจจุบันต้นแบบเซลล์แสดงผลอักษรเบรลล์นี้มีแผนการพัฒนาให้นำมาเชื่อมต่อกันเป็นแถวอักษรเบรลล์มากกว่า 10 เซลล์ซึ่งจะช่วยให้ผู้พิการทางสายตาอ่านข้อความที่ยาวขึ้นและต่อเนื่องเหมือนอ่านบนหนังสือเบรลล์

“เฉลิมชัย”เร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร เปิดตัวแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะ ปี 2565 – 2566 สั่งทุกหน่วยงานเดินหน้าเต็มสูบ

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังมอบนโยบายและเปิดตัวแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะ ปี พ.ศ. 2565 – 2566 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผ่านระบบการประชุมทางไกล (zoom meeting) จากห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า จากนโยบาย Thailand 4.0 และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของรัฐบาล ได้กำหนดให้มีแผนแม่บทด้านการเกษตรและแผนย่อยเกษตรอัจฉริยะ ภายใต้ยุทธศาสตร์ด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ มีนโยบายการขับเคลื่อนงานด้านเกษตรอัจฉริยะ ที่มุ่งหวังยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดีขึ้น ด้วยการนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนกระบวนการผลิตสินค้าเกษตร ปรับรูปแบบการเกษตรในปัจจุบันให้มุ่งสู่เกษตร 4.0 โดยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาสู่การเกษตรอัจฉริยะแห่งอนาคต มีเป้าหมายสำคัญที่มุ่งเน้นให้เกิดการทำเกษตรแบบทำน้อยได้มาก ใช้ทรัพยากรในการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีการลดต้นทุน ลดการสูญเสีย เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้มากขึ้น ลดความเหนื่อยยากของการใช้แรงงานในภาคการเกษตร มีการนำเอาเครื่องมือจักรกลและเครื่องมือทันสมัย โดยเฉพาะการนำเกษตรดิจิทัลมาใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตและการแข่งขันของภาคการเกษตรไทยในตลาดโลก
     สำหรับแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะที่จัดทำขึ้นนี้ จะเป็นแผนปฏิบัติการที่ช่วยกำหนดทิศทางการเกษตรอัจฉริยะและเป็นการวางรากฐานการเกษตรอัจฉริยะของประเทศอย่างเป็นระบบ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกร สามารถนำกรอบข้อเสนอโครงการที่จัดทำไว้ ภายใต้แผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะฉบับนี้ไปปรับใช้เป็นข้อเสนอโครงการในหน่วยงาน เพื่อขับเคลื่อนการเกษตรอัจฉริยะของประเทศ นอกจากนี้ ยังเร่งพัฒนาบุคลากรในหน่วยงาน ทั้งส่วนกลางและภูมิภาคให้มีความพร้อมทั้งด้านวิจัยและพัฒนาเกษตรอัจฉริยะ รวมถึงการส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่รัฐและเกษตรกร สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และช่วยเป็นครูผู้ฝึกหรือเทรนเนอร์ ให้แก่เกษตรกร โดยมุ่งเน้นทั้ง Smart Farmer และ Young Smart Farmer ตลอดจนผู้นำเกษตรกรของ ศพก. และแปลงใหญ่ ทั้งนี้ มุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาแปลงใหญ่เกษตรอัจฉริยะให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมในทุก ๆ จังหวัดของประเทศ และให้เข้าถึงทุกอำเภอภายใน 3 ปี เพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติด้านการเกษตรต่อไป
     นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 กล่าวว่า ภายใต้นโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน) ได้ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนภาคการเกษตรของประเทศไทย ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 ขึ้น มีองค์ประกอบอนุกรรมการ 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน Big Data และ Gov Tech 2) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ 3) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน E-commerce และ 4) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนธุรกิจเกษตร เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร โดยอาศัยเทคโนโลยี นวัตกรรม และการตลาด เข้ามาช่วยขับเคลื่อนดำเนินการมุ่งสู่เกษตร 4.0
สำหรับแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะปี 2565 – 2566 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดทำโดย

คณะอนุกรรมการเกษตรอัจฉริยะ ซึ่งมีดร.วราภรณ์พรหมพจน์เป็นประธานประกอบด้วย 6 ยุทธสาสตร์ 18 แผนงาน 63 โครงการ จะเป็นคานงัดและเป็นจุดเปลี่ยนสําคัญในการปฎิรูปภาคการเกษตรตามนโยบายเทคโนโลยีเกษตร4.0ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน
        ด้าน ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สานต่อการทำงานด้านเกษตรอัจฉริยะของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อาทิเช่น การขับเคลื่อนการจัดทำแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ การพัฒนา IoTs Platform การรวบรวม Innovation list ด้านเทคโนโลยี/องค์ความรู้ จากศูนย์ AIC 76 แห่งทั่วประเทศ เพื่อจัดทำ Innovation Catalog และหนึ่งในภารกิจสำคัญ คือ การจัดทำแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี พ.ศ. 2565 – 2566 โดยกระทรวงเกษตรฯ ร่วมกับผู้แทนของหน่วยงานภายนอกกว่า 200 คน ทั้งจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ศูนย์ AIC ศูนย์เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร Smart Farmer และ Young Smart Farmer ร่วมระดมสมองในการจัดทำแผนปฏิบัติการและร่วมจัดทำกรอบข้อเสนอโครงการ ปี พ.ศ. 2565 – 2566 ภายใต้ 6 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ 1 การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างการรับรู้ เข้าถึง ใช้ประโยชน์ และการส่งเสริมขยายผลเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ แปลงใหญ่เกษตรอัจฉริยะ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาการแปรรูปและการตลาดเกษตรอัจฉริยะ ยุทธศาสตร์ที่ 5 การส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการบริหารจัดการเกษตรอัจฉริยะ และ ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาบุคลากรและเครือข่ายเกษตรอัจฉริยะ “กระทรวงเกษตรฯ พร้อมขานรับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมผลักดันให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยจะมีการติดตามการขับเคลื่อนการดำเนินงานผ่านคณะกรรมการบริหารการขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญ และการแก้ไขภาคการเกษตร” ดร.ทองเปลว กล่าว

‘โมโนฟิล์ม’เตรียมพาไปบู๊ระห่ำกับ‘Shock Wave2

คนคมถล่มนิวเคลียร์’2 นำโดย‘หลิวเต๋อหัว’

รับประกันความมันส์! แบบยกเครื่องทั้งเนื้อเรื่องและตัวละครด้วยการเปิดตัวอันดับ1 ทั้งในจีนและฮ่องกง ผลงานการกำกับความวอดวายสุดเข้มข้นของ เฮอร์แมน เหยา นำทีมถ่ายทำฉากระเบิดเพื่อความยิ่งใหญ่สมจริงถึงกลางเกาะฮ่องกง ทุ่มทุนสร้างกว่า40 ล้านเหรียญฯ 

     นำทีมกู้ระเบิดครั้งนี้โดย หลิวเต๋อหัว, หลิวชิงหวิน, หนีหนี่ มาร่วมหาทางรอดกับโคตรภารกิจที่มีเพียงเขาคนเดียวเท่านั้นที่จะหยุดนิวเคลียร์ได้ใน Shock Wave2 คนคมถล่มนิวเคลียร์ เร็วๆนี้ในโรงภาพยนตร์!

“ซัตตัน”ยกชาลาห์เหนือโด้-เมสซี

ภาพจาก นสพ.ไทยรัฐ

ควิส ซัตตัน อดีตกองหน้าทีมชาติอังกฤษและ
แบล็กเบิร์น โรเวอร์ ได้ออกมายก โมฮาเหม็ด ชาลาห์กองหน้าตัวเก่งของลิเวอร์พูลขึ้นชั้นเป็นนักเตะที่ดีที่สุดโลกไปแล้ว

ในเวลานี้เหนือกว่าทั้งลิโอเนล เมลซี กองหน้าทีมชาติอาร์เจนติน่า และคริสเตียโน โรนัลโด กองหน้าวัย 36 ปีของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ไปแล้ว เขาทำงานได้อย่างยอดเยื่ยมซัดประตูที่ 9 ในฤดูกาลนี้ด้วยลีลาเลี้ยงผ่าน 3 ผู้เล่น แมนซิตี้ กระซากเข้าไปยิงประตูอย่างเหนือชั้น ในเกมที่ ลิเวอร์พูล เสมอ แมนซิตี้ 2-2 สถิติตัวเลขของเขาสุดยอดมาก ตลอดหลายฤดูกาลที่ผ่านมา การทำได้อย่างสม่ำเสมอคือสิ่งที่ทุกคนในวงการลูกหนังตามหา เขาก็ทำได้ตลอด ส่วนคนอื่นผลงานขึ้นๆลงๆ และเวลานี้ ลิเวอร์พูลก็ยังไม่เซ็นสัญญาใหม่กับเขา โมฮาเหม็ด ชาลาห์ วันแดงเดือด ช่อง PPTV ถ่ายทอดสดให้ชม