บริษัท บี.เค.เค ซิกเนเจอร์ จำกัด ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เห็นความสำคัญของการพัฒนาวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนพืชกระท่อม

โดยมีเป้าหมายเพื่อการวิจัยในการพัฒนาคุณภาพสารสกัดจากพืชกระท่อม จึงได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนพืชกระท่อม

แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จึงได้จัดงานการประชุมผ่านทางออนไลน์
โดยมีนายโกศล ตาลทอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท บี.เค.เค ซิกเนเจอร์ จำกัด และ ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทน อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ร่วมเป็นประธานในพิธีลงนาม

ฝ่ายบริษัท บี.เค.เค ซิกเนเจอร์ จำกัด
นายโกศล ตาลทอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท บี.เค.เค ซิกเนเจอร์ จำกัด
นางสาวปภากร ลีศิริชัยกุล กรรมการอาวุฒิโส บริษัท บี.เค.เค ซิกเนเจอร์ จำกัด
นายสัตวแพทย์อนันต์ ฤกษ์ดีปศุสัตว์พื้นที่ 3 ปฏิบัติราชการในส่วนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ฝ่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทน อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ดร.นรา พงษ์พานิช ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา

ตัวแทนจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด(ป.ป.ส.)
นายวีระพล ใจจันทร์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการ ส่วนเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

ต้องยอมรับว่ายุคปัจจุบันที่ทุกอย่างขับเคลื่อนด้วยธุรกิจออนไลน์ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ายุคนี้ตลาดเดลิเวอรี่กำลังมาแรงมาก

อยากได้อะไร อยากกินอะไร ไม่ว่าจะขนม อาหาร เครื่องดื่ม แค่กดสั่งผ่านแอปพลิเคชั่น รอแป้บเดียวก็มีบริการส่งถึงที่หน้าบ้าน

“ครัวมาดาม” จับเครื่องมือสร้าง Viral คอนเทนต์ร้านอาหาร Delivery มาพร้อมFood Packaging กระตุ้นลูกค้า! การใช้สื่อออนไลน์และปรับตัวกับการขายเพื่อเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น

ซึ่งความพิเศษของ “ครัวมาดาม” ร้านอาหารปักษ์ใต้ เจ้าของคอนเซ็ปต์ “ใต้กลางเมือง ของหรอยจากเมืองโนราห์ “ ร้านตั้งอยู่ย่านสุขุมวิทซอย11 ใจกลางเมืองที่เคยเป็นแหล่งธุรกิจที่ปัจจุบันเจอวิกฤตโควิดจนไม่เหลือนักท่องเทียวให้เห็น

วันนี้” ครัวมาดาม” ปรับกลยุทธ์จุดเจ๋ง “เดลิเวอรี่อาหารพร้อมแพ็คเกจบรรจุอาหารแบบปิ่นโต “ สั่งแบบครั้งเดียวก็รับปิ่นโตไปเลย นอกจากความอร่อยรสชาดอาหารถูกปากของอาหารปักษ์ใต้แท้ๆที่ว่าเด็ด นั่นคือ “Pinto Packaging” “แพ็คเกจปิ่นโตบรรจุอาหารที่สร้างความเซอร์ไพรส์เหมือนตอนแกะห่อของขวัญ ตอบโจทย์การใช้งาน มาถึงก็พร้อมทานเลย ไม่ต้องมานั่งเตรียมอุปกรณ์ให้เสียเวลา และถ่ายรูปเก๋ๆ ลงโซเชียลไลฟสไตล์ แถมยังสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่

“ครัวมาดามส่งต่ออาหารใต้รสชาดอร่อยๆ พร้อมปิ่นโตไว้ให้คุณลูกค้าได้เป็นเจ้าของโดยไม่จำเป็นต้องผูกปิ่นโตกับทางร้าน หรือหากติดใจในรสชาดอาหารทางร้านยินดีส่งมอบส่วนลดให้มากถึง25% สำหรับการสั่งอาหารครั้งต่อไป”

📍 ครัวมาดาม
Madam Kitchen By Ava Restaurant
เลขที่ 25/3 สุขุมวิทซอย11 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม 10110
📣เวลาให้บริการ Delivery 11.00 น – 20.00น.
📣ช่องทางติดต่อ Delivery
FB : Madam Kitchen By Ava Restaurant
IG : madamkitchenbyava
Call : 0818175719 / 06-2886-1289 / 02- 6512989

แห่ชุมนุม

ภาพจาก นสพ.ไทยรัฐ

แห่ชุมนุม-ชาวคิวบาหลายพันคนรามตัวเดินขบวนในกรุงฮาวานาแสดงความไม่พอไจต่อปัญหาได้รับผลกระทบอย่างหนักจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ซึ่งการประท้วงในคิวบา เป็นเรื่องที่เกิดขี้นไม่บ่อยนัก ขณะที่รัฐบาลกล่าวโทษว่าสหรัฐฯเป็นตัวการให้เกิดความไม่สงบ ภาพ (เอเอฟพี)

กอ.รมน. ร่วมกับกองทัพบกจัดโครงการคนไทยไม่ทิ้งกัน

ทบ. และ กอ.รมน.
พาคนกลับบ้าน เพื่อสนับสนุนรัฐบาลลดภาระ ระบบสาธารณสุขในพื้นที่กรุงเทพฯ
และปริมณฑล

    (๑๒ ก.ค. ๖๔) พล.ต.ธนาธิป สว่างแสง โฆษก กอ.รมน. เปิดเผยว่าจากสถานการณ์ปัจจุบันการแพร่ระบาดของโรคโควิค – 19 ในประเทศไทยมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเกิดการกลายพันธุ์ของเชื้อทำให้ติดเชื้อโดยง่าย ส่งผลให้มี   ผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเป็นจำนวนมากและมีแนวโน้มสูงขึ้น ทำให้รัฐบาลต้องยกระดับโดยกำหนดมาตรการที่มุ่งลดและจำกัดการเคลื่อนย้ายการเดินทางของบุคคลเพื่อลดการติดต่อการสัมผัสระหว่างกัน จำกัดการเดินทางออกจากบ้านลดการเดินทางโดยไม่จำเป็นและไปในพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดภาวะวิกฤตด้านสาธารณสุขโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล
พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ได้ให้ความสำคัญต่อการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิค – 19 ตามนโยบายของรัฐบาล     ทุกช่องทางโดยเฉพาะการสนับสนุนการบริหารจัดการด้านระบบสาธารณสุขเพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยมอบให้ กอ.รมน. ได้บูรณาการร่วมกับกองทัพบก ตาม “โครงการคนไทยไม่ทิ้งกัน ทบ. และ กอ.รมน. พาคนกลับบ้าน” จัดกำลังพลและยานพาหนะรับผู้ป่วยโควิด – 19 ที่ไม่มีอาการหรืออาการเล็กน้อยที่ไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง (ผู้ป่วยสีเขียว) กลับภูมิลำเนา
สำหรับการดำเนินการส่งผู้ป่วยกลับไปรักษายังภูมิลำเนาในครั้งนี้เป็นโครงการนำร่อง กอ.รมน.           โดย กอ.รมน.ภาค๓ ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก, โรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และ      กอ.รมน.จังหวัดพิษณุโลก จัด “โครงการพาคนพิษณุโลกกลับบ้าน” โดยจัดรถบัส(ไม่ติดแอร์) เคลื่อนย้ายผู้ป่วยฯ    จากพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล กลับไปยังจังหวัดพิษณุโลก โดยมีแนวทางปฏิบัติต่อผู้ป่วยแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม ได้แก่   กลุ่มที่๑ (ผู้ติดเชื้อและมีผลการตรวจยืนยันว่าติดเชื้อฯ) และกลุ่มที่ ๒ (ผู้ที่มีอาการ แต่ไม่มีผลการตรวจยืนยัน) ในการ เคลื่อนย้ายกลุ่มที่ ๑ กำหนดเดินทางในวันเสาร์ที่ ๑๐ ก.ค. ๖๔ จำนวน ๓๐ คน และกลุ่มที่ ๒ กำหนดเดินทางในวันจันทร์ที่ ๑๒ ก.ค. ๖๔ จำนวน ๑๐๐ คน (ที่ติดค้างอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยไม่สามารถเดินทางกลับภูมิลำเนาได้ด้วยตนเอง) และเมื่อถึงจังหวัดพิษณุโลกจะมีศูนย์คัดกรองและจัดกลุ่มผู้ป่วย (Triage Center) เข้าดำเนินการคัดกรองเพื่อเข้าระบบรักษาภายในโรงพยาบาลต่อไป ทั้งนี้การดำเนินการเคลื่อนย้ายได้ปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขที่กำหนดอย่างเคร่งครัด
กอ.รมน. ใคร่ขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนให้ปฏิบัติตามแนวทางของ ศบค. และยังคงต้องยึดถือปฏิบัติตามมาตรการป้องกันส่วนบุคคลของ สธ. (D-M-H-T-T-A) ได้แก่ D - Distancing : อยู่ห่างไว้ M - Mask wearing :     ใส่แมสก์กัน H - Hand wash : หมั่นล้างมือ T - Testing : ตรวจวัดอุณหภูมิ A – Application : หมอชนะ, ไทยชนะ และขอส่งกำลังใจไปยังประชาชนทุกคนให้ผ่านพ้นวิกฤตที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน
                                    ๑๒ ก.ค. ๖๔

วช. ต่อยอด “รถยนต์สามล้อไฟฟ้าสำหรับผู้สูงอายุและคนพิการทางการเคลื่อนไหว”

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นวงกว้าง ครอบคลุม
ทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัย รวมทั้งกลุ่มเปราะบาง และกลุ่ม ‘คนพิการ’ จากการสำรวจความพิการและทุพพลภาพของประเทศไทยที่ผ่านมา พบว่า สัดส่วนคนพิการในประเทศไทย ภาพรวมไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่ก็ยังพบความเหลื่อมล้ำในกลุ่มคนพิการในหลาย ๆ ด้าน โดยปัจจัยกำหนดสุขภาพทางสังคม เช่น การศึกษา การประกอบอาชีพ รายได้ การดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลในทางลบต่อสุขภาพของคนพิการ จากปัญหาดังกล่าว สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
จึงสนับสนุนทุนวิจัยให้ รองศาสตราจารย์ ดร.ดอน อิศรากร อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมการจัดและควบคุม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คิดค้น “รถยนต์สามล้อไฟฟ้าสำหรับผู้สูงอายุและคนพิการทางการเคลื่อนไหว” ที่เป็นนวัตกรรมจากการนำเทคโนโลยีมาสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับคนพิการ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ให้ทำงานได้เหมือนคนปกติ จนเป็นผลสำเร็จ
ดร.ดอน อิศรากร กล่าวว่า รถต้นแบบคันแรกได้ถูกพัฒนาขึ้น โดยการออกแบบให้เครื่องยนต์วางอยู่ด้านหน้า เพื่อให้พื้นที่ด้านหลังของตัวรถอยู่ต่ำ อีกทั้งยังออกแบบให้พื้นที่สำหรับรถเข็น ปรับขึ้นลงได้ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า เพื่อให้คนพิการสามารถดันรถเข็นขึ้นไปบนตัวรถได้สะดวกที่สุด แต่การผลิตรถยนต์สามล้อสำหรับคนพิการ มีเงื่อนไขที่จำกัด ทั้งงบประมาณและเวลา ทำให้การออกแบบ ผลิตและทดสอบนั้นไม่สามารถทำได้
หลาย ๆ ครั้ง เพื่อให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด เช่นโครงสร้างที่ไม่มีถูกหลักจลนศาสตร์ของยานยนต์ การวางตำแหน่งของเครื่องยนต์ที่ไม่เหมาะสม รูปลักษณ์ภายนอกไม่มีความสวยงาม ไม่ปลอดภัยเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ไม่ถูกหลักเกณฑ์ของขนส่งหลายประการทำให้ไม่สามารถจนทะบียนได้ การผลิตรถยนต์สามล้อส่วนบุคคลสำหรับคนพิการได้ถูกปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติมอยู่หลายครั้ง จนมีรูปลักษณ์ภายนอกที่สวยงาม มีความปลอดภัย และผ่านการทดสอบตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ของกรมขนส่งทางบกทุกประการ จนสามารถจดทะเบียนได้ แต่ด้วยเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้ากําลังเติบโตอย่างยิ่งยวด ทําให้ผู้พิการสนใจและอยากเข้าถึง จึงมีแนวคิดในการออกแบบพัฒนาและผลิตรถสามล้อไฟฟ้าสําหรับคนที่พิการ เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของคนพิการ อีกทั้งสร้างคุณค่าหรือสร้างความเท่า เทียมเทียมกันแก่คนพิการ ให้มีโอกาสใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่นคนปกติ การออกแบบพัฒนาและผลิตรถยนต์สามล้อไฟฟ้าสำหรับคนพิการใช้เก้าอี้รถเข็นทดแทนการดัดแปลงยานพาหนะอื่น ๆ โดยคนพิการหรือลดการนำเข้าสินค้า/ผลิตภัณฑ์ที่เป็นยานพาหนะสำหรับคนพิการ คือมีการออกแบบ ผลิตชิ้นส่วน/องค์ประกอบของรถยนต์สามล้อทั้งหมดในประเทศ ทำการทดสอบเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานของกรมการขนส่งทางบกเพื่อให้สามารถจดทะเบียนได้อย่างถูกต้อง เช่น ความสารถในการรับนํ้าหนัก, ความเร็ว, การไต่ทางลาด, วงเลี้ยว ทดสอบเชิงเทคนิคในอีกหลาย ๆ ด้าน เช่น กำลังขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า, อัตราสิ้นเปลืองพลังงาน, การทดสอบความเร็วในเงื่อนไขที่แตกต่างกัน, ทดสอบการห้ามล้อในเงื่อนไขที่แตกต่างกัน, ทดสอบใช้งานตามภูมิภาคต่างๆ, ประสิทธิภาพของระบบจ่ายและชาร์จแบตเตอรี่ รวมถึงการออกแบบและพัฒนาวิธีการประจุแบตเตอรี่ทั้งแบบ Normal Charge หรือแบบ Quick Charge ชิ้นส่วนของรถยนต์สามล้อไฟฟ้า เป็นชิ้นส่วนที่หาได้ในประเทศเพื่อให้ง่ายต่อการซ่อมบำรุงในอนาคต การออกแบบอุปกรกรณ์ชาร์จที่ตอบสนองการใช้งานกับระบบไฟฟ้าที่ใช้งานทั่วไป และการชาร์จแบตเตอรี่นั้น จะใช้อุปกรณ์ที่มีมาตรฐาน เช่น คอนเน็คเตอร์ ระบบชาร์จที่ควบคุมด้วยระบบอัตโนมัติ อุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าลัดวงจร
รถยนต์สามล้อไฟฟ้าสำหรับคนพิการใช้เก้าอี้รถเข็นนี้ ผ่านกระบวนการทดสอบในขณะที่มีน้ำหนักรถและน้ําหนักบรรทุก (คนนั่ง พร้อมเก้าอี้รถเข็นคนพิการ) 90 กิโลกรัม ได้ความเร็วสูงสุด 77 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง และได้รับการจดทะเบียนอย่างถูกต้องแล้ว องค์ความรู้และต้นแบบที่เกิดขึ้นสามารถนำไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้
การผลิตจำนวนมาก (Mass Production) เพื่อรองรับความต้องการของคนพิการที่มีความต้องการใช้ยานพาหนะในการเดินทางและดำเนินชีวิตแบบคนปกติ เช่น ใช้สำหรับเดินทางไปทำงาน ไปทำกิจกรรมหรือกิจธุระต่าง ๆ
ทำให้คนพิการไม่เป็นภาระของครอบครัว/

สังคม ยังเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการและการให้โอกาสทางสังคมแก่คนพิการ

“เฉลิมชัย”สั่งฟรุ้ทบอร์ด(Fruit Board)ลุย”ผลไม้ใต้-ลำไยเหนือ”1.5ล้านตันฝ่าวิกฤตโควิด-19

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้(ฟรุ้ทบอร์ด-Fruit Board) เปิดเผยวันนี้(12 ก.ค.)ว่า ได้สั่งการให้กระทรวงเกษตรฯ.กระทรวงพาณิชย์และคณะกรรมการคพจ.(คณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัด)ซึ่งเป็นกลไกแกนหลักของ
ฟรุ้ทบอร์ดเร่งทำงานเชิงรุกดูแลผลไม้ภาคใต้และลำไยภาคเหนือภายใต้แผนปฏิบัติการปี2564ของฟรุ้ทบอร์ดโดยเฉพาะในช่วงพีคของฤดูกาลผลิตปีนี้โดยให้เน้นการขับเคลื่อนแผนการตลาดออนไลน์และออฟไลน์ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้ให้ใช้แนวทางการบริหารจัดการผลไม้ภาคตะวันออกที่เพิ่งผ่านมาเป็นตัวอย่างซึ่งประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจทั้งเรื่องราคาและตลาดจากการทำงานเชิงรุกและเพิ่มกลยุทธ์การตลาดใหม่ๆเช่นระบบสั่งซื้อล่วงหน้า(Pre-order)

บนแพลตฟอร์มออนไลน์ในการส่งออกทุเรียนไปตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดที่มีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากผลกระทบโควิด-19เร็วที่สุดแห่งหนึ่งของโลก นอกจากนี้ยังได้ย้ำเรื่องคุณภาพและมาตรฐานของผลไม้เป็นเรื่องสำคัญที่สุด

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบหมายให้ ตนเป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ ครั้งที่ 4/2564 ผ่านระบบ ZOOM ล่าสุดร่วมกับนายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตัวแทนเกษตรกร ภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีการพิจารณาประเด็นสำคัญ อาทิ การเพิ่มครัวเรือนเป้าหมายโครงการเยียวยาเกษตรกรชาวสวนลำไย ปี 2563 ผลการบริหารจัดการผลไม้ประจำฤดูกาลผลิตที่ 1/2564 (มีนาคม – มิถุนายน) ในพื้นที่ภาคเหนือ (ลิ้นจี่) และภาคตะวันออก (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง) การประเมินสถานการณ์การผลิตไม้ผล ปี 2564 (ภาคเหนือ และภาคใต้) และได้เห็นชอบแผนบริหารจัดการผลไม้ภาคเหนือ (ลำไย) ปี 2564 แผนบริหารจัดการผลไม้ภาคใต้ (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง) ปี 2564 และการช่วยเหลือเกษตรกรแก้ไขปัญหามะม่วงของจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดชัยภูมิ ทั้งนี้ ยังได้พิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ ดูแลตามห่วงโซ่อุปทาน (Supply-Value chain) ตามพื้นที่การผลิต (Areas -Products base) และคณะทำงานด้านระบบข้อมูลโลจิสติกส์ และคณะศึกษาเสถียรภาพกลุ่มสินค้าเช่นลำไย อีกด้วย

นายอลงกรณ์ กล่าวว่า สำหรับโครงการเยียวยาชาวสวนลำไย ฤดูกาลผลิตปี 2563 ได้ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โอนเงินให้เกษตรกร ที่ได้รับอนุมัติเพิ่มเติม จำนวน 154 ราย ซึ่งขณะนี้มีเกษตรกรจำนวน 201,986 ราย ได้รับเงินเยียวยากว่า 2,858,355,450 บาท แล้ว

ส่วนผลการบริหารจัดการผลไม้ ฤดูกาลผลิตที่ 1/2564 (มีนาคม – มิถุนายน) ภาคเหนือ ผลผลิตลิ้นจี่ มีปริมาณผลผลิตทั้งหมด 27,952 ตัน ในภาพรวมส่วนใหญ่มีการบริโภคในประเทศ 23,620 ตัน หรือร้อยละ 84.51 แปรรูป 2,131 ตัน หรือร้อยละ 7.62 และ ส่งออก 2,201 ตันหรือร้อยละ 7.87 ในส่วนของภาคตะวันออก ที่มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 900,126 ตัน ประกอบด้วย ทุเรียน 575,542 ตัน มังคุด 106,796 ตัน เงาะ 197,708 ตัน และลองกอง 20,080 ตัน มีการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วรวมทั้งหมด 830,870 ตัน คิดเป็นร้อยละ 92.31 (ข้อมูล ณ วันที่ 2 กรกฎาคม 2564) ซึ่งขณะนี้ยังไม่สิ้นสุดฤดูกาล โดยมีการเน้นการป้องปรามทุเรียนอ่อน โดยจังหวัดได้กำหนดมาตรการระยะสั้นเพื่อควบคุมและป้องกันทุเรียนอ่อนไม่ให้ออกนอกแหล่งผลิต ด้วยการจัดตั้งชุดเฉพาะกิจเพื่อช่วยสกัดกั้นทุเรียนอ่อน โดยใช้บทลงโทษทางกฎหมาย
นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาคุณภาพผลผลิตตามความเหมาะสมของพื้นที่ การเชื่อมโยงตลาด ภายใต้โครงการส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรตามอัตลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่น การถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีโดยAICและหน่วยงานส่งเสริมต่างๆ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตผลไม้และผลไม้อัตลักษณ์ตลอดจนการจัดทำแปลงเรียนรู้การส่งเสริมการผลิตตามระบบมาตรฐาน GAP และ GI การพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งขององค์กรตามระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ สหกรณ์ และศูนย์คัดแยกผลไม้ชุมชน การตรวจสอบย้อนกลับโดยใช้ QR Code เป็นต้น

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ร่วมหารือแผนบริหารจัดการผลไม้ภาคเหนือ (ลำไย) ปี 2564-2565 มีการประเมินผลผลิตที่ 683,435 ตัน ใช้บริโภคสดภายในประเทศ 101,543 ตัน แปรรูป 438,420 ตัน ส่งออก 143,472 ตัน โดยขณะนี้ราคาลำไยสดช่อเกรด AA เท่ากับ 32 บาท/กิโลกรัม เกรด AA+A เท่ากับ 31 บาท/กิโลกรัม โดยกระจายผลผลิตผ่านล้งภายในประเทศ วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์การเกษตร ห้าง Modern Trade ระบบของไปรษณีย์ไทย การตลาดออนไลน์และตลาดค้าผลไม้ภายในจังหวัด การจัดจำหน่ายตรงผู้บริโภค การบริโภคในครัวเรือน เป็นต้น ซึ่งที่ประชุมได้มีมติให้เร่งรัดดำเนินการด้านแผนบริหารจัดการผลไม้ภาคใต้ (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง) ปี 2564 รวมปริมาณทั้งสิ้น 824,728 ตัน โดยเป็นทุเรียน 554,459 ตัน มังคุด 165,838 ตัน เงาะ 62,510 ตัน ลองกอง 41,921 ตัน ซึ่งจะมีแนวทางการกำกับ ติดตาม เฝ้าระวังช่วงปริมาณผลผลิตออกมาก (Peak) ปี 2564 และแจ้งคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.)บริหารจัดการเชิงรุกผลไม้ในพื้นที่พร้อมกำกับดูแลในพื้นที่เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเฝ้าระวังเป็นพิเศษโดยเฉพาะปัญหาการขาดแคลนแรงงานและราคาผลผลิตตกต่ำในช่วงผลผลิตออกปริมาณมาก (Peak)ตามนโยบายของรัฐมนตรีเกษตรฯ.

“จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด19 ทำให้เกษตรกรชาวสวนได้รับผลกระทบ ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการจ่ายเงินชดเชยกับชาวสวนมะม่วงที่ได้รับผลกระทบ เช่นเดียวกับชาวนา และชาวสวนลำไย โดยเสนอขอชดเชยไร่ละ 2,000 บาท คนละไม่เกิน 25 ไร่ ครัวเรือนละไม่เกิน 50,000 บาท และการพิจารณาช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาราคาผลผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้ตกต่ำในพื้นที่ จังหวัดชัยภูมิ ที่ได้รับความเดือดร้อน จำนวน 8,920 ครัวเรือน พื้นที่ 15,057 ไร่ ผลผลิต 11,292 ตัน โดยประสงค์ขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อชดเชยราคาผลผลิตมะม่วง จำนวน 535,930,250 บาท ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนตาม 5 ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย โมเดลเกษตรผลิต-พาณิชย์ตลาดภายใต้ยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต โดยบูรณาการทุกภาคส่วน และใช้เทคโนโลยีในการผลิต เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของเกษตรกรต่อไปอย่างยั่งยืน” นายอลงกรณ์ กล่าว.

8 เสียงหลัก ตัวแทนภาคท่องเที่ยวไทย “จะไม่ทน” รวมตัวจัดเสวนาออนไลน์ ‘Tourism Voice: เสียงท่องเที่ยวไทย’

ระดมสมองชาวท่องเที่ยวทั่วประเทศ ส่งเสียงสะท้อนปัญหา เสนอทางแก้ไข หวังฟื้นการท่องเที่ยวไทยให้ทันโลก

เฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘Tourism Voice: เสียงท่องเที่ยวไทย’ จัดงานเสวนาออนไลน์ ‘OPEN MIC! 100 เสียงแรกท่องเที่ยวไทย’ เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2564 เวลา 15.30 น. โดยมีผู้ร่วมเสวนากว่า 30 คน ซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยทั่วประเทศ และมีผู้เข้าฟังหลายร้อยคน เพื่อพูดคุย ร่วมส่ง #เสียงท่องเที่ยวไทย ถึงปัญหาที่หนักหนาในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในวันนี้ พร้อมเสนอวิธีทางแก้ไข ที่อยากให้คนไทยทุกคนได้ยิน เพื่อฟื้นการท่องเที่ยวไทยให้กลับคืนมา
“เสียงท่องเที่ยวไทย จะไม่ทน” เพราะตลอด 2 ปีที่ผ่านมา #เสียงท่องเที่ยวไทย เสียงที่ไม่เคยดัง และชาวท่องเที่ยวก็จะไม่นิ่งเงียบทนรอความหวัง ธุรกิจท่องเที่ยวจึงออกมาส่งเสียงร่วมกัน ‘TOURISM VOICE’ มีเดียแพลตฟอร์ม ที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มคนที่มีเป้าหมาย เพื่ออยากจะช่วยเป็นตัวแทนสื่อสารปัญหาด้านการท่องเที่ยวอย่างแท้จริง ตรงไปตรงมา เป็นกระบอกเสียงให้คนในธุรกิจท่องเที่ยว ไม่ว่าจะระดับใหญ่ กลาง หรือระดับชุมชน ปลายทางคือ การแก้ไขปัญหาร่วมกัน พร้อม สรุปประเด็นสำคัญในงานเสวนาออนไลน์ ‘OPEN MIC! 100 เสียงแรกท่องเที่ยวไทย’
#เสียงจากสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ขอให้เร่งฉีดวัคซีน คุมแพร่ระบาด กระจายเงินทุน
‘โกจง-ชำนาญ ศรีสวัสดิ์’ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย (สทท.)
เสนอความเห็นต่อรัฐบาล “ขอกระจายวัคซีนอย่างรวดเร็ว ครบ 70% ของประชากร” “พร้อมเร่งควบคุมการแพร่ระบาดอย่างจริงจัง” และ “กระจายแหล่งเงินทุนให้เข้าถึงผู้ประกอบการท่องเที่ยวทั่วประเทศ” เพราะหลังนี้ หากเปิดประเทศเรียบร้อยตามแผนที่นายกรัฐมนตรีเคยประกาศ ถ้าหากไม่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาจะเป็นความลำบากอีกระลอกของคนท่องเที่ยว จึงเสนอว่าการเปิดประเทศจะต้องมีกระบวนการที่ง่าย เข้าถึงได้ นักท่องเที่ยวสะดวกสบาย รวมถึงจำเป็นต้องมีแคมเปญสำหรับการเปิดประเทศ อาจช่วยจ่ายเงินค่าห้องให้นักท่องเที่ยว ผ่านแคมเปญ “1 ดอลลาร์ 1 คืน จ่ายเพียง 1 ดอลลาร์ก็สามารถเข้าพักได้แล้ว” โดยรัฐสนับสนุนเบื้องต้นไปก่อน เพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้ามาในไทย ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ก่อนคนท่องเที่ยวล้มหายตายจากเพิ่มอีก

#เสียงจากภูเก็ต อยากให้ความสำคัญกับการมาของ นทท. ก่อนเรื่องของกฎระเบียบ
‘ศิริญา เทพเจริญ’ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานการตลาด บริษัท ณุศาศิริ จำกัด ส่งเสียงแทนคนท่องเที่ยวว่า จากตัวเลขนักท่องเที่ยวที่เข้าสู่ภูเก็ตวันแรกเพียง 300 กว่าคน สะท้อนว่าการจะเปิดโรงแรม 100% อีกครั้งคงยาก จึงฝากถึงผู้กำกับนโยบายว่า “ควรเร่งศึกษาแนวทางเปิดประเทศของประเทศอื่นๆ อาทิ สิงคโปร์ เพื่อลดความซับซ้อนของกระบวนการตรวจคนเข้าเมือง” และจำเป็นจะต้องมีโปรโมชันหรือแคมเปญ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว ส่วนสำคัญอีกอย่างที่ศิริญามอง คือ ประเทศไทยควรเปิดให้เข้าถึงการตรวจโควิด-19 ด้วยรูปแบบการตรวจแอนติเจนที่ทั่วโลกใช้งาน เพื่อให้ประชาชนไทยสามารถตรวจโควิด-19 ได้ด้วยตัวเอง ลดความหวาดกลัวของนักท่องเที่ยวต่อประเทศไทย ซึ่งตอนนี้ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นตัวเลขจากกรุงเทพฯ ถ้าสามารถประกาศแยกรายจังหวัดได้ก็จะลดความน่ากังวลลงไปมา

เธอเชื่อว่านักท่องเที่ยวกลุ่มแรกที่เดินทางมาคือ ‘กลุ่มท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ’ เพราะไทยโดดเด่นเรื่องอากาศ อาหาร สมุนไพร และเพิ่งเปิดเรื่องเสรี “กัญชากัญชง” จึงเป็น 3 จุดที่สามารถสร้างความแตกต่างให้ต่างชาติอยากเข้ามาในประเทศไทยได้ แต่ภาครัฐต้องเปลี่ยนแนวคิดก่อน หันมาให้ความสำคัญในประเด็นว่า ‘จะทำอย่างไรให้คนมา’ ตามด้วยเรื่อง ‘รักษาความปลอดภัยได้ยังไง’ เพราะถ้าคิดตั้งกฎก่อน การท่องเที่ยวก็จะไม่เกิด
#เสียงจากระยอง เสม็ดพร้อมเปิดเกาะแล้ว! เตรียมดัน #เสม็ดแซนด์บ็อกซ์
‘พิศมัย ศุภนันตฤกษ์’ อดีตประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จังหวัดระยอง และเจ้าของโรงแรมโนโวเทล ระยอง สตาร์คอนเวนชั่น เป็นกระบอกเสียงให้คนระยองว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวเสม็ดได้รับการฉีดวัคซีนทั้งหมดแล้ว เสม็ดมีความพร้อมที่จะต้อนรับนักท่องเที่ยว อย่างมาก และอยากผลักดันให้เสม็ดสามารถเดินหน้าได้เหมือนกับ #ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ โดยไว ภายใต้ชื่อ #เสม็ดแซนด์บ็อกซ์ เพราะคนบนเกาะฉีดวัคซีนครบ 100% แล้ว พื้นที่ปลอดภัยควรถูกทยอยเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยว เพื่อให้ภาพรวมท่องเที่ยวไทยค่อยๆ ฟื้นตัว นอกจากนี้ เธออยากให้เร่งฉีดวัคซีนในพื้นที่สีแดงจังหวัดรอบๆ เช่น กรุงเทพมหานคร, ปทุมธานี และสมุทรปราการ เพื่อลดอัตราการตายที่ยังมีต่อเนื่องด้วย
#เสียงจากพัทยา ขอวัคซีนสู่อีกหนึ่งด่านหน้าท่องเที่ยวไทย!
‘เอ๋-นรินทร์ ณ บางช้าง’ ตัวแทนจาก Legend Siam แหล่งท่องเที่ยวดังในพัทยา สะท้อน 2 ประเด็นสำคัญ อย่างแรกคือ พัทยาก็ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยว ‘ด่านหน้า’ ในการเปิดประเทศ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการจัดสรรวัคซีนด่วน เพื่อให้พร้อมต่อการเตรียมตัวเปิดประเทศในอีก 120 วันข้างหน้า
อย่างที่สอง คือ ประเทศไทยจำเป็นจะต้องมี ‘อีเว้นท์’ หรือ ‘กิจกรรม’ ในการโปรโมทการท่องเที่ยว โดยภาครัฐควรจะทุ่มงบประมาณลงมา เพื่อกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวเกิดความรู้สึกอยากเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยมากขึ้น ไม่เช่นนั้นอนาคตในอีก 120 วันข้างหน้าคงยากที่จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามา แม้คนท่องเที่ยวจะอยากกลับมามีชีวิตปกติ อยากกลับมาสร้างรายได้ทางด้านการท่องเที่ยวแค่ไหนก็ตาม
‘จ๋า-อลิสา พันธุศักดิ์’ เจ้าของทิฟฟานี โชว์ พัทยา มองว่า ที่ผ่านมาบุคลากรท่องเที่ยวไม่ค่อยได้รับความช่วยเหลือ “วัคซีนจะต้องเท่าเทียมและยุติธรรม” เธอบอก — บุคลากรทางด้านการท่องเที่ยวมีต่างชาติมากมาย จำเป็นจะต้องได้รับวัคซีนเช่นเดียวกันกับคนไทย เพราะอยู่ในประเทศไทย ทำงานให้กับคนไทย และเจ้าของกิจการก็จ่ายภาษีไปแล้วจำนวนมาก อีกประเด็นสำคัญคือ ‘การเยียวยา’ ในส่วนของทิฟฟานีโชว์ พนักงานไม่ได้รับการเยียวยาจากประกันสังคม เพราะจดทะเบียนเป็น ‘โรงมหรสพ-โรงละคร’ ทั้งที่ตอนเปิดทำการจ่ายภาษีเดือนละเฉียดล้าน เราจึงต้องอุทธรณ์เพื่อให้ลูกน้องเราได้รับความเป็นธรรม อยากชวนให้ทุกคนออกมาสู้ มาส่งเสียงเพื่อลูกน้องของตัวเอง ทำไมเราไม่ได้รับการเยียวยา? ทั้งที่รัฐบาลบอกจะให้เงินเยียวยา แต่เอาเข้าจริงเราต้องไปเรียกร้องเหมือนขอทานอีกเรื่องคือการ “เยียวยาต่อเนื่อง” เนื่องจากแหล่งท่องเที่ยวต้องรักษาคุณภาพของพนักงานและสถานที่ แต่ตอนนี้ไม่ได้รับการดูแลตรงนี้ โดยปีที่ผ่านมาทิฟฟานี่โชว์ไม่ได้เสียภาษี เพราะไม่มีรายได้ ซึ่งปีนี้ไม่ใช่แค่ทิฟฟานี่โชว์ แต่ทุกคนก็จะยิ่งไม่มีรายได้ รัฐก็จะเก็บภาษีได้น้อยลงไปด้วย “เราจะเจอวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของประเทศ ในขณะที่ SMEs ทางด้านท่องเที่ยวตายไปหมดแล้ว โดยไม่รับการเยียวยา” อลิสา ย้ำ
#เสียงจากเชียงใหม่ ขอความจริงใจจากรัฐบาล
‘เกษมสันต์ ยศรุ่งโรจน์’ เจ้าของโรงแรมน้ำเพียงดิน บูติก โฮเทล เชียงใหม่ บอกว่า “เรื่องที่อยากฝากถึงรัฐบาล หนึ่ง ต้องมีความจริงใจทั้งกับเรื่องวัคซีนหรือการเยียวยาผู้ประกอบการโรงแรม ไม่ใช่ทำเป็นแค่หนังสือราชการมา
แจ้งหน่วยงาน ให้โรงแรมให้ความร่วมมือ”น้ำเพียงดิน บูทิค โฮเทล เชียงใหม่ ได้รับผลกระทบเรื่องเงินทุน ไปขอกู้จากธนาคารใดก็ไม่ได้ แม้จะเสียเงินค่าประเมินไปแล้วก็ตาม ผู้ประกอบการอย่างตนต้องควักทุนไปกว่าสิบล้านบาทแล้ว เพื่อประคองการจ้างงานและพนักงานจำนวน 19 คนเอาไว้ เพราะทำงานร่วมกันมานานกว่า 8 ปี
“อันนี้แหละครับผมอยากให้รัฐบาลดูปัญหาจริงๆ ว่าคุณมีความจริงใจขนาดไหน เรื่องวัคซีนพนักงานผมลงไปแต่แรกก็ไม่ได้ฉีดสักคนเลย แล้วใช้ระเบียบการทำเป็นหนังสือแจ้งมาตลอด อันนี้ผมว่ามันแก้ปัญหาไม่ได้หรอกครับ ถ้าคุณไม่ได้เยียวยาผู้ประกอบการและช่วยเหลืออย่างจริงใจ ขออย่างเดียวรัฐบาลมีความจริงใจเท่านั้นแหละครับ ประชาชนทุกคนได้รับผลประโยชน์หมดแหละครับ อย่าทำเป็นตัวหนังสือออกมาบังคับนู่นนี่ มันก็เหมือนคุกน่ะครับ บังคับภายนอกได้ แต่บังคับใจไม่ได้หรอกครับ ด้วยความจริงใจจากเชียงใหม่ครับ” เกษมสันต์ ทิ้งท้าย
#เสียงจากท่องเที่ยวชุมชน ท่องเที่ยวชุมชนต้องรอด!
ประธานเครือข่ายขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากชุมชน ‘ดร.น้ำ-ชนิสรา ดาอ่อน’ เผยว่า หลังโควิด-19 บริบทการท่องเที่ยวใหม่จะแตกต่างจากเดิม โควิด-19 ไม่เลือกติดคนสูงต่ำแพงถูก ตอนนี้ท่องเที่ยวชุมชนเป็นโอกาสแห่งความทัดเทียมจึงอยากจะบอกกับแกนนำท่องเที่ยวชุมชนทั่วประเทศว่า ความคิดสร้างสรรค์กับต้นทุนทางปัญญาจะช่วยเราในการวางแผนล่วงหน้าสู่ความหวังของการเปิดประเทศในอีก 120 วัน เธอเล่าเสริมว่า จากการสอบถามไปทางเครือข่ายของเราในภูมิภาคยุโรปและอื่นๆ ยืนยันได้ว่า ด้านการท่องเที่ยวชุมชนและท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ท่องเที่ยวชุมชนประเทศไทยยังคงเป็นเป้าหมายอันดับ 1 ที่นักท่องเที่ยวรอที่จะกลับเข้ามาสัมผัสมนต์สเน่ห์ดังนั้น เราต้องให้โอกาสตัวเองอีกครั้งหนึ่ง ช่วยให้เสียงชุมชนเป็นจริงขึ้นมา สร้างความเข้มแข็งขึ้น สร้างความภาคภูมิใจขึ้น ไม่ยอมแพ้ ลุกขึ้นมาสื่อสารนำเอาสินค้าและบริการออนไลน์ของชุมชนขึ้นไปเสนอผ่านช่องทางดิจิทัลอย่างไร้ขีดจำกัดสู่ทั่วโลก ไม่ใช่แค่เรื่องของการแข่งขัน แต่คนเข้มแข็งเท่านั้นที่จะอยู่รอด!
#เสียงจากอยุธยา ย้ำ! ชุมชนรอด ประเทศไทยก็รอด
‘มยุรี ศรีนาค’ ตัวแทนจากท่องเที่ยวชุมชน อำเภอไทรน้อย อยุธยา จังหวัดที่มีการท่องเที่ยวชุมชนโดดเด่น ก็เล่าว่า ที่ผ่านมาผู้ประกอบการกว่า 600-700 คนในเครือข่ายนิ่งและซบเซาจากโควิด-19 ต้องอาศัยทำตลาดออนไลน์เพื่อเลี้ยงชีพ ที่ผ่านมาท่องเที่ยวเข้ามาพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตและในหลายๆ ชุมชนกลายเป็นรายได้หลัก จึงอยากให้มีการสนับสนุนฟื้นท่องเที่ยวชุมชน
ด้าน ‘วัชรพงศ์ ระดมสิทธิพัฒน์’ ตัวแทนตลาดหลวงปู่ทวด จังหวัดอยุธยา มองว่าจากตรงนี้ไปท่องเที่ยวชุมชนยังต้องได้รับการประชาสัมพันธ์อีกมาก อาจต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วม รวมถึงยังต้องการแรงกระตุ้นจากภาครัฐในการกระตุ้นการท่องเที่ยวใน “16 อำเภอทั่วอยุธยา” และให้ด่านหน้าทางด้านการท่องเที่ยวได้รับวัคซีนก่อน เพื่อให้แหล่งท่องเที่ยวในประเทศที่น่าจะฟื้นตัวแรกๆ มีความพร้อมต่อการรองรับนักท่องเที่ยว
#เสียงจากอินฟลูเอนเซอร์ท่องเที่ยว Miss Tourism พร้อมช่วยสื่อสาร
‘เบญจา กัลยาวินัย’ ตัวแทนจาก ‘Miss Tourism’ ยืนยันว่าในฐานะตัวแทนผู้ถือลิขสิทธิ์ของ Miss Tourism ในประเทศไทย จะไม่รอคอยให้โควิดหายไปก่อน แต่เราพร้อมแล้วที่จะกระตุ้นการท่องเที่ยวบนโลกออนไลน์
โดยจะเดินหน้าใช้อินฟลูแอนเซอร์และช่องทางออนไลน์ที่มีอยู่ในมือสื่อสาร กระจายเสียง ปัญหา ความต้องการด้านการช่วยเหลือ โดยปัจจุบันมีช่องทางสื่อสารมากกว่า 77 เพจครบทุกจังหวัด รวมถึงมีน้องๆ ทูตการท่องเที่ยวที่ทำงานออนไลน์เป็นและอยากที่จะช่วยเหลือชุมชน ทุกคนสามารถเข้าไปในเพจได้และให้น้องๆ ช่วยทำงานได้ทันทีโดยไม่ต้องรอหมดโควิด

เก็บตกเสียงท่องเที่ยวอื่นๆ ขอความชัดเจน ขอความตรงไปตรงมา จากรัฐ

‘กนกชล’ ศรศิลป์ตัวแทนพนักงานจากโรงแรมมณเฑียร เผยเสียงสะท้อนว่า สิ่งแรกที่อยากส่งเสียง คือ ‘วัคซีน’ อย่างที่สอง ขอชื่นชมคุณหมอบุญ วนาสิน จากโรงพยาบาลธนบุรีที่ออกมาพูดเพื่อการขยับตัวของรัฐบาลมากขึ้น เรื่องต่อมาคือ เพื่อสร้างความมั่นใจในการท่องเที่ยว อยากให้เริ่มจาก “เรื่องความชัดเจนในการสื่อสาร” ของรัฐบาล ไม่ใช่เช้าส่งเมสเสจหนึ่ง เย็นส่งเมสเสจหนึ่ง แค่อยากได้โร้ดแม็ปของการท่องเที่ยวที่ตรงไปตรงมา มีเหตุผลและจับต้องได้ และหากทำไม่ไหว ควรให้หาคนอื่นมาทำแทน
‘จาตุรนต์ สุวรรณรัตน์’ จากสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) สะท้อนสถานการณ์ต่างประเทศว่า ทั่วโลกกำลังเร่งผ่อนคลายนโยบายการท่องเที่ยวและเร่งส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้งในประเทศและระหว่างประเทศให้กลับมาอีกครั้ง โดยหลายประเทศเปิดให้ประชาชนสามารถตรวจโควิด-19 ได้ด้วยตัวเองจากบ้าน เพื่อให้สามารถเดินหน้าผ่อนคลายกิจกรรมต่างๆ ได้มากขึ้น และ

และเป็นเรื่องที่การท่องเที่ยวไทยควรตามให้ทัน
ส่วนการเปิด #PhuketSandbox ตอนนี้ถือว่าเป็นเรื่องดี เพื่อจำลองก่อนเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยวในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า แต่อาจจะไม่จำเป็นต้องบูมมากเกินไปจนกลายเป็นเป้าของประเทศคู่แข่ง เพียงแต่จำเป็นจะต้องเร่งสื่อสารให้ชัดเจนให้นักท่องเที่ยวเข้าใจถึง ‘เหตุผล’ ของมาตรการต่างๆ เหมือนกับที่สิงคโปร์สามารถสื่อสารกับนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดีและเริ่มทำข้อตกลงกับหลายประเทศเพิ่มขึ้น
ทั้งหมดนี้คือ #เสียงท่องเที่ยวไทย ที่อยากให้คนไทยทุกคน และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวได้ยิน เพื่อให้การท่องเที่ยวไทยฟื้นวิกฤติ กลับคืนมาตามสถานการณ์โลก ในเร็ววัน
เกี่ยวกับ Tourism Voice:
‘Tourism Voice’ เป็นการรวมตัวของกลุ่มคนที่มีเป้าหมายเพื่ออยากจะช่วยเป็นตัวแทนสื่อสารปัญหาด้านการท่องเที่ยวอย่างแท้จริง ตรงไปตรงมา เป็นกระบอกเสียงให้คนในธุรกิจท่องเที่ยว ไม่ว่าจะระดับใหญ่ กลาง หรือระดับชุมชน ปลายทางคือการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
นอกจากเป็นปากเป็นเสียงแล้ว เรายังพร้อมนำเสนอความรู้ และแรงบันดาลใจจากคนในแวดวงธุรกิจท่องเที่ยว โดยหวังว่าสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการทุกคนสามารถต่อสู้และพาธุรกิจตัวเองผ่านพ้นวิกฤติครั้งนี้ไปได้ และยกระดับการท่องเที่ยวไทยไปสู่การท่องเที่ยวยั่งยืนในอนาคต เพราะเราเชื่อว่าถ้าการท่องเที่ยวไทยดีขึ้น เศรษฐกิจไทยก็จะดีขึ้นด้วยอย่างแน่นอน
ลิงค์การเสวนา 8 แกนหลักการท่องเที่ยวเสนอทางออกวิกฤติการท่องเที่ยวไทย
https://youtu.be/05Tqpw3K0Is
ช่องทางการติดตาม:
Facebook @tourismvoiceth
Instagram @tourismvoiceth
Twitter @th_tourism
Youtube: TourismVoiceTH
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ
อุมา จงสิริวิทยา (น้อง) โทร.0818995395
ภาณุเมศวร์ (อี้) โทร. 0904626663

Wed. 7 July 2021, Samut Prakan, Thailand. United Nations Peace-Keepers Federal Council (UNPKFC)

organized a Humanitarian and Food relief aid for the victims and evacuees of the recent massive fire and explosions that destroyed the Mingdi Chemical Factory in Bang Phli district of Samut Prakan province on 5 July 2021.

UNPKFC and Team lead by Datuk. Dr. Aphinita​ Chaichana​, the president of UNPKFC with the collaboration from Mr. Sornpongsak Suwanaprung, the Consultant Inspector Office of the permanent secretary prime minister office and Pol. Col. Wirot Tadso, the Superintendent of Police for Bang Phli District, Samut Prakan distributed a total of 300 sets of foods, 600 packs of drinking water, cartons of assorted milk, and facial masks to ease the sufferings faced by these victims and evacuees.
During the Press Briefing held at the Bang Phli Police Department, Datuk Dr. Aphinita Chaichana announced that today’s initiative is part of our responsibilities as humanity and according to the objectives of UNPKFC as a Peace and Humanitarian Organization, to help the vulnerable, poor and victims of calamities. Therefore, today’s contribution is just a token of our intention to render help and we are here to assess the situation and immediate needs of these victims.
Dr. Lye Ket Yong, Deputy President of UNPKFC welcome the collaboration with Mr. Sornpongsak Suwanaprung, the Consultant Inspector Office of the permanent secretary prime minister office and Pol. Col. Wirot Tadso, the Superintendent of Police for Bang Phli District, Samut Prakan and appreciate the hard works and initiatives done for the Samut Prakan community. As a responsible Non-Governmental Organization, UNPKFC has the responsibilities to render all the help we can to alleviate the sufferings to the impacted victims and to raise their morale and provide encouragement to those affected.
UNPKFC and team was then escorted to visits and to distribute food and relief aid to the victims residing in temporary evacuation centers at Wat Bang Phli Yai Klang School and Auditorium, Bang Phli Yai sub-district Administrative Organization, Wat Bang Phli Yai Nai, and Bang Phli Hospital. On arrival at the Bang Phli Hospital, the team was greeted by Dr. Pichet Puapankitcharoen, the Director of Bang Phli Hospital who gave a warm welcome and briefing to the entire team. UNPKFC also visited the OTOP Bang Phli Center, which were under renovation for conversion into a Covid Field Hospital. We were told about this charitable public facility and noted that all the Hospital equipment and facilities are donated by a Philanthropist with many volunteers assembling and helping with the internal renovation, but it still not enough for the pandemic situation of the coronavirus that escalates further. Finally, the team also discussed possible future collaboration.

สภาสันติภาพสหประชาชาติหรือ(UNPKFC)ได้จัดความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและอาหารแก่ผู้ประสบภัยและผู้อพยพจากเหตุไฟไหม้และการระเบิดครั้งใหญ่

ที่ทำลายโรงงาน หมิงตี้ เคมีคอล จำกัด ในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

UNPKFC และทีมงานนำโดย ดาตุ๊ก ดร. อภินิตา ไชยชนะ ประธานUNPKFC โดยได้รับความร่วมมือจาก นายศรพงศ์ศักดิ์ สุวรรณปรุง ที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และ พล.ต.อ. วิโรจน์ ตัดโส ผู้กำกับสถานีตำรวจภูธร อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ แจกจ่ายอาหาร จำนวน 300 ชุด น้ำดื่ม 600 แพ็ค นมคละกล่อง และหน้ากากอนามัย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยและผู้อพยพจากเหตุการณ์ไหม้และการระเบิดในครั้งนี้
ในระหว่างการแถลงข่าวที่กรมตำรวจบางพลี ดาตุ๊ก ดร.อภินิตา ไชยชนะ ประกาศว่าความคิดริเริ่มในวันนี้เป็นส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบของเราในฐานะมนุษยชาติและตามวัตถุประสงค์ของ UNPKFC ในฐานะองค์กรเพื่อสันติภาพและมนุษยธรรม เพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากไร้ และเหยื่อของภัยพิบัติ ดังนั้น เงินบริจาคในวันนี้เป็นเพียงสัญลักษณ์แห่งความตั้งใจของเราที่จะให้ความช่วยเหลือและเราพร้อมที่จะประเมินสถานการณ์และความต้องการเร่งด่วนของผู้ประสบภัย
ดร. ไล้ เก็ท ย้ง รองประธาน UNPKFC มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับ นายศรพงศ์ศักดิ์ สุวรรณปรุง ที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และ พล.ต.อ.วิโรจน์ ตัดโส ผู้กำกับสถานีตำรวจภูธร อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ โดยได้ชื่นชมการทำงานหนักและความคิดริเริ่มที่ทำเพื่อชุมชนสมุทรปราการ UNPKFC ในฐานะองค์กรเอกชนมีหน้าที่รับผิดชอบในการให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ เพื่อบรรเทาทุกข์แก่ผู้ประสบภัยและเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับผู้ได้รับผลกระทบในครั้งนี้
จากนั้น ทีมงาน UNPKFC ได้ไปเยี่ยมเยียนและแจกจ่ายอาหาร เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่พำนักอยู่ในศูนย์อพยพชั่วคราว ณ โรงเรียนวัดบางพลีใหญ่กลางและหอประชุม องค์การบริหารส่วนตำบลบางพลีใหญ่ วัดบางพลีใหญ่ใน และโรงพยาบาลบางพลี เมื่อมาถึงโรงพยาบาลบางพลี นพ.พิเชษฐ พัวพันกิจเจริญ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบางพลี ได้ให้การต้อนรับและบรรยายสรุปแก่ทีมงานทุกคนอย่างอบอุ่น นอกจากนี้ทีมงาน UNPKFC ยังได้เยี่ยมชมศูนย์ OTOP บางพลี ซึ่งอยู่ระหว่างการปรับปรุงเพื่อปรับให้เป็นโรงพยาบาลสนามโควิด และได้รับทราบเกี่ยวกับสถานที่สาธารณกุศลแห่งนี้ และสังเกตว่าอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกของโรงพยาบาลทั้งหมดได้รับการบริจาคโดยผู้ใจบุญที่อาสาสมัครเข้ามาเป็นจำนวนมากและช่วยเหลือในการปรับปรุงภายในแต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อสถาณการณ์การแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัสที่บานปลาย ท้ายที่สุดทีมงานยังได้หารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะทำงานร่วมกันในอนาคต

เซ็นทรัลพัฒนา ทุ่มกว่า 7.7 พันล้านบาท ปิดดีลคว้าหุ้น สยามฟิวเจอร์ดีเวลอปเมนท์ หรือ SF จาก MAJOR

ในสัดส่วนร้อยละ 30.36 เปิดทางซีพีเอ็นเสริมแกร่งค้าปลีกฝั่งตะวันออก เดินหน้าเพิ่มพอร์ต Super Regional Mall อีกแห่งต่อจากเซ็นทรัล เวสต์เกต

วันที่ 5 กรกฏาคม 2564 บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ประกาศลงนามข้อตกลง (MOU) เกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นสามัญบริษัท สยามฟิวเจอร์ดีเวลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ “SF” จากบริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) หรือ “MAJOR” ในสัดส่วนร้อยละ 30.36 ของหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมด ในราคาซื้อขายหุ้นละ 12 บาท คิดเป็นจำนวนเงินกว่า 7.7 พันล้านบาท โดยคาดว่าจะสามารถดำเนินการซื้อขายและชำระเงินค่าหุ้นแก่ผู้ขายได้ภายในสิ้นเดือนสิงหาคม 2564 และเตรียมพร้อมทำคำเสนอซื้อหุ้นที่เหลือทั้งหมดของ SF ภายหลังจากเข้าทำธุรกรรมการซื้อหุ้นจาก MAJOR เสร็จสิ้น

โดยข้อตกลงดังกล่าวจะช่วยขยายพอร์ตศูนย์การค้าขนาดใหญ่ Super Regional Mall ของบริษัท เพิ่มขึ้นเป็น 2 แห่ง คือ เซ็นทรัล เวสต์เกต และเมกาบางนา และเติบโตไปพร้อมกับพันธมิตรระดับโลกอย่างอิเกีย พร้อมผนึกธุรกิจในเครือกลุ่มเซ็นทรัล เดินหน้าขยายธุรกิจ คอมมูนิตี้ มอลล์ต่างๆ และพัฒนาโครงการที่ดินบนทำเล CBD ของกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ทั่วประเทศ