รวมน้ำใจมอบทุนการศึกษาเพื่อเด็กและเยาวชน

วิทยาลัยเทคโนโลยีชื่นชมไทย-เยอรมันและบริษัท แอโร กรุ๊ป (1992) จำกัด ร่วมกับศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง รวมน้ำใจมอบทุนการศึกษาเพื่อเด็กและเยาวชนผู้ด้อยโอกาสทั่วประเทศ

วันนี้ ( 4 มิถุนายน 2564 ) เวลา 10.00 น. นางอโนชา ชีวิตโสภณ อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง และ ดร. มนูญ ชื่นชม ผู้รับใบอนุญาตวิทยาลัยเทคโนโลยีชื่นชมไทย – เยอรมัน ได้ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) ในการสนับสนุนทุนการศึกษาให้เยาวชน ระหว่างศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง กับวิทยาลัยเทคโนโลยีชื่นชมไทย – เยอรมัน โดยวิทยาลัยจะให้ทุนการศึกษา จำนวน 124 ทุน มีกำหนดระยะเวลา 10 ปี เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้แก่เด็กและเยาวชนผู้ด้อยโอกาสให้ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนเพื่อให้ได้รับการศึกษาที่สูงขึ้น โดยศาลจะพิจารณาคัดเลือกเยาวชนผู้ที่มีความประพฤติดีและขาดโอกาสทางการศึกษาที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือเทียบเท่าเพื่อขอรับทุน โดยมีสาขาวิชาทั้งหมด 9 สาขา ได้แก่ การตลาด การบัญชี คอมพิวเตอร์ธุรกิจ การโรงแรม ช่างยนต์ ช่างไฟฟ้ากำลัง ช่างอิเล็กทรอนิกส์ ในระดับ ปวช. และ ปวส.

ในวันเดียวกันนี้ ( 4 มิถุนายน 2564 ) เวลา 11.00 น. นางอโนชา ชีวิตโสภณ อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง และ ดร.กฤษฎา อัครพัทธยากุล ประธานบริษัท แอโร กรุ๊ป (1992) จำกัด ได้ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) ในการสนับสนุนการฝึกอบรมหลักสูตรพัฒนาทักษะอาชีพผู้บังคับอากาศยานไร้คนขับ (Deone) ระหว่างศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง กับบริษัท แอโร กรุ๊ป (1992) จำกัด เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้แก่เด็กและเยาวชนผู้ด้อยโอกาสให้ได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพผู้บังคับอากาศยานไร้คนขับ (Drone) โดยศาลจะพิจารณาคัดเลือกเยาวชนซึ่งมีความสนใจอายุไม่ต่ำกว่า 16 ปี และมีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้าฝึกอบรบหลักสูตรดังกล่าว โดยมีคณะผู้บริหาร ผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง และผู้แทนหน่วยงาน ได้เข้าร่วมในพิธีดังกล่าว ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 5 อาคารศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง กรุงเทพมหานคร

วช. หนุนนักประดิษฐ์ สร้างผลิตภัณฑ์จากลวดลายใบบัว คว้ารางวัลเวทีนานาชาติ

              

        นักประดิษฐ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน คว้าเหรียญทองแดงจากการประกวดในเวทีนานาชาติงาน “The 5th China (Shanghai) International Invention & Innovation Expo” จากการนำลวดลายของใบบัวมาออกแบบและพัฒนาเป็นของใช้ตกแต่งบ้าน และเตรียมขยายผลเชิงพาณิชย์แก่ชุมชนทอผ้าในอนาคต
   สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สนับสนุนผลงานสิ่งประดิษฐ์ “การออกแบบและพัฒนาชุดของตกแต่งบ้านลวดลายใบบัว” ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เมธ์วดี พยัฆประโคน อาจารย์ประจำสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คณะศิลปกรรมและออกแบบอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา เข้าร่วมประกวดสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติ ในงาน “The 5th China (Shanghai) International Invention & Innovation Expo” ณ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ในรูปแบบออนไลน์ เมื่อวันที่ 15 – 17 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา 
    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เมธ์วดี พยัฆประโคน ผู้ประดิษฐ์เปิดเผยถึงแนวคิดในการนำลวดลายของใบบัวมาใช้เป็นแนวทางการออกแบบและพัฒนาของใช้ของตกแต่งบ้าน เนื่องมาจากบัวเป็นพืชน้ำชนิดหนึ่งดอกมีรูปทรงสวยงามนิยมนำมาใช้เป็นเครื่องสักการะบูชาในพิธีการทางศาสนา ใบบัวนิยมนำมาใช้ประดิษฐ์เป็นภาชนะสำหรับบรรจุอาหาร เนื่องจากมีรูปทรงกลมขนาดใหญ่ ลวดลายสวยงาม มีกลิ่นหอมอ่อนและไม่เป็นพิษต่อมนุษย์ เหมาะสำหรับบรรจุอาหารด้วยเทคนิคการห่อ มัด รัด ร้อย นอกจากนี้ในคติคำสอนบัวมักถูกใช้ในเชิงเปรียบเทียบถึงจิตใจที่ผ่องใสไม่ขุ่นมัว ดังนั้น ความงดงามของลวดลายและความหมายที่เป็นสิริมงคลจึงเหมาะสำหรับนำมาใช้เป็นลวดลายของตกแต่งบ้าน ที่ช่วยสะท้อนอัตลักษณ์และวิถีชีวิตชุมชนสอดแทรกในผลิตภัณฑ์ร่วมสมัยได้เป็นอย่างดี 
  จากการศึกษาและนำใบบัวมาทดลองเย็บตะเข็บสร้างลวดลายใบบัวบนผ้า 3 แบบ แบบที่ 1 การตีตะเข็บลวดลายใบบัวจากจุดกึ่งกลาง แบบที่ 2 การตีตะเข็บลวดลายใบบัวจากมุมด้านข้าง และแบบที่ 3 การปะติดใบบัวขนาดเล็กลงบนผ้า จากการทดลองพบว่า การเย็บตะเข็บจะมีลายปรากฏบนผ้า 2 ด้าน คือ ด้านที่เป็นรอยพับ และด้านที่เป็นรอยเย็บ ทั้งสองด้านมีความสวยงาม แต่ด้านที่เป็นรอยพับจะมีมิติและให้ความโดดเด่นและสะดุดตามากกว่าด้านที่มีเฉพาะรอยเย็บ  ดังนั้น การเลือกใช้ลายใบบัวด้านที่เป็นรอยพับจึงถึงใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุดนี้  ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบและตัดเย็บ อาทิ ชุดตกแต่งโต๊ะอาหารลายใบบัว, ชุดปลอกหมอนลายใบบัว, ชุดปลอกแก้วน้ำลายใบบัว, กระเป๋าผ้าลายใบบัว  และโคมไฟลายใบบัว เป็นต้น
   ในอนาคตจะมีการนำผลงานสิ่งประดิษฐ์ดังกล่าว ไปถ่ายทอดองค์ความรู้ในแก่ชุมชนทอผ้าพื้นเมือง ในเขตพื้นที่ จังหวัดบุรีรัมย์ และสุรินทร์ ซึ่งมีกลุ่มทอผ้าอยู่ทั่วไปภายในชุมชน

“เฉลิมชัย”เดินหน้าโครงการ “แบ่งปันน้ำใจ เกษตรไทยสู้ภัย COVID – 19”

ช่วยเพชรบุรี
“อลงกรณ์”เผยรัฐบาลจัดสรรวัคซีนเพิ่มให้เพชรบุรีเริ่มฉีดมิถุนายนนี้ พร้อมเปิดตลาดกลางสินค้าเกษตรออนไลน์สัปดาห์หน้าภายใต้ยุทธศาสตร์”1ปิด1เปิด”

วันที่ 4 มิถุนายน 2564 เวลา 10.00 น.
นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานในพิธีมอบข้าวสารและผลผลิตทางการเกษตรภายใต้โครงการ “แบ่งปันน้ำใจ เกษตรไทยสู้ภัย COVID – 19”ของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อบรรเทาปัญหาจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด – 19) ในจังหวัดเพชรบุรี ได้แก่ น้ำพริกเครื่องแกง พริกสด มะเขือ แฟง ฟักทอง สับปะรดดอนขุนห้วย ไข่ไก่ มะนาว กล้วยน้ำว้า กล้วยหอมทอง และภาชนะใส่อาหาร
โดยนายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์
ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี นายไพโรจน์ พ่วงทอง สมาชิกวุฒิสภา นายชาญณรงค์ พวงสั้น เกษตรจังหวัดเพชรบุรี พร้อมด้วยส่วนราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี นายกเทศมนตรีเทศบาลเขาย้อย นายกอบต.ตำบลหนองชุมพลเหนือ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับ และเยี่ยมให้กำลังใจแก่จิตอาสาพระราชทาน 904 วปร. ที่ประกอบอาหารภายใน
วัดศีลคุณาราม ตำบลหนองชุมพลเหนือ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี
โดยนายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์
ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรีได้กล่าวขอบคุณดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯและคณะที่ช่วยเหลือจังหวัดเพชรบุรีและประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19ในขณะนี้
นอกจากนี้นายอลงกรณ์ พลบุตร นายอภิชาติ สุภาแพ่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยพาณิชย์ ดร.กัมพล สุภาแแพ่ง นายอรรถพร พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยสาธารณสุขและส่วนราชการกระทรวงเกษตรในจังหวัดเพชรบุรีได้ร่มมสมทบเงินช่วยเหลืออีกจำนวนหนึ่งมอบผ่านพระครูศรีวัชราภรณ์เจ้าคณะอำเภอเขาย้อยให้กับครัวกลางวัดศีลคุณาราม
ก่อนหน้านี้กลุ่มเพื่อนเฉลิมชัยได้มอบเงิน2แสนบาทสนับสนุนจังหวัดเพชรบุรีสู้ภัยโควิดโดยมอบผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี
นายอลงกรณ์กล่าวระหว่างเป็นประธานในพิธีมอบว่า จากการประสานงานล่าสุดนายอรรถพร พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยสาธารณสุขได้รับการยืนยันจากดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยสาธารณสุขวันนี้ว่า รัฐบาลได้จัดสรรวัคซีนเพิ่มให้เพชรบุรีล็อตที่2อีก49,000โดสรวมทั้งวัคซีนที่จะฉีดให้กับผู้ลงทะเบียน”หมอพร้อม”โดยจะเริ่มฉีดตามกำหนดในเดือนมิถุนายนนี้ และหวังว่ารัฐบาลจะจัดสรรวัคซีนให้เพียงพอต่อการฉีดให้ชาวเพชรบุรีไม่น้อยกว่า70%ให้ทันวันที่1ตุลาคมซึ่งเป็นวันที่ชาวเพชรบุรีจะเปิดเมืองของเราภายใต้ยุทธศาสตร์”1ปิด1เปิด”
หลังจากเสร็จพิธี ที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรพร้อมด้วยนางสาวศิริวรรณ เครือเล็กเกษตรและสหกรณ์จังหวัด นายชาญ พวงสั้น เกษตรจังหวัด นายธีรวุฒิ คล้ายเคลื่อนพาณิชย์จังหวัดและคณะได้เดินทางไปประชุมหารือกับนายหยัน เยื่อใย ประธานสหกรณ์การเกษตรท่ายางและผู้จัดการตลาดเกษตรเพื่อเตรียมความพร้อมของการเปิดโครงการตลาดกลางสินค้าเกษตรออนไลน์ที่ตลาดกลางสินค้าเกษตรหนองบ้วยและบ้านลาดซึ่งจะเปิดการขายแบบซอล์ฟโอเพนนิ่งก์(Soft Opening)ในสัปดาห์ภายใต้เพชรบุรีโมเดล”1ปิด1เปิด”คือระดมพลคนเพชรปิดโควิดเร็วที่สุดและเปิดเศรษฐกิจเร็วที่สุดไปพร้อมๆกัน

ชมรมช่างภาพสื่อมวลชนดิจิทัลยื่นหนังสือถึง ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รมช.สธ.ขอรับการสนับสนุนการฉีดวัคซีน

นายกิตติพันธ์ ขันติศีลชัย ประธานชมรมช่างภาพสื่อมวลชนดิจิทัล ยื่นหนังสือถึง ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รมช.กระทรวงสาธารณสุข เพื่อขอรับการสนับสนุนการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเซื้อไวรัสโคโรนา(covid-19)ให้สมาชิกสื่อในชมรมเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในการปฏิบัติหน้าที่ภาคสนาม โดยมีตัวแทนของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้รับมอบหนังสือ เมื่อวันก่อน

กลุ่มเพื่อนเฉลิมชัย’ นำทีมพร้อมด้วย ‘ศูนย์ BLUE HOUSE ปชป. ‘

‘และ ส.ท.สองพี่น้อง’ มอบหน้ากาก N95 ชุด PPE ให้โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 – ‘เมฆินทร์’ ชี้เพื่อป้องกันไม่ให้ขยายวงการระบาด พร้อมเชิญชวน ปชช. ฉีดวัคซีนและ
ย้ำการปฏิบัติตนตามมาตรการทางสาธารณสุข

     ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเมฆินทร์  เอี่ยมสอาด ผู้อำนวยการ BLUE HOUSE ศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ และช่วยเหลือประชาชนชน พรรคประชาธิปัตย์  พร้อมด้วย  นายสมมาตร วิสุทธิวงษ์ ที่ปรึกษาศูนย์ BLUE HOUSE กลุ่มเพื่อนเฉลิมชัย และสมาชิกสภาเทศบาลเมืองสองพี่น้อง 3 ราย ได้แก่ นายนันท์ เอี่ยมสอาด นายอภิชัย เสาร์แสง และนายลิขิต โกมลสิงห์ ได้ร่วมกันมอบหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (หน้ากาก N 95) จำนวน 600 ชิ้น ชุดอุปกรณ์ป้องกันตัวเองจากเชื้อโรค (Personal Protective Equipment) หรือชุด PPE จำนวน  100 ชุด รวมทั้งอุปกรณ์อื่นๆ ที่จำเป็นในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด – 19 ให้กับ โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17  โดยมี น.พ.อภิชาต วชิระปราการพงษ์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลฯ เป็นผู้รับมอบ

        โดยนายเมฆินทร์ ระบุว่า การมอบอุปกรณ์ป้องกันการระบาดให้กับโรงพยาบาลดังกล่าว ถือเป็นหนึ่งนโยบายที่สำคัญของทางศูนย์ฯ และทางกลุ่มเพื่อนเฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ที่เล็งเห็นความสำคัญของโรงพยาบาลประจำอำเภอ ที่จะช่วยแบ่งเบาภาระโรงพยาบาลจังหวัดหรือโรงพยาบาลศูนย์ ในการคัดกรองและป้องกันการระบาดของไวรัสโควิด – 19 ซึ่งอุปกรณ์ที่มอบให้กับทางโรงพยาบาลฯ ได้แก่ หน้ากาก      หน้ากากอนามัย N95 ซึ่งมีความหนากว่าหน้ากากอนามัยทั่วไป ถือเป็นหน้ากากอนามัยที่มีความมิดชิดมากที่สุด ไม่มีอะไรรั่วไหลเข้าหรือออกได้ จึงสามารถป้องกันการระบาดของเชื้อไวรัสฯ ได้เป็นอย่างดี และชุด PPEที่มีคุณสมบัติในการ ป้องกันการติดเชื้อผ่านผิวหนังและสารคัดหลั่งของผู้ป่วย  ซึ่งได้นำมามอบให้กับแพทย์และบุคลากรประจำโรงพยาบาลฯ ที่ปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อจากไวรัสโควิด – 19 ในเขตอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี

         “เท่าที่ผมทราบขณะนี้ สถานการณ์โควิด – 19 ในจังหวัดสุพรรณบุรี ได้คลี่คลายลงเป็นลำดับ โดยเฉพาะสัปดาห์ที่ผ่านมา จังหวัดสุพรรณบุรี มีผู้ติดเชื้อไม่ถึง 20 คน ซึ่งถือได้ว่า ทุกๆ ฝ่าย โดยเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนให้ความร่วมมืออย่างดีมาก ในการป้องกันไม่ให้ไวรัสฯ ระบาด ทั้งนี้ ในพื้นที่ของอำเภอสองพี่น้อง มีผู้ป่วยยืนยันจนถึงขณะนี้ 58 ราย ซึ่งถือเป็นอันดับ 3 ของจังหวัด โดยในเวลานี้ อุปกรณ์ในการป้องกันไวรัสฯ ของโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 เกิดขาดแคลน ดังนั้น ทางศูนย์ Blue House และ ทางกลุ่มเพื่อนเฉลิมชัย จึงเห็นความสำคัญของการป้องกันไม่ให้มีการแพร่กระจายไวรัส จึงจำเป็นจะต้องจำกัดวงในการระบาด โดยมีการส่งมอบหน้ากากทางการแพทย์ และชุด PPE เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับแพทย์และบุคลากรของทางโรงพยาบาล ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด เพื่อให้กลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติเพราะถือว่า เป็นด่านหน้าในการป้องกันและยับยั้งการระบาด” นายเมฆินทร์กล่าว

        นายเมฆินทร์ กล่าวอีกด้วยว่า ในสถานการณ์การระบาดฯ ที่ยังคงมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เป็นหลักพันคนต่อวันนั้น ตนจึงอยากขอให้ประชาชนทุกคนร่วมใจกันไปฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการระบาดและลดความรุนแรงของไวรัสฯ ควบคู่ไปกับการปฏิบัติตนตามมาตรการทางสาธารณสุข เช่น การเว้นระยะห่างทางสังคม การล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ การสวมหน้ากากอนามัย การงดเว้นการออกจากบ้าน เป็นต้น  อีกทั้ง ขณะนี้ทางศูนย์ Blue House ได้รับเรื่องร้องเรียนที่ข้องกับสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด – 19 เป็นจำนวนมาก ซึ่งขณะนี้ทางคณะกรรมการฯ ของศูนย์ฯ ได้มีการพิจารณาไปบ้างแล้ว ซึ่งทางศูนย์ฯ จะได้มีการลงพื้นที่ช่วยเหลือในลำดับต่อไป 

มิติใหม่ของระบบบริหารจัดการสาธารณสุขประเทศไทย


วช. หนุนมหิดล พัฒนาระบบโซ่ความเย็นของวัคซีนโควิด-19

ครับอในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 “วัคซีน” เป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องจัดหามาให้บริการประชาชนเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรค คาดการณ์ว่าหากจะต้องจัดหาวัคซีนโควิด- 19 มาฉีดให้กับประชาชนทั้งประเทศอาจจะต้องใช้วัคซีนเกือบ 100 ล้านโดส แต่ข้อจำกัดของการที่จะคงคุณภาพของวัคซีนให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้สูงสุด คือจะต้้องถูกควบคุมให้อยู่ในอุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส ในทุกขั้นตอนดำเนินการ ตั้งแต่การจัดซื้อ การขนส่ง การจัดเก็บ การกระจายวัคซีน การจัดเก็บในสถานพยาบาล ไปจนถึงการนำไปฉีดให้ผู้รับบริการ ที่เรียกกันว่า “ระบบโซ่ความเย็น” (Cold chain system) ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้ในการจัดเก็บและกระจายวัคซีนให้คงคุณภาพดีตั้งแต่ผู้ผลิตวัคซีนจนถึงผู้รับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
​นายฆนัท พูลสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิจัยโครงการ “Cold Chain Logistics: การพัฒนาโซ่ความเย็นของวัคซีนโควิด-19 เพื่อควบคุมอุณหภูมิและติดตามตรวจสอบย้อนกลับในการขนส่งและเก็บรักษา” ที่ได้รับการสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มี รศ.ดร.ดวงพรรณ กริชชาญชัย หัวหน้าศูนย์การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสุขภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิิทยาลัยมหิดล เป็นหัวหน้าโครงการ เปิดเผยว่่า เมื่ือเกิดการแพร่ระบาดของโควิด- 19 ส่งผลให้เกิดปัญหาในระบบสาธารณสุขหลายๆ ด้าน เช่น จากปกติทีี่ประเทศไทยเคยใช้วัคซีนประมาณปีละ 2 ล้านโดส แต่เมื่อเกิดการระบาดของโควิด-19 จำเป็นต้องจัดหาวัคซีนมาเพื่อให้บริการประชาชนเป็นจำนวนมาก อาจจะถึงเกือบ 100 ล้านโดส มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการผลิตวัคซีนส่งผลให้อุณหภูมิในการเก็บรักษาวัคซีนเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมวัคซีนในประเทศไทยส่วนใหญ่ถูกเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส แต่ปัจจุบันวัคซีนบางตัวจะต้องจัดเก็บในตู้ควบคุมอุณหภูมิ -70 องศาเซลเซียส บางยี่ห้อก็ต้องจัดเก็บที่อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงระบบการเก็บรักษาวััคซีนของสถานพยาบาลต่างๆ คือจะมีเฉพาะโรงพยาบาลใหญ่ๆ เท่านั้นที่สามารถจัดเก็บและสต็อกวัคซีนเหล่านี้ได้ ส่วนโรงพยาบาลขนาดเล็กไม่สามารถทำได้เพราะตู้ควบคุมความเย็นมีราคาแพงมาก และไม่สามารถใช้ตู้เย็นทั่วไปในการเก็บรักษาได้ ถึงแม้ประเทศไทยจะมีโครงสร้างพื้นฐานด้านนี้รองรับอยู่บ้าง แต่ก็ไม่สามารถรองรัับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ทำให้การใช้วัคซีนในประเทศประสบปัญหา ทีมนักวิจัยจึงได้ศึกษาและพัฒนา แพลตฟอร์มระบบติดตาม-ตรวจสอบ-ย้อนกลับ “โซ่ความเย็น” วัคซีนโควิด-19 โดยระบบนี้จะทำหน้าที่ติดตามข้อมูลวัคซีนตั้งแต่การนำเข้ามาในประเทศ การจัดส่งให้กับบริษัทผู้จัดเก็บและกระจายวััคซีนให้กับโรงพยาบาลต่างๆ ตั้งแต่ข้อมูลผลิตภัณฑ์ ปริมาณวัคซีนที่ผลิต การนำเข้าหรือการจัดซื้อ อุณหภูมิระหว่างการขนส่ง อุณหภูมิการจัดเก็บ จำนวนและชนิดของวัคซีนที่กระจายไปให้แต่ละโรงพยาบาล ข้อมูลผู้รับบริการวัคซีน และหมายเลข Serial ของวัคซีนแต่ละกล่อง สามารถเชื่อมโยงข้อมูลได้ตลอดโซ่ความเย็น (Cold Chain) ผ่านระบบ IoT และจะถูกรายงานมาที่ระบบเป็นระยะ โดยแพลตฟอร์มนี้จะเชื่อมต่อข้อมูลกับจากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเป็นพื้นฐานให้กับระบบบริหารจัดการ และการตัดสินใจวางแผนการกระจายวัคซีนตามความต้องการและตามสถานการณ์ของแต่ละพื้นที่ และในขั้นตอนสุดท้ายเมื่อมีการกระจายวัคซีนไปสู่ประชาชน ข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล ยี่ห้อและซีเรียลนัมเบอร์ของวัคซีนแต่ละกล่องก็จะถูกบันทึกและรายงานผลมาที่ระบบเช่นกัน ดังนั้นข้อมูลเกี่ยวกับการนำเข้าวัคซีนทั้งหมดตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางคือ การให้บริการวัคซีนแก่ประชาชน จะถูกรวบรวมไว้้ในแพลตฟอร์ม เพื่อเป็นหลักประกันว่าในทุกขั้นตอนของการดำเนินงานประชาชนจะได้รับวัคซีนที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน และหากเกิดปัญหา ณ จุดใด ที่ส่งผลต่อคุณภาพของวัคซีนระบบก็สามารถติดตามตรวจสอบย้อนกลับ และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมกรรม (อว.) ได้สนับสนุนโครงการ การพัฒนาแพลตฟอร์มระบบติดตาม-ตรวจสอบ-ย้อนกลับ “โซ่ความเย็น” วัคซีนโควิด-19 ซึ่งถือเป็นงานต้นแบบของการเชื่อมโยงข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการบริหารจัดการวัคซีนซึ่งถูกนำมาใช้ในระบบสาธารณสุขไทยเป็นครั้งแรก มีส่วนช่วยอำนวยความสะดวกให้การบริหารจัดการวัคซีนโควิด-19 เป็นไปอย่างรวดเร็ว และเป็นหลักประกันสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนว่าจะได้รับวัคซีนที่มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรค นอกเหนือจากการนำมาช่วยบริหารจัดการในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 แล้ว เชื่อว่าในอนาคตแพลตฟอร์มนี้จะถูกพัฒนาเป็นโครงสร้างพื้นฐานส่วนหนึ่งที่ช่วยในการบริหารจัดการระบบสาธารณสุขของประเทศไทยต่อไป

กองสลากฯ แถลง สร้างจุดจำหน่ายลอตเตอรี่ 80 บาท

โดยจะต้องซื้อขายผ่านแอปเป๋าตัง

นำร่องพื้นที่กรุงเทพฯ และนนทบุรี ทั้งหมด 51 จุด โดยจะต้องซื้อขายผ่านแอปเป๋าตัง ขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมระบบ คาดเริ่มจำหน่ายได้งวดแรก 1 ก.ค. 64

วช. หนุนนักวิจัย ม.นครพนม ถ่ายทอดนวัตกรรมอาหารสัตว์ “กากมันหมักยีสต์ และผลิตปลายข้าวเทียม”

ช่วยเกษตรกรลดต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์ในชุมชนได้อย่างยั่งยืน

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

(อว.) สนับสนุนทุนวิจัย แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธนพัฒน์ สุระนรากุล และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยนครพนม ถ่ายทอดองค์ความรู้การใช้กากมันสำปะหลังหมักยีสต์ และการผลิตปลายข้าวเทียม เป็นแหล่งอาหารสัตว์ทางเลือกใหม่ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ลดต้นทุนการผลิต โดยใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นและผลิตผลเกษตรที่เหลือใช้ สร้างความมั่นคงทางอาหารสัตว์ได้เป็นอย่างดี

จากปัญหาเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ในการจัดการวัตถุดิบอาหารสัตว์ อาทิ การหาจุดคุ้มทุน การผลิตอาหารเลี้ยงสัตว์ไว้ใช้เองภายในครัวเรือน หรือภายในกลุ่ม และต้นทุนการผลิตที่ไม่แน่นอน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธนพัฒน์ สุระนรากุล แห่งสาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม จังหวัดนครพนม และคณะ
เห็นความสำคัญของการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางวิชาการ ผลงานวิจัย และเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ มาช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจัง โดยให้พุ่งเป้าไปที่การถ่ายทอดการพัฒนาวัตถุดิบอาหารสัตว์ทางเลือกใหม่ จากการใช้วัตถุดิบเหลือใช้ที่มีอยู่ เพื่อลดต้นทุนการผลิตอาหารให้กับสัตว์ในชุมชน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธนพัฒน์ สุระนรากุล เปิดเผยว่า ได้ดำเนินโครงการกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงโคเนื้อ จังหวัดนครพนม และจังหวัดมุกดาหาร โดยมีการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาการเกษตร และมหาวิทยาลัยนครพนม เป็นต้น มีการจัดทำคู่มือการเลี้ยงสัตว์ และการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่เครือข่ายและเกษตรกรที่สนใจอีกด้วย ตามหลักวิธีการปฏิบัติแบบต้นน้ำ (การผลิต) กลางน้ำ (แปรรูป) และปลายน้ำ (การตลาด) ถือว่าเป็นแผนการพัฒนาเพื่อสร้างสัตว์เศรษฐกิจทางเลือกใหม่ สร้างทั้งอาชีพหลักและอาชีพเสริม ให้เกิดรายได้แก่เกษตรกรและชุมชนอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน เกิดความมั่นคงทางด้านอาหารสัตว์ โดยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาเสริมรากฐานการเกษตรให้ดียิ่งขึ้น

โดยพัฒนาให้สัตว์ได้รับโภชนะทางอาหารจากยีสต์ โดยใช้กากมันสำปะหลังหรือเปลือกล้างของมันสำปะหลัง มาผ่านการหมักร่วมกับ น้ำตาลทรายแดง กากน้ำตาล ปุ๋ยยูเรีย ยีสต์ขนมปัง และน้ำ เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบอาหารเสริม แทนข้าวโพด หรือรำข้าว ในการผลิตเป็นอาหารสัตว์ เนื่องจากกากมันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบที่หาได้ง่ายในพื้นที่ เหลือทิ้งจากโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง และมีราคาที่ถูก ประมาณ 300-500 บาท /ตัน สามารถใช้เป็นวัตถุดิบได้ทุกชนิดของอาหารสัตว์ โดยวิธีการการนำมาใช้กับสัตว์ประเภทต่าง ๆ จะมีความแตกต่างกัน คือ กลุ่มสัตว์ใหญ่ ต้องใช้กากมันที่ผ่านการหมักตั้งแต่ 10 วันขึ้นไป – 90 วัน และกลุ่มสัตว์ปีกและสุกร จะใช้กากมันที่ผ่านการหมัก ตั้งแต่ 25 ขึ้นไป – 90 วัน โดยควรใช้กับสัตว์ระยะรุ่น ระยะขุน และระยะพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ หากเสริมอาหารผสมเข้าไปร้อยละ 30 ก็จะสามารถช่วยลดต้นทุนการเลี้ยงสัตว์ได้มาก เฉลี่ย 15.2 บาท/กก. เมื่อเทียบกับต้นทุนอาหารแบบสำเร็จรูป

นอกจากนี้ยังมีการผลิตนวัตกรรมปลายข้าวเทียม (ปลายข้าววิทยาศาสตร์) เพื่อใช้เสริม หรือแทนการใช้ปลายข้าว หรือข้าวโพด ในการผลิตอาหารสัตว์ ซึ่งมีโภชนะเทียบเท่ากัน แต่มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า อยู่ที่ 7.84 บาท/กก. เปรียบเทียบจากราคาข้าวโพดที่อยู่ที่ 11.35 บาท/กก. และปลายข้าวอยู่ที่ 13.24 บาท/กก. อีกทั้งปลายข้าวเทียมนี้ยังเข้าไปแก้ไขข้อบกพร่องของมันสำปะหลังได้ เกิดเป็นผลิตภัณฑ์วัตถุดิบแปรรูปชนิดใหม่ ที่ผู้เลี้ยงสามารถนำไปใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องปรับสูตรอาหารที่ใช้ เกิดความคล่องตัวมากขึ้นในภาวะขาดแคลนวัตถุดิบดั้งเดิม หรือผลกระทบจากปัจจัยอื่น ๆ อีกทั้งยังส่งเสริมเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังให้ขายผลผลิตได้มากขึ้น

“ชาวบ้านผู้เลี้ยงสัตว์ มีความพึงพอใจอย่างมาก กับการนำองค์ความรู้มาเผยแพร่ เนื่องจากไม่เคยได้รับการถ่ายทอดหรือแนะนำจากผู้ประกอบการอาหารสัตว์ เมื่อมีมหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาช่วยเหลือ จึงสามารถทำให้สัตว์ได้รับโภชนาการและเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งยังสามารถทำเองได้ง่าย ต้นทุนต่ำกว่าเดิม ตอนนี้คณะนักวิจัยได้ส่งต่อองค์ความรู้ไปยังปศุสัตว์จังหวัดนครพนม และขอผสานความร่วมมือกับ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.)ในการขยายผลองค์ความรู้ต่อไปยังเขตพื้นที่ จังหวัดร้อยเอ็ด มุกดาหารและยโสธร” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธนพัฒน์ สุระนรากุล กล่าวเพิ่มเติม

ด้าน ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช.ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ประโยชน์ องค์ความรู้จากผลงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และชุมชน โดยความร่วมมือของภาคส่วนวิจัยที่มีความพร้อมในการสนับสนุนองค์ความรู้ไปพัฒนากระบวนการผลิต การพัฒนาอาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับชุมชน ปราชญ์ชุมชน ปราชญ์เพื่อความมั่นคงและประชาชน ให้เป็นชุมชนที่เข้มแข็งและยั่งยืน สร้างฐานรากของการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

สำนักงานเขตหลักสี่ ร่วมกันทำกิจกรรมถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ

พระบรมราชินี วันที่ 3 มิถุนายน 2564
วันที่ 31 พฤษภาคม 2564 สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร

นายไพฑูรย์ ขัมภรัตน์ และนายสมบัติ กนกทิพยวรรณ ผู้อำนวยการเขตหลักสี่ และผู้บริหารลงพื้นที่ชุมชนตลาดหลักสี่ โดยมีนางบุญสม ชื่นทิวากร เป็นประธานชุมชน ได้มอบสิ่งของเพื่อบรรเทาในการยังชีพให้กับผู้ดูแลผู้สูงอายุผู้ป่วยติดเตียงและผู้พิการ และครอบครัวที่มีปัญหาสภาพการจ้างงาน ในสถานการณ์ covid 19 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี วันที่ 3 มิถุนายน 2564