เอส แอนด์ พี’ ร่วม ‘บ.ข้าวแม่’สู้ภัย โควิด-19

บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) นำโดย คุณมณีสุดา ศิลาอ่อน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร เดินหน้าส่งกำลังใจให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วยโรคโควิด-19 เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่สนับสนุนงานด้านโควิด-19 และประชาชนในชุมชนต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง โดยส่งมอบอาหารกล่องพร้อมทานเอส แอนด์ พี จำนวน 3,300 กล่อง และน้ำดื่ม มูลค่ารวมทั้งสิ้น 383,355 บาท ระหว่างวันที่ 8-26 พฤษภาคม 2564 ภายใต้โครงการ “S&P ร่วมใจสู้ภัย โควิด-19 ปี 2564”
คุณมณีสุดา ศิลาอ่อน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร กล่าวว่า “เอส แอนด์ พี มีความห่วงใยต่อสถานการณ์โรคโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของคนไทย โดยเอส แอนด์ พีได้รับการสนับสนุนข้าวกล้องงอก จากคุณหญิงพรรณทอง มณีศิลป์ บริษัท ข้าวแม่ จำกัด ซึ่งเป็นพันธมิตรของเอส แอนด์ พี เพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบสำหรับปรุงอาหารกล่องพร้อมทาน คุณภาพดี มีคุณค่าทางโภชนาการ ในการนี้ เอส แอนด์ พี ได้ส่งมอบอาหารกล่องพร้อมทานหลากหลายเมนู ปรุงสดใหม่ทุกวัน จำนวน 3,300 กล่อง และน้ำดื่มเอส แอนด์ พี เพื่อเป็นกำลังใจแก่บุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่สนับสนุนงานด้านโควิด-19 รวมทั้งบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนในชุมชนต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคโควิด-19 เพื่อให้อิ่มท้อง และช่วยเติมพลังให้แก่กันท่ามกลางสถานการณ์โควิดระลอกใหม่นี้

วช. จัดการประชุมพัฒนาศักยภาพวิทยากร เพื่อเตรียมพร้อมอบรม “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่)

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพสำหรับวิทยากรหลักสูตรการพัฒนานักวิจัย (Training for the Trainers) (แม่ไก่) ผ่านระบบประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Video Conference) ขึ้น

โดยมี นายสมปรารถนา สุขทวี รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการประชุมฯ ในวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖4 ณ ห้องประชุมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ชั้น ๒ อาคาร วช. ๑ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

นายสมปรารถนา สุขทวี รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยที่อยู่ในระบบวิจัยและนวัตกรรมให้มีความเป็นมืออาชีพ
โดยสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๓ – ๒๕๗๐ และยุทศาสตร์กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในการผลิตกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมที่มีคุณภาพ จึงได้ร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่ายด้านการวิจัยทั่วประเทศไทย ๑๓ หน่วยงาน ได้แก่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยนครพนม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาลัยชุมชนระนอง และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต ในการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยภายใต้โครงการสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ (ลูกไก่) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีวิทยากรด้านการวิจัยที่มีคุณภาพ ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ และมีความเป็นมืออาชีพในการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคนิคกระบวนการด้านการวิจัยต่าง ๆ
การประชุมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อให้วิทยากร (แม่ไก่) ที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนานักวิจัย (Training for the Trainers) (แม่ไก่) และได้รับการรับรอง ได้ทบทวนองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ
ให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ในปัจจุบัน และเพิ่มพูนความเป็นมืออาชีพในการเป็นวิทยากรหลักสูตรการพัฒนานักวิจัย (แม่ไก่) รวมทั้งเตรียมการเป็นวิทยากรในการฝึกอบรมโครงการ “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ที่กำหนดจัดขึ้นทั้ง ๔ ภูมิภาคของประเทศไทย ในเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม ๒๕๖๔
การประชุมในครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหารสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ คณะทำงานพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรม “โครงการพัฒนาวิทยากรหลักสูตรการพัฒนานักวิจัย (Training for the Trainers)” และ “โครงการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่” วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ วิทยากร (แม่ไก่) ที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนานักวิจัย (Training for the Trainers) (แม่ไก่)

และได้รับการรับรอง ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ จำนวนทั้งสิ้น ๓๕๐ คน

กทม. ผ่อนคลายเปิดสถานประกอบการ 5 ประเภท มีผล 1 มิ.ย.

(งดเว้น การอบตัว อบสมุนไพร หรืออบไอน้ำ และการนวดบริเวณใบหน้า)

1.พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์สถาน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น รวมถึงพิพิธภัณฑ์ในลักษณะทำนองเดียวกัน ศูนย์การเรียนรู้ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ อุทยานวิทยาศาสตร์ ศูนย์วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม แหล่งประวัติศาสตร์โบราณสถาน และหอศิลป์ ทั้งนี้ให้เปิดได้ภายใต้มาตรการที่เข้มงวด เช่น ห้ามเข้าเยี่ยมชมเป็นกลุ่มคณะที่มีการรวมตัวกันจำนวนมาก

2.สถานที่สักหรือเจาะผิวหนังหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ร้านทำเล็บ ทั้งนี้ให้เปิดได้ภายใต้มาตรการที่เข้มงวด เช่น หากพบการติดเชื้อในสถานบริการจำพวกนี้ ให้ปิด 14 วัน

  1. สถานที่ให้บริการควบคุมน้ำหนัก คลินิกเสริมความงาม สถานเสริมความงามและคลินิกเวชกรรมเสริมความงาม

ADVERTISEMENT

  1. สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ (ร้านสปา ร้านนวดเพื่อสุขภาพ ร้านนวดเพื่อเสริมความงาม)
  1. สถานประกอบการนวดแผนไทย(งดเว้น การอบตัว อบสมุนไพร หรืออบไอน้ำ และการนวดบริเวณใบหน้า) นวดฝ่าเท้า
  2. สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ และสวนดอกไม้ ทั้งนี้ให้เปิดภายใต้มาตรการที่เข้มงวด เช่น ห้ามไม่ให้มีการนั่งร่วมกลุ่ม และไม่ให้นำอาหารเข้ามารับประทาน ยกเว้นน้ำดื่ม

สำหรับสถานประกอบการประเภทอื่นๆ ยังคงให้ปิดตามประกาศปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่29) ต่อไปจนถึงวันที่ 14 มิ.ย.64

“จุรินทร์ – อลงกรณ์”ลงพื้นที่เพชรบุรีให้กำลังใจบุคลากรดูแลผู้ป่วยโควิด-19

พร้อมติดตามความคืบหน้าโครงการการค้าออนไลน์ของตลาดกลางสินค้าเกษตรท่ายางภายใต้ยุทธศาสตร์”1เปิด1ปิด”

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 30 พฤษภาคม ที่โรงพยาบาลสนามชั่วคราว(ศูนย์การภาพบำบัด) อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทาวงพาณิชย์ นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์พร้อมด้วยนายอภิชาติ สุภาแพ่ง ที่ปรึกษารมช.พาณิชย์ นายอรรถพร พลบุตร คณะที่ปรึกษารมช.สาธารณสุขและดร.กัมพล สุภาแพ่ง คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ.ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจกับบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งเป็นแรงงานชาวเมียร์มาและแรงงานไทยบางส่วน ในคลัสเตอร์ของโรงงานแคลคอมฯ

ทั้งนี้ได้มอบถุงยังชีพเป็นเครื่องอุปโภคบริโภค เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องนำไปแจกจ่ายให้กับประชาชนผู้ที่เดือนร้อนได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว เป็นการช่วยเหลือในเบื้องต้น โดยมี นายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี พร้อมด้วย นางวิพร แววศรีผ่อง นายอำเภอเขาย้อย นายแพทย์ สุทัศน์ ไชยยศ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี ร่วมให้การต้อนรับ

จากนั้น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และคณะ ได้เดินทางต่อไปยัง ตลาดกลางการเกษตรหนองบ้วยของสหกรณ์การเกษตรท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เพื่อพบปะพี่น้องกลุ่มเกษตรกรชาวจังหวัดเพชรบุรี และกลุ่มเกษตรชาวนาเกลือ3จังหวัด(เพชรบุรี-สมุทรสงคราม-สมุทรสาคร)พร้อมเดินเยี่ยมชมผลิตผลทางการเกษตรโดยเฉพาะความคืบหน้าโครงการพัฒนาแพลตฟอร์มการค้าออนไลน์ซึ่งมีบริษัทไปรษณีย์ไทยร่วมดำเนินการกับคณะอนุกรรมการอีคอมเมิร์ซของกระทรวงเกษตรฯ.และกระทรวงพาณิชย์ภายใต้ยุทธศาสตร์1เปิด1ปิดคือเปิดเศรษฐกิจให้เร็วที่สุดและปิดโควิดให้เร็วที่สุด โดยนายอลงกรณ์ได้ขอให้ทางรองนายกรัฐมนตรีช่วยประสานรัฐบาลให้ส่งวัคซีนมาเพิ่มให้เพชรบุรีโดยเร็วที่สุด
สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในจังหวัดเพชรบุรี วันนี้ (30 พ.ค.64) มียอดผู้ติดเชื้อ จำนวน 754 ราย รวมยอดสะสม 5,191 ราย ยังครองแชมป์เป็นอันดับที่ 2 ของประเทศไทย
นอกจากนี้ในส่วนของมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดเพิ่มเติม จังหวัดเพชรบุรีมีการประกาศล็อกดาวน์ พื้นที่ใกล้เคียงซึ่งพบการแพร่ระบาดคลัสเตอร์ใหม่ เพิ่มอีก 4 ตำบล ในอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ประกอบด้วย ตำบลเขาย้อย ตำบลหนองชุมพล ตำบลหนองชุมพลเหนือ และตำบลห้วยโรง อีกทั้งยังมีการเพิ่มจุดตรวจจุดสกัดทั้ง 4 ตำบล รวม 14 จุด เพื่อป้องกันการขนย้ายกลุ่มแรงงานที่มีความเสี่ยงสูงเข้า-ออก ในพื้นที่อีกด้วย

เตรียมจัดพิธีบวงสรวงยิ่งใหญ่ ในการกลับมาของ’ทับหลังปราสาทหนองหงษ์-เขาโล้น’

หลังจากบ้านเกิดนานกว่า 50 ปี อธิบดีกรมศิลปากร ยืนยันว่า ทับหลังปราสาทหนองหงส์ ของ จ.บุรีรัมย์ กับทับหลังปราสาทเขาโล้น ของ จ.สระแก้ว ที่ถูกลักลอบนำออกจากประเทศไทย นานกว่า 50 ปี เวลานี้ได้กลับมาถึงประเทศไทยแล้ว เป็นโบราณวัตถุประเภททับหลังปราสาท โดยก่อนหน้านี้มีทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ที่ถูกติดตามทวงคืนมาได้ เมื่อ 33 ปีก่อน และทับหลัง 2 รายการล่าสุดนี้ เคยส่งทีมข่าวเข้าไปสำรวจ ขณะที่ยังจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์เอกชน ที่สหรัฐอเมริกา กระทั่งหลายหน่วยงาน ร่วมกันผลักดันติดตามทวงคืนกลับสู่ประเทศได้

ทับหลังปราสาทเขาโล้น และทับหลังปราสาท หนองหงส์ ถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแล้วเมื่อ 20.00 น. วันที่ 28 พ.ค. 64 ตามการยืนยันของ นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เผยต่อรายการจะยังถูกยังเก็บและดูแลที่คลังภายในท่าอากาศยาน เพื่อที่จะเตรียมเคลื่อนย้ายไปใช้ในพิธีบวงสรวง ที่พิพิธภัณฑ์สถาแห่งชาติ พระนคร ในวันจันทร์ที่ 31 พ.ค.นี้

กรมศิลปากรจะนำไปจัดแสดงให้ประชาชนได้ชมที่พระนั่งอิศราวินิจฉัย ในพื้นที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่ง ชาติพระนคร เป็นเวลา 3 เดือน ส่วนโบราณวัตถุที่เป็นพระพุทธรูป 13 รายการ ซึ่งสหรัฐส่งมอบให้ไทยเมื่อ ต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา และเดิมมีกำหนดจะถึงไทยพร้อมกันนั้น ล่าสุด ยืนยันพระพุทธรูป 13 รายการดังกล่าว จะตามมาภายหลังโดยเที่ยวบินที่ดำเนินการโดยกระทรวงการต่างประเทศ

ส่วนขอพิจารณา รอบด้านก่อน การนำไปยังถิ่นเดิมเป็นเรื่องของอนาคต

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมจัดเสวนาของ 4องค์กร

วันนี้ที่ 29 พฤษภาคม 2564 โดยมีนายแพทย์สราวุฒิ บุญสุข อธิบดีกรมอนามัย นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว ททท. ดร. นิวัฒน์ ลิ้มสุขนิรันดร์ อธิบดีกรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และคุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล ประธานคณะอนุกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกีฬาร่วมหาแนวทางเปิดสวนสาธารณะหลังโควิด-19 คลี่คลาย

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับกรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และคณะอนุกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกีฬา ร่วมเสวนาแนวทางการเปิดสวนสาธารณะสำหรับประชาชนหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายกำหนดใช้มาตรการ 3 สร้าง ได้แก่ สร้างมาตรฐาน สร้างความปลอดภัย สร้างความมั่นใจ โดยเฉพาะการเปิดสวนสาธารณะเพื่อเป็นสถานที่ออกกำลังกาย เนื่องจากเป็นพื้นที่เปิด มีแสงแดด อากาศถ่ายเทสะดวก และมีพื้นที่กว้างขวางไม่แออัด น่าจะได้รับการผ่อนปรนเป็นลำดับแรก ทั้งนี้จะขับเคลื่อนผ่านแคมเปญ ตัดความเสี่ยงสร้างภูมิคุ้มกัน มุ่งมั่นป้องกันโควิด-19 เพื่อให้ประชาชนได้รับการประเมินความเสี่ยงสร้างภูมิคุัมกันโรคตามมาตรการป้องกันโรค และสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ในส่วนของ ททท.ยังคงเน้นย้ำการป้องกันตัวเอง ในการรักษาสุขอนามัย ใส่แมส ล้างมือ เว้นระยะ ไทยเซฟไทย เพื่อจะช่วยลดจำนวนการแพร่กระจายของเชื้อโรค เมื่อสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายก็จะนำมาสู่การเดินทางท่องเที่ยวที่สามารถสร้างเงินหมุนเวียนในประเทศมาก็ยิ่งขึ้น
นำเสนอโดยทีมข่าว #TourisTNews

โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

แม็คโคร ขับเคลื่อน “ซีพีร้อยเรียงใจ” สู้ภัยโควิด-19

บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) โดย นางศิริพร เดชสิงห์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการสื่อสารองค์กร ร่วมขับเคลื่อน โครงการซีพีร้อยเรียงใจ สู้ ภัยโควิด-19 ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ พร้อมด้วย นายวรวิทย์ เจนธนากุล กรรมการบริหารและรองบริษัท สยากรรมการผู้จัดการบริหาร บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร, นายพิชิต ธันโยดม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านธุรกิจองค์กร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น และ นายวิเชียร จึงวิโรจน์ กรรมการบริหารและรองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บมจ.ซีพี ออลล์ ด้วยการมอบอาหารและน้ำดื่ม แก่ผู้ป่วยโควิด-19 และบุคลากรทางการแพทย์ ให้แก่โรงพยาบาลสนามกองทัพบก โดยมี พลโท ชาญชัย ติกขะปัญโญ เจ้ากรมแพทย์ทหารบก, พลโท วิสันติ สระศรีดา เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก และ พลตรี เฟื่องวิทย์ เลาหสุรโยธิน เจ้ากรมสวัสดิการทหารบก เป็นผู้รับมอบ ณ โรงพยาบาลสนามกรมยุทธศึกษาทหารบก เขตดุสิต กรุงเทพฯ
นอกจากร่วมเป็นส่วนหนึ่งในโครงการซีพีร้อยเรียงใจฯ แล้ว แม็คโครยังยกระดับนโยบายด้านการช่วยเหลือสังคมเมื่อเกิดสถานการณ์ภาวะวิกฤตในทุกมิติ และทยอยส่งมอบสิ่งของจำเป็นแก่การดำรงชีพ รวมถึง สนับสนุนอุปกรณ์และสินค้าจำเป็นเพื่อการดูแลผู้ป่วย ชุดป้องกันการติดเชื้อหรือชุด PPE ให้แก่โรงพยาบาลสนาม โรงพยาบาล และชุมชนที่ได้รับผลกระทบทั่วประเทศด้วย

“สมศักดิ์” คาดเดือน มิ.ย. สภาถกร่างประมวลกม.ยาเสพติด

หวังทำให้เสร็จใช้ทันปี 65 ยันไม่มีมวยล้มต้มคนดู รับปากแล้วต้องทำให้สุดกำลัง ชี้ส.ส.-ส.ว.ช่วยกันรับผิดชอบทำกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ ตัดรากถอนโคนพ่อค้ายา

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงการพิจารณาร่างประมวลกฎหมายยาเสพติดที่รอการพิจารณาของที่ประชุมรัฐสภาว่า ตนว่าภายในเดือน มิ.ย.นี้จะได้รับการพิจารณา เพราะเป็นระเบียบวาระที่ได้ถูกบรรจุไว้โดยประธานรัฐสภาแล้ว โดยเป็นวาระการพิจารณาต่อจาก ร่าง พ.ร.บ. การออกเสียงประชามติ ซึ่งจริงๆ ตามวาระต้องมีการพิจารณาไปแล้ว แต่เนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 การประชุมจึงทำไม่ได้ต้องเลื่อนออกไป แต่ขณะนี้สภาได้เริ่มประชุมสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาแล้ว แต่การประชุมร่วมอาจจะมีปัญหาการจัดห้องประชุมที่ต้องเว้นระยะห่าง อาจจะนั่งกันไม่พอ ซึ่งตนคิดว่าหากจัดที่นั่งไว้ด้านหลังห้องประชุมแล้วมีลำโพงให้สมาชิกได้ฟัง และเมื่อถึงเวลาโหวตก็อาจจะให้เวลามากหน่อยเพื่อให้สมาชิกเข้ามาโหวตได้ น่าจะเป็นแนวทางที่ทำให้การประชุมร่วมผ่านไปได้ ซึ่งในการแปรญัตติตนจะขอปรับระยะเวลาการบังคับใช้หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษาจาก 120 วันเหลือ 30 วัน เพราะร่างกฎหมายฉบับนี้ใช้เวลาเลื่อนการพิจารณานานหลายเดือนแล้ว และเพื่อให้กฎหมายบังคับใช้ได้ทันปีงบประมาณ 2565

นายสมศักดิ์ กล่าวว่า สาระสำคัญของร่างประมวลกฎหมายยาเสพติดนั้น จะมีเรื่องของการยึดทรัพย์ตัดวงจรยาเสพติด ที่จะช่วยให้การทำงานของเจ้าหน้าที่ทำได้สะดวกและง่ายขึ้น และยังสามารถตรวจสอบยึดทรัพย์สินย้อนหลังตามมูลค่าของยาเสพติด หรือ แวลูเบท ได้ด้วย ซึ่งจะช่วยให้การป้องกันและปราบปรามยาเสพติดมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะจะช่วยตัดวงจรเครือข่ายยาเสพติดได้ถึงต้นตอ นอกจากนี้ยังมีปรับอัตราโทษของผู้ต้องหาคดียาเสพติดให้เหมาะสม เช่น หากมียาบ้าติดตัวข้ามแดนมาจากประเทศเพื่อนบ้าน 1-2 เม็ด เมื่อก่อนอาจจะถูกลงโทษติดคุกถึง 10 ปี แต่กฎหมายใหม่จะปรับให้เหมาะสมโดยขึ้นอยู่กับการพิจารณาของศาล ซึ่งจะเป็นการช่วยลดความแออัดในเรือนจำได้ ผู้เสพยาจะไม่เข้าสู่เรือนจำมาก เน้นไปที่การบำบัดและการยึดทรัพย์ตัดวงจรเครือข่ายผู้ค้ายาเสพติด

“กฎหมายฉบับนี้ผมอยากให้ทำให้เสร็จโดยเร็ว เพราะไม่อยากให้เวลากับพ่อค้ายาอีกต่อไปแล้ว ตัวผมเร่งทำกฎหมาย 100% อยู่แล้วเมื่อผมรับปากแล้วจะเร่งทำให้สุดกำลัง ยืนยันไม่มีมวยล้มต้มคนดูแน่นอน เพราะที่ผ่านมาอย่างกฎหมายปลดล็อกพืชกระท่อมผมก็เร่งทำจนสำเร็จได้ ซึ่งร่างประมวลกฎหมายยาเสพติด เป็นหนึ่งในกฎหมายปฏิรูปประเทศ ส.ส.และส.ว.ต้องช่วยกันรับผิดชอบทำให้สำเร็จ เพราะถูกบรรจุอยู่ในวาระการประชุมแล้ว ต้องช่วยกันทำให้ประเทศของเราดีขึ้น”นายสมศักดิ์ กล่าว

DSI เร่งสร้าง Academy พัฒนาบุคลากรด้านการสืบสวนสอบสวนระดับประเทศ

กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เร่งสร้างสถาบันการสืบสวนคดีพิเศษ (DSI Academy) ในพื้นที่ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ให้เป็นศูนย์ฝึกอบรมและศูนย์การเรียนรู้ในการสืบสวนและ
การสอบสวนคดีอาญาสำคัญระดับประเทศ เพื่อฝึกทักษะ ความเชี่ยวชาญด้านยุทธวิธีและด้านวิชาการ

แก่บุคลากร ตลอดจนเพื่อสร้างวิทยากรพี่เลี้ยงให้บุคลากรรุ่นต่อไป ซึ่งเป็นการพัฒนาบุคลากรให้สามารถตอบโจทย์การพัฒนาการสืบสวนสอบสวนระดับคุณภาพของประเทศ
กรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม มีภารกิจอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับคดีอาญาบางประเภทที่กำหนดให้อยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ตามพระราชบัญญัติ การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 ซึ่งการดาเนินคดีพิเศษจำเป็นต้องใช้บุคลากรที่มีองค์ความรู้ด้านกฎหมาย
มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการสืบสวนสอบสวน มีเทคนิค ทักษะในการปฏิบัติงานให้ทันสถานการณ์ อาชญากรรมร้ายแรงที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยในปัจจุบันมีการก่ออาชญากรรมหลากหลายรูปแบบ
มีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ยากแก่การควบคุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการพัฒนารูปแบบวิธีการกระทำความผิดอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ทั้งด้านพฤติกรรมที่การนำเทคโนโลยีคุณภาพสูงสมัยใหม่เข้ามาเป็นเครื่องมือ มีความ เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกับเครือข่ายระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 ได้กำหนดไว้ในมาตรา 18 และมาตรา 19 ให้เจ้าหน้าที่คดีพิเศษและพนักงานสอบสวนคดีพิเศษทุกคน ก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ ต้องสำเร็จการฝึกอบรมตามหลักสูตรสอบสวนคดีพิเศษที่กรมสอบสวนคดีพิเศษจัดให้มีขึ้น
จึงจะสามารถปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวได้
ด้าน พันตำรวจโท กรวัชร์ ปานประภากร อธิบดีกรมสอบสวนพิเศษ เปิดเผยว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ก่อสร้างสถาบันการสอบสวนคดีพิเศษ (DSI Academy) ที่จะมีความทันสมัยในระดับประเทศ และ เป็นไปตามมาตรฐานสากล อันเกิดจากความมุ่งมั่นในการพัฒนาระบบการสืบสวนสอบสวนให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล พัฒนาทรัพยากรบุคคลให้เป็นมืออาชีพ โดยการจัดหาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย เพื่อการพัฒนา ทั้งนี้ สถาบันการสอบสวนคดีพิเศษจะเป็นหน่วยงานสำหรับการพัฒนาบุคลากรกรมสอบสวน คดีพิเศษที่มีคุณภาพ ให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน สามารถดำเนินการสืบสวนสอบสวนคดีความผิดทางอาญา
ที่เป็นคดีพิเศษ ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ ดังนั้น บุคลากรทุกคนจะต้องมีองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ และต้องผ่านการฝึกอบรมทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ฝึกทักษะ ความเชี่ยวชาญ การฝึกยุทธวิธีในหลากหลายด้าน การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดเสวนาทางวิชาการ หรือการประชุมใหญ่ การสัมมนาของกรมสอบสวนคดีพิเศษ การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรสำหรับ การเข้าสู่ตำแหน่ง หลักสูตรพัฒนาความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และหลักสูตรเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการสืบสวนสอบสวน
เพิ่มทักษะความเชี่ยวชาญ ตลอดจนการจัดให้มีการอบรมฝึกทักษะเพื่อสร้างวิทยากรภายในกรมสอบสวนคดีพิเศษ ให้สามารถทำหน้าที่วิทยากรและพี่เลี้ยงในการปฏิบัติงาน โดยล่าสุดการก่อสร้างสถาบันการสอบสวนคดีพิเศษดังกล่าว มีความคืบหน้าไปกว่า 85% แล้ว และได้มีการปูสนามหญ้าบริเวณด้านหน้าเป็นที่เรียบร้อย พร้อมติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างระบบ 3 เฟต ซึ่งคาดว่าทั้งโครงการจะแล้วเสร็จปลายเดือนสิงหาคม 2564 ที่จะถึงนี้