โอลิมปิกเกมส์ เป็นมหกรรมกีฬาแห่งมวลมนุษย์ชาติ เป็นความฝันของนักกีฬาทั่วโลก มาร์ก อดัมส์ โฆษกไอโอซี ยันเดินหน้าตามแผน

ภาพจากมติชนสุดสัปดาห์

ความเคลื่อนไหวการจัดการแข่งขัน โอลิมปิกเกมส์ ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 23 ก.ค.-8 ส.ค.นี้ มาร์ก อดัมส์ โฆษกของไอโอซียืนยันว่า รับฟังความคิดเห็นของชาวญี่ปุ่น แต่จะไม่ปล่อยให้การต้ดสินใจมาจากความคิดเห็นของผู้อื่น เพราะทุกอย่างบอกกับไอโอซีว่า โอลิมปิกเกมส์เดินหน้าแข่งขันได้ตามแผนที่วางไว้แล้ว ถึงแม้จะมีกระแสต่อต้านในเมืองเจ้าภาพ ต่อการแพร่ระบาดของเชื้อที่กลายพันธุ์ของไวรัสโควิด-19 ละลอก 4 ที่ยังคงรุนแรงในประเทศ
ด้าน ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) เปิดเผยว่า เวลานี้มีทัพนักกีฬาไทยกว่า 400 คนจาก 20 สมาคมกีฬาที่เดินทางเข้ารับการฉีดวัคซีนแล้ว ซึ่ง กกท.พยายามจัดเร่งฉีดให้ตามแผนและความจำเป็นของแต่ละทีมกีฬา

และพยายามกระจายฉีดวัคซีนในกลุ่มนักกีฬาให้ได้มากที่สุดและเร็วที่สุด ไม่ว่าจะเป็นชุดที่ไปแข่งขันโอลิมปิกเกมส์หรือไม่

จนถึงตอนนี้ยังบอกไม่ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ว่าโตเกียว 2020 ในปี 2021 จะสามารถแข่งขันได้ เพราะกระแสการต่อต้านอาจจะรุนแรงมากขึ้น โดยที่คาดเดาไม่ได้ว่าในช่วง 2 เดือนก่อนการแข่งขันนี้จะบานปลายไปขนาดไหน แต่ในฐานะเจ้าภาพ ญี่ปุ่นที่ลงทุนในการเตรียมงานไปอย่างมหาศาล

เอ็นไอเอ เปิดม่าน “การประกวดรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2564

” รุกเฟ้นหานวัตกรรมเพชรน้ำดีเพื่อชิงรางวัลนวัตกรรมอันทรงเกียรติสูงสุดของประเทศไทย

กรุงเทพฯ 27 พฤษภาคม 2564 –สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) จัดกิจกรรม “การประกวดรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2564”ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Timeless Honor รางวัลแห่งเกียรติยศสูงสุดแห่งนวัตกรรม ล้ำค่าเหนือกาลเวลา” โดยมุ่งเชิดชูเกียรติคนไทยที่สร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมที่มีความโดดเด่น และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรหรือประเทศในหลากหลายมิติ นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างให้เกิดความภาคภูมิใจในศักยภาพของคนไทยผ่านการเผยแพร่ต้นแบบการพัฒนานวัตกรรมด้านต่างๆ สู่สาธารณชนในวงกว้าง รวมถึงกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวด้านนวัตกรรมในทุกภาคส่วนของสังคม เพื่อผลักดันประเทศไทยสู่การเป็น “ประเทศแห่งนวัตกรรม”

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA เปิดเผยว่า “รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติประจำปี 2564 ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Timeless Honor รางวัลแห่งเกียรติยศสูงสุดแห่งนวัตกรรม ล้ำค่าเหนือกาลเวลา” ถือเป็นรางวัลอันทรงเกียรติสูงสุดแห่งวงการนวัตกรรมไทยที่มีเส้นทางประวัติศาสตร์ที่ถูกสานต่อมาอย่างยาวนานกว่า 17 ปี โดยจะมีพิธีมอบรางวัลในวันที่ 5 ตุลาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับ “วันนวัตกรรมแห่งชาติ” พร้อมทั้งรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถด้านนวัตกรรมของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ในฐานะ “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” โดยที่ผ่านมา NIA ได้ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างระบบนิเวศและปัจจัยที่เอื้อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพผลงานนวัตกรรมและองค์กรในทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรเพื่อสังคมและชุมชน หรือนวัตกร เช่น การให้คำปรึกษา การให้เงินทุน และเครือข่ายทั้งด้านนโยบาย เทคโนโลยี และธุรกิจ เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรม สามารถพัฒนาต่อยอดและขยายฐานการเข้าถึงได้อย่างกว้างขวาง พร้อมกับสามารถค้นพบศักยภาพใหม่บนเวทีแห่งนี้ เพราะยุคนี้แม้จะมี “ผลงานนวัตกรรม” ที่สำเร็จและสร้างคุณประโยชน์ได้จริง แต่ก็ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ องค์ความรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี รวมถึงเครือข่ายต่างๆ ที่จะช่วยสนับสนุนให้ผลงานนวัตกรรมเหล่านั้นกลายเป็นผลงานนวัตกรรมที่สมบูรณ์แบบ และมีประสิทธิภาพ อันจะนำไปสู่การสร้างผลกระทบในเชิงบวกต่อเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการพัฒนาธุรกิจและนโยบายนวัตกรรมของประเทศไทย พร้อมก้าวสู่การเป็น “ประเทศแห่งนวัตกรรม” ต่อไป”
ดร. กริชผกา บุญเฟื่อง รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม NIA กล่าวว่า “รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2564
จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี 2548 เพื่อประกาศเกียรติคุณและเชิดชูเกียรติคนไทยที่ริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานที่มีความเป็นนวัตกรรมโดดเด่นและสร้างคุณค่าต่อประเทศชาติในหลากหลายด้าน ซึ่งถือเป็นฟันเฟืองหนึ่งที่สำคัญในการสนับสนุนให้เกิดความตื่นตัวด้านนวัตกรรมในทุกภาคส่วนของสังคมไทย โดยแบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก

ด้านเศรษฐกิจ – ผลงานนวัตกรรมที่สร้างให้เกิดคุณค่าเชิงพาณิชย์ และเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศ

ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม – ผลงานนวัตกรรมที่สร้างให้เกิดคุณค่าต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม

ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการ – ผลงานนวัตกรรมที่นำการออกแบบมาสร้างให้เกิดมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์และบริการ

ด้านสื่อและการสื่อสาร – ผลงานนวัตกรรมและบุคคลที่มีความสร้างสรรค์ในการนำเสนอเนื้อหาและการสื่อสารรูปแบบใหม่ และ

ด้านองค์กรนวัตกรรมดีเด่น – องค์กรที่มีการบริหารจัดการนวัตกรรมอย่างโดดเด่น ทั้งระดับยุทธศาสตร์ ระดับกระบวนการ และระดับโครงสร้างพื้นฐานขององค์กร

สำหรับรางวัลชนะเลิศในแต่ละประเภทจะได้รับพระบรมรูป “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” พร้อมสิทธิพิเศษอื่นๆ จาก NIA เช่น การพัฒนาศักยภาพทางนวัตกรรมจากการเข้ารับการอบรมและศึกษาดูงานนวัตกรรมองค์กรชั้นนำด้านนวัตกรรมในต่างประเทศ การพัฒนาต่อยอดการลงทุนผลงานนวัตกรรมและขยายโอกาสทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานนวัตกรรมผ่านสื่อในวงกว้างเพื่อเพิ่มช่องทางการรับรู้สู่สาธารณะมากขึ้น”

หากมั่นใจว่าพร้อม! อย่ารอช้า เพราะบางครั้ง “โอกาส” มักจะมาในจังหวะที่พอดีแบบไม่ทันตั้งตัว สนใจสมัครคลิ๊กได้ที่ https://award.nia.or.th หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อคุณพัชรีนาถ 08-0070-2999 ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 นี้เท่านั้น

วช. เสริมนักวิจัยจุฬาฯ คว้ารางวัลจากจีน พัฒนาสมุนไพรนาโนสูตรเย็นบรรเทาอาการปวดเมื่อย

            
     จากปัญหาการนั่งทำงาน หรือการใช้คอมพิวเตอร์รวมถึงโทรศัพท์มือถือ เป็นระยะเวลานานมักจะทำให้เกิดภาวะปวดเมื่อยหรือภาวะตึงของกล้ามเนื้อตามมา ทีมนักวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้คิดค้นนวัตกรรมสเปรย์ที่มีส่วนผสมของสมุนไพรไทย ในรูปแบบสเปรย์นาโนสูตรเย็น เพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อย คลายความเครียด และความกังวลจากอาการปวดเมื่อยที่เกิดจากการทำงาน  และจากภาวะออฟฟิศซินโดรม
        สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)  กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำนักวิจัย และนักประดิษฐ์ จากหน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วมการประกวดนวัตกรรม “The 5th China (Shanghai) International Invention & Innovation Expo” ณ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ในรูปแบบออนไลน์ เมื่อวันที่ 15 - 17 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งนวัตกรรม “สเปรย์สมุนไพรนาโนสูตรเย็นบรรเทาอาการปวดเมื่อย” ของนางสาววราภรณ์  โชติสวัสดิ์, และคณะ แห่งหน่วยชีวเคมี ภาควิชาสรีรวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ได้เข้าร่วมประกวดจนสามารถคว้ารางวัลเหรียญทองแดง มาครอง
นางสาววราภรณ์ โชติสวัสดิ์ หัวหน้าทีมนักวิจัย เปิดเผยว่า กระบวนการวิจัยเริ่มจากการนำผักคราดหัวแหวน และน้ำมันหอมระเหยระกำมาทำเพราะเป็นพืชสมุนไพรที่หาได้ง่ายบวกกับมีสรรพคุณลดการปวดตึง หรืออักเสบของกล้ามเนื้อ ส่วนน้ำมันหอมระเหยระกำมีสรรพคุณช่วยระงับอาการปวดชนิดใช้เฉพาะที่สำหรับบรรเทาอาการปวดที่ไม่รุนแรง เช่น ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อจากภาวะตึง ซึ่งจะทำให้รู้สึกเย็นเมื่อสัมผัสถูกผิวหนังในระยะแรก จากนั้นจะค่อย ๆ อุ่นขึ้น ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยได้ สมุนไพรอีกชนิดหนึ่งคือ ผักคราดหัวแหวนมีสารสกัดที่สำคัญ คือ สารสปิแลนทอล มีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ และยังมีฤทธิ์โดดเด่นที่ช่วยลดการอักเสบและลดการปวดกล้ามเนื้อได้ดี ทีมนักวิจัยได้นำสมุนไพรทั้งสองมาต่อยอดเป็นภูมิปัญญาไทย โดยนำสมุนไพรไทยทั้งสองชนิดนี้มาเป็นส่วนผสมและเตรียมในรูปแบบสเปรย์นาโนสูตรเย็น
นวัตกรรมนาโนเทคโนโลยีนี้ช่วยออกฤทธิ์ได้ยาวนานขึ้น บรรเทาภาวะปวดเมื่อยหรือตึงของกล้ามเนื้อได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับนวัตกรรมระบบนําส่งด้วยนาโนเทคโนโลยี หรือ ตัวพาอนุภาคนาโน เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลาย ว่าเป็นกุญแจสําคัญของการเพิ่มประสิทธิภาพของสารออกฤทธิ์สําคัญต่าง ๆ การนำส่งสารสำคัญผ่านทางผิวหนัง อนุภาคนาโนไขมัน มีข้อดีในการนำส่งตัวยาหรือสารสำคัญได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงกว่าระบบอื่น ๆ ช่วยเพิ่มการแทรกผ่านผิวหนัง ทำให้การซึมผ่านของตัวยาหรือสารสำคัญที่ปล่อยออกจากอนุภาคเพิ่มสูงขึ้น และจากสรรพคุณในการบรรเทาอาการปวดและการอักเสบของน้ำมันหอมระเหยระกำ และสารสปิแลนทอลจากผักคราดหัวแหวน การใช้สารสำคัญทั้งสองชนิดร่วมกันย่อมส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการรักษาหรือบรรเทาอาการปวดและการอักเสบได้ดี จึงได้ประดิษฐ์อนุภาคนาโนอินทรีย์กักเก็บน้ำมันหอมระเหยระกำ และสารสปิแลนทอลจากผักคราดหัวแหวน ด้วยเทคโนโลยีการกักเก็บระดับนาโน ไม่ทำให้เกิดการระคายเคือง เพิ่มประสิทธิภาพการซึมผ่านผิวหนัง โดยไม่ทิ้งคราบมันบนผิว และไม่เหนียวเหนอะหนะ รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมการใช้สมุนไพรไทย ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่หาได้ง่ายในประเทศ
การพัฒนาต่อยอด ขณะนี้ผลิตภัณฑ์ได้อยู่ในขั้นตอนการยื่นขอเลข อย. เพื่อให้สามารถเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ได้จริงตามกฎหมายอาหารและยาของประเทศไทย และในอนาคตทางทีมนักวิจัยหวังว่านวัตกรรมจะช่วยเพิ่มขีดจำกัดในการพัฒนาประเทศ รวมถึงส่งเสริมการใช้สมุนไพรไทยที่หาได้ง่ายในประเทศเพื่อให้เกษตรกรได้มีรายได้จากการปลูกพืชสมุนไพร อีกด้วย
ด้าน ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัย กล่าวว่า วช. ได้ส่งเสริมและสนับสนุนนักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทยในการนำผลงานที่มีคุณภาพและมีศักยภาพด้านการวิจัยและด้านการประดิษฐ์คิดค้น เข้าร่วมการประกวดผลงานในเวทีระดับนานาชาติเสมอมา ทำให้ผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมของคนไทยที่ไปเผยแพร่ เป็นที่รู้จักสามารถนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดผลงาน และเปิดโอกาสให้มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นช่องทางให้นักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทยเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ อันจะนำไปสู่ผลงานที่ได้มาตรฐานเกิดการยอมรับจากผู้ใช้งาน และเป็นที่ต้องการทางการตลาดและก้าวสู่เชิงพาณิชย์ต่อไป

อีกหนึ่งผลงาน”5ยุทธศาสคร์เฉลิมชัย”

“อลงกรณ์”เผยพร้อมตั้งสภาเกษตรอินทรีย์พีจีเอส. เป็นครั้งแรกในประเทศไทยพร้อมสร้างระบบบิ๊กดาต้าออร์กานิค(Organic Big Dataล่าสุดขยายพื้นที่เกษตรอินทรีย์เกือบ4แสนไร่
พร้อมเดินหน้าเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง(Urban Farming)จัดตั้งกลไกขับเคลื่อนทั่วประเทศแล้ว

วันนี้ (27 พฤษภาคม 2564) นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน เปิดเผยถึงผลการประชุม ครั้งที่ 3/2564 ผ่านระบบ ZOOM โดยมี นายวิชัย ไตรสุรัตน์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงฯ นายมนัส กำเนิดมณี ผู้ตรวจราชการกระทรวงฯ นายธีระ วงษ์เจริญ ประธานอนุกรรมการเกษตรทฤษฎีใหม่และเกษตรผสมผสาน ผู้แทนสภาเกษตรกรแห่งชาติ นายปริญญา พรศิริชัยวัฒนา ประธานอนุกรรมการเกษตรอินทรีย์ ประธานชมรมเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย คณะอนุกรรมการวนเกษตรและเกษตรธรรมชาติตัวแทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน และภาคเกษตรกร ร่วมหารือในประเด็นสำคัญ ในการติดตามความก้าวหน้าการขับเคลื่อน โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง การดำเนินงานของคณะทำงานด้านเกษตรอินทรีย์ ด้านวนเกษตรและเกษตรธรรมชาติ และด้านเกษตรทฤษฎีใหม่และเกษตรผสมผสาน เพื่อการพัฒนาภาคการเกษตรไทยตาม “5 ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย” ของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ (ประธานคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน)ตามแนวทางศาสตร์พระราชา สรุปผลการประชุมเฉพาะวาระสำคัญได้ดังนี้
1.โครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง(Sustainable Urban Agriculture Development Project)มีเป้าประสงค์ในการพัฒนาเกษตรกรรมและเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองพร้อมกับการพัฒนาการเกษตรในเมือง (Urban Farming) ภายใต้นโยบายการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ประการของสหประชาชาติเพื่อโลกอนาคต (UN Sustainable Development Goals : 17 aspects for future world) ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายที่ 11 การพัฒนาเมืองและชุมชนอย่างยั่งยืน (Sustainable cities and communities: Make cities inclusive, safe, resilient and sustainable) ซึ่งในปี 2562 ประเทศไทยมีประชากรในเมืองมากกว่าในชนบทเป็นครั้งแรกตามปรากฏการณ์การขยายตัวของเมือง (Urbanization) ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะความไม่มั่นคงทางอาหารยิ่งขึ้นโดยอาศัยหน่วยงานภาครัฐ เอกชน เกษตรกร และภาคประชาชน ร่วมบูรณาการขับเคลื่อนพร้อมกัน เพื่อการพัฒนาและเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองให้เกิดประสิทธิภาพและเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั่วประเทศ ทั้งในระดับเขต ระดับจังหวัด เขตปกครองท้องถิ่น พื้นที่อยู่อาศัย สถานที่สำคัญต่างๆ ให้เป็นแหล่งผลิตอาหารสร้างความมั่นคงทางอาหารในเมืองและเพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ เช่น มีการจัดทำ QR code ให้ความรู้เกี่ยวกับชนิดของพืช และสมุนไพร รวมทั้งการใช้ประโยชน์ โดยจัดตั้งกลไกการขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง ดังนี้
1) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง ระดับเขต ตามการแบ่งเขตตรวจราชการของกระทรวงฯ
2) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง ระดับจังหวัด
3) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
4) คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองในพื้นที่วัด (Green Temple)
5) คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองในพื้นที่วิทยาลัย (Green College)
6) คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองในพื้นที่โรงเรียน (Green School)
7) คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองในพื้นที่มหาวิทยาลัย (Green Campus
8) คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองในพื้นที่การเคหะแห่งชาติ
9) คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองระดับชุมชนและท้องถิ่น (Green Community)
10) คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในพื้นที่อาคารชุด (Green Condo)
2.การจัดตั้งสถาบันเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณาของสำนักพัฒนาระบบบริหาร ก่อนการดำเนินการต่อไป
3.การจัดทำระบบฐานข้อมูลกลางเกษตรอินทรีย์ (Organic Big Data Center)โดยสามารถเข้าชมได้ที่ https://organicmoac.ldd.go.th ข้อมูลปัจจุบัน ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2564มีพื้นที่เกษตรอินทรีย์ในฐานข้อมูลออนไลน์ รวมทั้งสิ้น 397,037.24 ไร่
4.ความก้าวหน้าการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารสภาเกษตรอินทรีย์ พี จี เอส แห่งประเทศไทยขณะนี้พร้อมดำเนินการจัดตั้งโดยมี องค์ประกอบและอํานําจหน้ําที่ ประกอบด้วย ประธํานกรรมกําร 1 คน กรรมกํารและ เลขํานุกําร 1 คน โดยกํารคัดเลือกจํากคณะกรรมกํารบริหํารสภําฯ และกรรมกําร จํานวน 20 คน แบ่งเป็น ผู้แทนองค์กรจัดระบบ (3 แห่ง) เกษตรกรเกษตรอินทรีย์ PGS 4 ภําค (8 คน), ผู้แทนสถําบันกํารศึกษํา (4 แห่ง), ผู้ประกอบกํารด้ํานกํารผลิตเกษตรอินทรีย์ และจําหน่ํายเกษตรอินทรีย์ PGS 4 แห่ง, เกษตรกรรุ่นใหม่ประเทศไทย (1 คน), สมําคม ผู้บริโภคอินทรีย์ไทย 1 แห่ง และผู้แทนภําครัฐ (1 แห่ง) โดยมีอํานําจหน้ําที่หลัก ได้แก่ กํารกําหนดกรอบเกษตรอินทรีย์ระบบกํารรับรองแบบมีส่วนร่วม จัดระบบกํารกํากับดูแล และติดตําม กํารเทียบเคียง กํารยอมรับกระบวนกํารรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วน ร่วม รวมทั้งสื่อสําร ประชําสัมพันธ์ จัดทําฐํานข้อมูลเกษตรอินทรีย์ระบบกํารรับรอง แบบมีส่วนร่วม
5.ความก้าวหน้าโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ขณะนี้มีผลดำเนินโครงการไปแล้ว โดยมีเป้าหมาย 4009 ตำบล 648 อำเภอ 75 จังหวัด จำนวนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 29,706 ราย และมีจ้างงานจำนวน 14,076 ราย
5.คู่มือสำหรับประชาชนในการปฏิบัติตามข้อตกลงบันทึกความเข้าใจการส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยที่ประชุมมอบหมายให้จัดทำคู่มือสำหรับประชาชนในเรื่องการส่งเสริมไม้เศรษฐกิจเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่
6.นิยามใหม่ “วนเกษตร” ซึ่งผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการบริการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนแล้วจะทำให้การพัฒนาวนเกษตรขยายตัวเพิ่มขึ้นหลังจากติดกรอบนิยามเดิมมาเป็นเวลานานหลายปี

  1. เรื่องกํารจัดตั้งสถาบันเกษตรอินทรีย์แห่งชําติ (องค์กํารมหําชน)
    มีความคืบหน้าหลังจากคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนเห็นชอบในหลักการเมื่อวันที่13พ.ค.ที่ผ่านมาขณะนี้ปลัดกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ ได้มอบให้สํานักพัฒนําระบบบริหําร สํานักงําน ปลัดกระทรวงเกษตรพิจารณาดำเนินการต่อไปแล้ว

ตามฝันลูก! เนวินคอนเฟิร์มปล่อย ศศลักษณ์ ซบชุนบุค

บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
ศศลักษณ์ ไหประโคน
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด

ตลาดนักเตะ

JEONBUK MOTORS
แฟนเพจ ลุงเนวิน ยืนยันปล่อย ศศลักษณ์ ซบทีมแชมป์เคลีกปีล่าสุด ด้วยสัญญายืมตัว 6 เดือน

แฟนเพจ ลุงเนวิน ยืนยันปล่อย ศศลักษณ์ ไหประโคน วิงแบ็คซ้ายตัวเก่ง ย้ายไปอยู่กับ ชุนบุค ฮุนได มอร์เตอร์ส ทีมแชมป์เคลีก ปีล่าสุดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ด้วยสัญญายืมตัว 6 เดือน

ดาวเตะวัย 25 ปี ตกเป็นข่าวเชื่อมโยงกับอดีตแชมป์เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก 2 สมัย มาตั้งแต่ช่วงต้นปี แต่เป็นช่วงที่ฤดูกาลโตโยต้า ไทยลีก ยังไม่จบก่อนที่ดีลจะเงียบไป กระทั่งล่าสุดมีการย้ายทีมกันเกิดขึ้นแน่นอนแล้ว

อ่านบทความต่อด้านล่าง
เมื่อเวลาเหมาะสม มาถึง
ลูกต้องไปพิสูจน์ตัวเอง
ไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ
เมื่อมีโอกาส ต้องสู้ให้เต็มที่
ต้องประกาศให้ทุกคนรู้ว่า
คนพันธุ์บุรีรัมย์
เมื่อเดินหน้าสู้แล้ว ต้องไม่มีถอย
เมื่อลงสนามแล้ว ต้องไม่มีวันยอมแพ้
6เดือนกับสโมสรใหม่ ด้วยสัญญายืมตัว
สู้ให้เต็มที่ คนทางนี้ จะเป็นกำลังใจ
ก้าวไปสู่ความสำเร็จ ตามความฝันของลูก
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด สู้!!!
เนวิน ชิดชอบ
โปรแกรมถ่ายทอดสดฟุตบอล – ดูบอลสดคืนนี้ (พรีเมียร์ลีก, ไทยลีก, ลาลีกา, บุนเดสลีกา, แชมเปี้ยนส์ลีก, ฯลฯ)
แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ถ่ายช่องไหน? วิธีดูแมนฯ ยูฯ พบบียาร์เรอัล
จ้าวลูกหนังผู้ดี! ทำเนียบแชมป์ลีกสูงสุดอังกฤษ (1888-2021)
ดาวซัลโวพรีเมียร์ลีก 2020-21
สำหรับ ศศลักษณ์ ไหประโคน จะย้ายไปอยู่กับ ชุนบุค ฮุนได มอร์เตอร์ส ในฐานะโควตาอาเซียน และ คาดว่าจะเดินทางไปอยู่กับทีมช่วงเดือนมิถุนายน 2564 หลังภารกิจช่วย ทีมชาติไทย ลุยฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย รอบ 2 ที่ยูเออี

“เฉลิมชัย”สั่งกรมชลประทาน-กรมประมงรับมือพายุไซโคลน”ยาอาส”เต็มพิกัดพร้อมช่วยเหลือประชาชนทันที

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แถลงข่าวประจำสัปดาห์ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์วันนี้(26 พ.ค. 64)ว่า

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ห่วงใยประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากพายุไซโคลน”ยาอาส”จึงสั่งการให้กรมชลประทานและกรมประมงเตรียมความพร้อมเต็มพิกัดเพื่อรับมือพายุไซโคลน”ยาอาส”ซึ่งเป็นมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่มีกำลังแรงขึ้นพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งโดยระดมเครื่องจักรเครื่องมือและเจ้าหน้าที่ให้สามารถช่วยเหลือประชาชนและชาวประมงได้ทันที ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาแจ้งเตือนมาล่าสุดว่าพายุไซโคลน “ยาอาส” จะเคลื่อนขึ้นฝั่งรัฐโอริสสา-รัฐกัลกัตตาของอินเดียในวันนี้ส่งผลให้ 4 จังหวัดภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งจนถึงวันที่ 27 พ.ค. โดยคลื่นลมในทะเลอันดามันมีกำลังแรง มีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
“ท่านรัฐมนตรียังกำชับให้หน่วยงานกรมชลประทานและกรมประมงในพื้นที่ประชาสัมพันธ์ถึงสถานการณ์น้ำรวมทั้งการแจ้งเตือนต่างๆ ไปยังประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนให้ได้มากที่สุด”

ทางด้านนายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า กรมชลประทานได้เตรียมความพร้อมรับมือพายุไซโคลน”ยาอาส”ตามข้อสั่งการของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ด้วยการกำหนดพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยซ้ำซาก กำหนดเจ้าหน้าที่ประจำพื้นที่เสี่ยง เพื่อร่วมบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการแจ้งเตือนประชาชน การจัดสรรทรัพยากรเครื่องจักร เครื่องมือ อาทิ เครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ เข้าไปประจำพื้นที่เสี่ยง เพื่อให้สามารถช่วยเหลือประชาชนได้ทันที
รวมทั้งติดตามวิเคราะห์แนวโน้มสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด บริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำให้อยู่ในเกณฑ์เก็บกัก(RULE CURVE) โดยพิจารณาปรับลดการระบายให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ ใช้อาคารชลประทานในการบริหารจัดการน้ำตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ

นายอลงกรณ์กล่าวต่อไปว่า นอกจากการรับมือพายุไซโคลน”ยาอาส”แล้ว ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ติดตามสถานการณ์ฝนในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาพบว่ามีปริมาณฝนลดลงในพื้นที่ตอนบนของประเทศจึงสั่งการให้กรมชลประทานเร่งดูแลบริหารจัดการน้ำและประสานการทำงานกับกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เพื่อปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่ทางตอนบนของประเทศเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากในช่วงนี้ทางตอนบนยังคงมีฝนตกน้อย ประกอบกับปริมาณน้ำต้นทุนในเขื่อนต่างๆไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนให้เกษตรกรที่ทำการเพาะปลูกข้าวต่อเนื่องหรือข้าวนาปีได้อย่างเต็มศักยภาพ

สำหรับสถานการณ์น้ำและการจัดสรรน้ำล่าสุดวันนี้ กรมชลประทานรายงานว่า
อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 35,564 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 47 ของความจุอ่างฯรวมกัน ยังสามารถรองรับน้ำได้รวมกันประมาณ 40,504 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา(เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 8,540 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 34 ของความจุอ่างฯรวมกัน ยังสามารถรองรับน้ำได้รวมกันอีกประมาณ 16,331 ล้าน ลบ.ม. สำหรับการเตรียมพร้อมใช้พื้นที่ลุ่มต่ำรองรับน้ำนอง กรมชลประทานได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2560 ด้วยการใช้พื้นที่อย่างเต็มศักยภาพ ทั้งพื้นที่ลุ่มต่ำทุ่งบางระกำและพื้นที่ลุ่มต่ำเจ้าพระยา 13 ทุ่ง ได้แก่ 1) ทุ่งฝั่งซ้ายชัยนาท-ป่าสัก 2) ทุ่งป่าโมก 3) ทุ่งเจ้าเจ็ด 4) ทุ่งบางกุ้ง 5) ทุ่งผักไห่
6) ทุ่งโพธิ์พระยา 7) ทุ่งเชียงราก 8 ) ทุ่งท่าวุ้ง 9) ทุ่งบางกุ่ม 10) ทุ่งบางบาล-บ้านแพน 11) ทุ่งพระยาบรรลือ 12) ทุ่งรังสิตใต้ 13) ทุ่งบางระกำ รวมพื้นที่รับน้ำประมาณ 1,410,267 ไร่

“ปรพล อดิเรกสาร” ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มธ. คนใหม่


คำสั่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่งตั้งกรรมการประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์ (สืบแทน) โดยมีการแต่งตั้ง นายปรพล อดิเรกสาร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ดำรงตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิ สืบแทน นายสุชาติ วิริยะอาภา
มีหน้าที่และอำนาจคือ วางนโยบายและแผนงานของคณะหรือวิทยาลัยให้สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัย วางระเบียบและออกประกาศทางการศึกษาของคณะหรือวิทยาลัย ทั้งนี้ โดยไม่ขัดต่อข้อบังคับระเบียบ และประกาศของมหาวิทยาลัย รวมทั้งวางระเบียบและออกประกาศอื่นตามที่สภามหาวิทยาลัย มอบหมาย พิจารณาหลักสูตรและรายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตรสำหรับคณะหรือวิทยาลัยเสนอ คณะกรรมการนโยบายวิชาการ เพื่อเสนอต่อสภามหาวิทยาลัยวางหลักเกณฑ์และกำกับดูแลการวัดผล ประเมินผล และควบคุมมาตรฐานการศึกษาของคณะหรือวิทยาลัย
นอกจากนั้นยังมีหน้าที่และอำนาจในการให้คำปรึกษาและเสนอความเห็นต่อคณบดี พิจารณางบประมาณของคณะและวิทยาลัยเพื่อเสนออธิการบดี กำกับดูแลการบริหาร การเงิน การคลัง การพัสดุ สถานที่ และทรัพย์สินของคณะ หรือวิทยาลัย ให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ และประกาศของมหาวิทยาลัย แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งเพื่อกระทำการใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ ของคณะกรรมการประจำคณะหรือวิทยาลัย ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่สภามหาวิทยาลัยหรืออธิการบดีมอบหมาย

วช. สนับสนุน นักวิจัย ม.นเรศวร ต่อยอดงานวิจัยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออินทผลัมสู่เชิงพาณิชย์

คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัด

พิษณุโลก เป็นแห่งแรกที่ประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออินทผลัมจากหน่อข้างพันธุ์ดี โดยเริ่มเผยแพร่ผลงานวิจัยครั้งแรกในวารสารเชิงวิชาการ “วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์ ปีที่ 3 (พิเศษ 1)” และ “วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ฉบับ 47 (พิเศษ 3)” ในปี 2559 และนับเป็นการสร้างความฮือฮาในวงการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในประเทศไทยเป็นอย่างมาก นับเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจการเกษตร และปลูกกระแสอินทผลัมให้เป็นที่สนใจของคนไทย

จนมาถึงปัจจุบัน นักวิจัยได้พัฒนางานวิจัยและต่อยอดเพื่อหวังผลิตต้นพันธุ์อินทผลัมให้ออกสู่ตลาดในเชิงพาณิชย์ได้ ในปี 2564 ทีมวิจัยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.)ให้ทำการศึกษาวิจัย เรื่อง การคัดเลือกสายพันธุ์และการขยายพันธุ์มะพร้าวน้ำหอมและอินทผลัมเชิงพาณิชย์ โดยมุ่งพัฒนาต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์และถ่ายทอดให้กับบริษัทเอกชน เพื่อลดการนำเข้าต้นพันธุ์อินทผลัมจากต่างประเทศ และให้ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตต้นพันธุ์อินทผลัมส่งออกในอนาคต
ผศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า “อินทผลัมเป็นพืชที่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี หากมีการจัดการสภาพแวดล้อมที่ดี ได้แก่ ดิน ปุ๋ย และน้ำ จะยิ่งทำให้ต้นอินทผลัมมีความสมบูรณ์และให้ผลผลิตสูง ถึงแม้เราจะทราบกันดีว่าอินทผลัมสามารถทนแล้งได้ดี แต่ไม่ได้หมายความว่าอินทผลัมชอบแล้ง พืชทุกชนิดหากได้รับปริมาณธาตุอาหารและน้ำอย่างเหมาะสมก็จะให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ แต่อย่างไรก็ตามเกษตรกรไม่ควรปล่อยปะละเลยเรื่องแมลง โดยเฉพาะด้วงงวง ซึ่งเป็นแมลงศัตรูที่มีความสำคัญมาก เมื่อตัวเต็มวัยว่างไข่และตัวอ่อนเจริญกัดกินยู่ภายในลำต้นอินทผลัมแล้วเป็นเรื่องยากที่จะกำจัดได้ ส่วนใหญ่ต้นอินทผลัมที่ถูกด้วงงวงทำลายมักจะตายในที่สุด ดังนั้น จึงควรหมั่นตรวจแปลง และป้องกันกำจัดด้วยวิธีกลและใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและปลอดภัย”
ผศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท ยังกล่าวต่ออีกว่า “ปัจจุบันประเทศไทยต้องนำเข้าตันพันธุ์อินทผลัมจากแลปเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อต่างประเทศ จึงทำให้ราคาสูงและราคาเพิ่มขึ้นทุกปี ในขณะเดียวกันนักวิจัยในประเทศก็มีองค์ความรู้และมีฝีมือไม่แพ้นักวิจัยต่างประเทศ ถึงแม้ว่าจะมีประสบการณ์ไม่มากเท่ากับนักวิจัยในต่างประเทศก็ตาม ในอนาคตเรา (ประเทศไทย) ก็หวังจะเป็นผู้ผลิตต้นพันธุ์อินทผลัมที่สำคัญในภูมิภาคนี้”
ดร.นพรัตน์ อินถา นักวิจัย ได้กล่าวว่า “การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออินทผลัมเพื่อให้ได้ต้นพันธุ์ดีเพศเมีย จะต้องนำหน่อข้างหรือช่อดอกมาเพาะเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อ หรือ เลี้ยงในอาหารสังเคราะห์ เพื่อชักนำให้เกิดแคลลัส (callus) จากนั้น จึงชักนำให้เป็นต้นอ่อนขนาดเล็ก จากนั้นชักนำให้เกิดราก และเลี้ยงจนได้ต้นอ่อนที่ใบและรากที่สมบูรณ์ ใช้ระยะเวลาประมาณ 2 ปี จึงย้ายออกจากขวดหรือหลอดทดลอง แล้วนำไปปลูกอนุบาลในโรงเรือนอนุบาลพืช อีกประมาณ 12 เดือน จึงจะนำไปปลูกในแปลงปลูกได้ แต่หากต้องการต้นพันธุ์จำนวนมากก็ต้องใช้ระยะเวลามากขึ้นไปตามจำนวนต้นพันธุ์ที่ต้องการ แต่ทั้งนี้ไม่ควรเพาะเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อเป็นระยะเวลานาน หรือ ไม่ควรนำแคลลัสไปเพิ่มปริมาณหลายรอบ ซึ่งจะทำให้เกิดความแปรปรวนทางพันธุกรรมอันเนื่องมากจากการโคลน (Somaclonal variation) ได้”
ผศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท ได้กล่าวปิดท้ายว่า “นอกจากอินทผลัมแล้วเรายังได้ทำการวิจัยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชชนิดอื่น ๆ เช่น มะพร้าวน้ำหอมก้นจีน อ้อยปลอดโรคใบขาว กล้วยไม้สกุลต่าง ๆ กัญชง และสตรอว์เบอร์รี อีกด้วย คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร มีความมุ่งมั่นที่จะทำการศึกษาวิจัย และนำองค์ความรู้ไปใช้ในการพัฒนาประเทศ เราได้นำองค์ความรู้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนของคณะฯ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีทักษะการปฏิบัติงาน มีความรอบรู้ ทันต่อเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงของโลก และที่สำคัญบัณฑิตจะต้องเป็นที่ต้องการของผู้ใช้บัณฑิตด้วย”

วันวิสาขบูชา เหตุการณ์สำคัญที่สุดในศาสนาพุทธ 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน

วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกนิกายทั่วโลก ทั้งเป็นวันหยุดราชการในหลายประเทศ และวันสำคัญในระดับนานาชาติตามข้อมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในศาสนาพุทธ 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระโคตมพุทธเจ้า