วช. ถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2564


พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) อัญเชิญองค์ผ้าพระกฐินพระราชทาน นำไปถวายพระสงฆ์จำพรรษาถ้วนไตรมาส ณ วัดสองพี่น้อง ตำบลต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี

เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2564 เพื่อถวายจตุปัจจัยเป็นพระราชกุศล เพื่อการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และบำรุงการศึกษาแก่โรงเรียนและโรงพยาบาล ได้แก่ โรงเรียนพระปริยัติธรรมสองพี่น้อง, โรงเรียนบางลี่วิทยา, โรงเรียนวัดสองพี่น้อง, วิทยาลัยการอาชีพสองพี่น้อง, โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลต้นตาล,อสม. ประจำตำบล โดยยอดจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น 1,233,872 บาท 

และได้มอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วม จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 100,000 บาท นอกจากนี้ วช. ยังได้ทอดผ้าป่าหางกฐิน ณ วัดเนินพระปรางค์ ตำบลเนินพระปรางค์ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวนเงิน 37,820 บาท โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2664 พร้อมนี้ นายนพฤทธิ์ ศิริโกศล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี และเจ้าหน้าที่จาก วช. ตลอดจนประชาชนทั่วไปผู้มีจิตศรัทธาเข้าร่วมในพิธีฯ

สำหรับ วัดสองพี่น้อง เป็นสถานที่สำคัญ 1 ใน 6 แห่งที่เกี่ยวเนื่องกับพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺสโร) ครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย วัดสองพี่น้องเป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานว่าสร้างในปี พ.ศ. 2212 ประวัติของวัดพบในจารึกเจ้าแม่ดุสิต ได้กล่าวถึงอาจารย์พิรอด หรืออาจารย์คง ซึ่งต่อมาสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงนิมนต์ไปอยู่กรุงศรีอยุธยา ที่มาของชื่อ “สองพี่น้อง” เล่าสืบกันมาว่า มีช้างสองเชือก เข้าใจว่าเป็นพี่น้องกัน เดินมาจากพุม่วง หรือป่าต้น ในอำเภออู่ทอง ซึ่งเป็นที่อาศัยของช้างของพระมหากษัตริย์ ในหน้าแล้งมักจะมาหากินแถวนี้ ทางดินที่ช้างเดินย่ำเป็นที่ลุ่ม จนกลายเป็นคลอง

จึงเรียกว่า “คลองสองพี่น้อง” เมื่อครั้งที่สุนทรภู่บวชเป็นพระภิกษุ ได้ล่องเรือผ่านมาพักแรมที่วัดสองพี่น้อง มีบันทึกไว้ในนิราศสุพรรณ ซึ่งวัดสองพี่น้อง มีวิหารพระพุทธไสยาสน์ ที่เรียกกันว่าพระนอนใหญ่ เป็นพระเก่าแก่คู่วัดสองพี่น้อง พระธาตุเจดีย์ศรีสังฆราชา อุภัยภาดารามสถิต บรรจุพระบรมสารีริกธาตุพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ พระธาตุเจดีย์ศรีชา เป็นปูชนียสถานควรแก่การสักการะบูชาของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลายผู้ปรารถนาสุขสมบัติทั้งโลกนี้ และโลกหน้า พระอุโบสถที่สร้างปี พ.ศ. 2476 

ช่วย SMEฝ่าวิกฤตโควิด

2NDCASH.co สตาร์ทอัพช่วย SME สร้างเกมใหม่ด้วยตัวแทนแนะนำสินค้ากว่าแสนราย2NDCASH.co (อ่านว่า เซก-เกิ้น-แคด) จับมือ อ.ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย และ ISMED ชูกลยุทธ์ O2O (offline to online) เปิดตัวแพลทฟอร์มรวบรวมตัวแทนแนะนำสินค้าออนไลน์รายย่อยทั้งในและต่างประเทศกว่าแสนราย ช่วย SMEฝ่าวิกฤตโควิด

นายเพ็ชร ประภากิตติกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท รีโคโนมี่ โกลบอล จำกัด เจ้าของแพลทฟอร์ม 2NDCASH.coกล่าวในงาน The Great Reset ที่ ISMEDจัดขึ้นเพื่อแถลงข่าวเปิดตัวพันธมิตรทางธุรกิจว่า  เรามีแผนเพิ่มตัวแทนแนะนำสินค้าออนไลน์ให้ถึง 1 ล้านรายใน 5 ปีนี้ เพื่อช่วย SME แนะนำสินค้าและช่วยขายออนไลน์ให้ได้มากที่สุด ​

ปัจจุบันเราเปิดให้เจ้าของแบรนด์นำเสนอสินค้า รูปแบบการร่วมธุรกิจ ผลตอบแทนต่างๆให้กับตัวแทนแนะนำสินค้ากว่าแสนรายของเรา รวมถึงเรามีบริการสร้างความโดดเด่นให้สินค้าน่าซื้อมากขึ้น พร้อมเครื่องมือช่วยทำการตลาดสินค้าราคาสูงแก่กลุ่มเป้าหมายระดับบน

ถ้าสินค้าของเราน่าซื้อ ลูกค้าเชื่อมั่น ขายง่าย 

ผู้ช่วยแนะนำสินค้าได้กำไรดี พวกเขาก็อยากช่วยเราขยายตลาดมากขึ้น เร็วขึ้น SME ต้องเริ่มจากจุดนี้

อ.ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย ผู้รับหน้าที่เป็นครูใหญ่ดูแลกลยุทธ์สูตรพลิกธุรกิจ O2O ในโครงการนี้กล่าวว่า เราเชื่อว่า SME ต้องเล่นเกมใหม่ การทำธุรกิจแบบเดิมหวังผลได้ยากมากขึ้น บนโลกนี้มีเครื่องมือทางธุรกิจมากมาย แต่หากผู้ใช้ปราศจากกลยุทธ์ที่ดี เครื่องมือก็ไร้ค่า ผมกับทีม 2NDCASH.co พยายามจะบอกกับ SME ไทยว่า เราต่อเรือเอาไว้นะ ยามนี้คลื่นยักษ์มาแล้ว เราต้องรอดไปด้วยกัน วันนี้เรารวบรวม SME ที่ยังมีความหวังและกำลัง มาขึ้นเรือลำนี้ ไม่ใช่แค่ตัวเราที่รอด แต่เราอาจเป็นส่วนนึงที่ทำให้ประเทศรอดไปด้วย

ลองจินตนาการว่าถ้า SME มีตัวแทนแนะนำสินค้าออนไลน์สัก 1,000 ราย ประจำธุรกิจ แล้วตัวแทนเหล่านั้นช่วยกันเชียร์ช่วยกันขายคนละ 1,000 บาท ต่อเดือน หากทำสำเร็จ SME รายนั้นจะมียอดขายเพิ่มขึ้นประมาณ 10 ล้านบาท ต่อปี

ถ้ามี SME 1 แสนราย สร้างเกมใหม่ด้วยกลยุทธ์นี้สำเร็จเราจะกลายเป็นสตาร์ทอัพที่ช่วยเพิ่ม GDP 1 ล้านล้านบาท ให้ประเทศไทยได้ทันที

สามารถขอคำแนะนำการพลิกสร้างเกมใหม่ร่วมกับทีมงาน อ.ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย ที่ www.2ndcash.coLineOA : @2ndcash หรือ 0924860427

ซิกนิฟายเปิดตัว หลอดไฟประหยัด EcoLink

นายจาร์กันนาธาน ศรีนิวาสัน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิกนิฟาย คอมเมอร์เชียล (ประเทศไทย) จำกัด เผยว่าที่ผ่านมาบริษัทฯมีแบรนด์อุปกรณ์ส่องสว่าง “ฟิลิปส์” สำหรับตลาดระดับพรีเมี่ยมและระดับบนอยู่แล้ว

 แต่บริษัทฯก็ได้เล็งเห็นว่ายังสามารถที่จะขยายตลาดเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคในตลาดแมส ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก  บริษัทฯจึงนำเสนอแบรนด์ภายใต้ชื่อ “อีโคลิงก์” (EcoLink) ที่มาพร้อมกับผลิตภัณฑ์ที่นำมาเปิดตัวกว่า 50 SKU อาทิ หลอดไฟแอลอีดี โคมไฟดาวน์ไลท์แอลอีดี รางไฟแอลอีดี โคมไฟถนนแอลอีดี รวมทั้งหลอดไฟสปอตแอลอีดี เป็นต้น

สำหรับผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ ”อีโคลิงก์” ซิกนิฟายต้องการส่งมอบแสงสว่างให้คนไทยด้วยหลอดไฟและโคมไฟเทคโนโลยีขั้นสูงมีจุดเด่นที่ความทนทาน และช่วยแก้ปัญหา pain point ของคนไทยในแต่ละภูมิภาคที่อาจประสบปัญหาหลอดไฟเสียหายง่ายจากแรงดันไฟฟ้าไม่เสถียร โดยใช้เทคโนโลยีโวลต์เซฟ(VoltSafe) สามารถป้องกันไฟกระชากได้ถึง 2,500 โวลต์ (Volt) พร้อมรองรับแรงดันไฟฟ้ากว้างตั้งแต่ 160 ถึง 360 โวลต์ ช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ถึง 90% เมื่อเทียบกับหลอดไฟทั่วไป มีอายุการใช้งานยาวนานถึง 12,000 ชั่วโมงและยังรับประกันนานถึง 2 ปี พร้อมผ่านการรับรองตามมาตรฐาน มอก. จึงเป็นการตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าสถาปนิก-ผู้รับเหมาขนาดกลางขนาดเล็ก และคนไทยทั่วไปที่กำลังมองหาหลอดไฟและโคมไฟตกแต่งบ้านคุณภาพสูงที่พร้อมให้ทุกบ้านสว่างสดใสในราคาที่คุ้มค่า

วช. จัดกิจกรรม “จิตอาสาพัฒนาองค์กร” มอบบาล์มตะไคร้ อว. และฟ้าทะลายโจร แก่ชุมชน จ.สุพรรณบุรี

เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2564 ที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นำคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

 จัดกิจกรรมโครงการจิตอาสากับการพัฒนาองค์กร เพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และการมีจิตสาธารณะให้บุคลากร ดำเนินรอยตามตาม โครงการอันเนื่องมาจากพระราชปณิธาน โดยร่วมกันทำความสะอาดพื้นที่สาธารณประโยชน์ ณ วัดสองพี่น้อง 

พร้อมมอบผลิตภัณฑ์บาล์มตะไคร้ อว. ซึ่งเป็นผลงานของนักวิจัยจาก สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วว.) โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจาก วช. จำนวน 600 ขวด แก่ชุมชนต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อนำไปใช้รักษาโรคน้ำกัดเท้า และโรคผิวหนังในช่วงประสบอุทกภัย นอกจากนี้ ยังมอบต้นฟ้าทะลายโจร จากโครงการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรคืนถิ่นจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ วช.ให้การสนับสนุนทุนวิจัย จำนวน 4,000 ต้น เพื่อนำไปใช้ป้องกันโรคโควิด-19 และส่งเสริมการปลูกสมุนไพรไทยอย่างแพร่หลาย นับเป็นการสร้างสังคมให้เข้มแข็ง ประชาชนมีความสุขอย่างยั่งยืน รวมถึงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้คงอยู่สืบต่อไป

“อลงกรณ์”ชี้ปชป.รีเทิร์นเพราะผลจากการทุ่มเททำงานหนักทำได้ไวทำได้จริงหลังทราบผล”มสธ.โพลระบุ

”จุรินทร์”หน.พรรคปชป.ขึ้นแท่นเบอร์1เหมาะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป
ยืนยันพร้อมเปิดตัวผู้ว่ากทม.เร็วๆนี้

ลั่นเตรียมประกาศยุทธศาสตร์ประชาธิปัตย์เพื่อประชาชน 18 ธันวาคมเดินหน้าลุยสนามใหญ่

นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคและประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พรรคประชาธิปัตย์ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนวันนี้(5พ.ย)
#หลังทราบผล ”มสธ.โพล” ว่า ผลสำรวจของ”มสธ.โพล

เป็นการสะท้อนถึงความคิดเห็นของประชาชนซึ่งต้องขอขอบคุณคนกรุงเทพมหานครที่มอบความไว้วางใจให้กับนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และขอขอบคุณศูนย์วิจัยและพัฒนาการสื่อสารการเมืองและสังคม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชที่ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชนในครั้งนี้ ตนมองว่า “มสธ.โพล” ไม่ใช่เป็นเพียงการสำรวจความนิยมเหมือนโพลอื่นๆก่อนหน้านี้แต่เป็นการสำรวจความเชื่อมั่นที่มีต่อ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ในฐานะหัวหน้าพรรคและพรรคประชาธิปัตย์ว่าเหมาะสมจะเป็นนายกรัฐมนตรีและเป็นรัฐบาลในวันข้างหน้า ทั้งนี้พิจารณาจากการตั้งคำถามสำรวจความเห็นประชาชนในหัวข้อต่างๆ
ตนมองว่า ประชาธิปัตย์มีโอกาสกลับมาเป็นพรรคในใจประชาชนอีกครั้งหนึ่งก็ด้วยผลงานจากการมุ่งมั่นทุ่มเททำงานหนักของทุกคนในพรรคในยุคอุดมการณ์ ทันสมัย ทำได้ไวทำได้จริงซึ่งทำงานเป็นทีมแบบอเวนเจอร์และการมีจุดยืนที่มั่นคงในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
“ผลโพลเสมือนกำลังใจ เราจะทำงานหนักแก้ไขปัญหาให้ประเทศชาติและประชาชนต่อไป และเตรียมประกาศยุทธศาสตร์ประชาธิปัตย์เพื่อประชาชนในการประชุมใหญ่พรรควันที่ 18ธันวาคม ที่จะถึงนี้เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเลือกตั้งครั้งหน้า
ส่วนการเปิดตัวผู้สมัครผู้ว่ากรุงเทพมหานครเมื่อไหร่นั้นคงอีกไม่นาน หัวหน้าพรรคและดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรคกำลังพิจารณาจังหวะเวลาที่เหมาะสม ขอให้อดใจรอ เป็นคนดีมีความรู้ความสามารถในการบริหาร มีวิสัยทัศน์ก้าวหน้า เหมาะกับยุคกทม.เมตะเวิร์ส(METAVERSE)แน่นอน”นายอลงกรณ์กล่าวในที่สุด
ก่อนหน้านี้ในวันเดียวกัน ศาสตราจารย์ ดร.วิทยาธร ท่อแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการสื่อสารการเมืองและสังคม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เปิดเผย ผลสํารวจความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับ “ประชาชนในกรุงเทพมหานครต้องการผู้นําที่มีคุณลักษณะแบบใดเพื่อเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปและคุณลักษณะพรรคการเมืองแบบใดที่ผู้นําสังกัดหรือได้รับการเสนอชื่อเพื่อเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป” ดําเนินการสํารวจ ระหว่างวันที่ 28 ตุลาคม-2 พฤศจิกายน 2564 กลุ่มตัวอย่าง จํานวน 12,350 คน เป็นชาย 6,820 คน (55.22%) หญิง 5,530 คน (44.78%)
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสํารวจครั้งนี้ ชี้ให้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ผู้นําจากพรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ประชาชนในกรุงเทพมหานครประเมินว่าเหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ในสถานการณ์ช่วงเวลา 4-5 ปี ข้างหน้านี้ เนื่องด้วยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ มีคุณลักษณะความเป็นผู้นําเฉพาะตัวเด่นชัดและมีคุณลักษณะพรรคการเมืองที่สังกัดเด่นชัด ตามรายละเอียดของผลการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไปนี้

  1. ประชาชนในกรุงเทพมหานครประเมินคุณลักษณะความเป็นผู้นําของผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป
    1.1 ผลสรุปภาพรวมคุณลักษณะความเป็นผู้นําของผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป
    จะเห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ มีคะแนนโดยภาพรวมสูงสุด (54.24%) และรองลงมา คือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (52.99%), คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (38.12%) ตามลําดับ ส่วนนางสาวพินทองทา ชินวัตร มีคะแนนน้อยที่สุด (8.87%)
    1.2 ผลสรุปคุณลักษณะด้านที่ 1 คือ ความสามารถในการกอบกู้และแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศได้
    จะเห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ มีคะแนนสูงสุด (50.30%) รองลงมา คือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
    (41.31%), นายกรณ์ จาติกวณิช (32.02%) ตามลําดับ และนางสาวพินทองทา ชินวัตร มีคะแนนน้อยที่สุด (9.20%)
    1.3 ผลสรุปคุณลักษณะด้านที่ 2 คือ คุณลักษณะด้านความสามารถในการแก้ปัญหาปากท้องและชีวิต
    ความเป็นอยู่ของประชาชนได้
    เห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ มีคะแนนสูงสุด (50.89%) รองลงมา คือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (43.44%), นายกรณ์ จาติกวณิช (30.14%) ตามลําดับ ส่วนนางสาวพินทองทา ชินวัตร มีคะแนนน้อยที่สุด (7.72%)
    1.4 ผลสรุปคุณลักษณะด้านที่ 3 คือ คุณลักษณะด้านการเป็นผู้ที่มีประสบการณ์การบริหารประเทศ มี
    ผลงานโดดเด่น เป็นที่ประจักษ์มาแล้วทั้งในอดีตและปัจจุบัน
    เห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์มีคะแนนสูงสุด (59.53%) และรองลงมา คือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
    (42.47%), คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (33.40%) ตามลําดับ ส่วนนางสาวพินทองทา ชินวัตร มีคะแนนน้อยที่สุด (6.09%)
    1.5 ผลสรุปคุณลักษณะด้านที่ 4 คือ คุณลักษณะด้านการเป็นผู้ที่รอบรู้ รอบคอบ ทุ่มเท ขยัน และรู้กลไก
    การผลักดันงานหรือนโยบายให้สําเร็จได้
    เห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ มีคะแนนสูงสุด (63.58%) รองลงมา คือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
    (58.72%), คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (42.20%) ตามลําดับ ส่วนนางสาวพินทองทา ชินวัตร มีคะแนนน้อยที่สุด
    (6.36%)
    1.6 ผลสรุปคุณลักษณะด้านที่ 5 คือ คุณลักษณะด้านการเป็นผู้ที่อ่อนน้อม ปรองดอง เข้าถึงง่าย ทํางาน
    กับทุกฝ่ายได้
    เห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์มีคะแนนสูงสุด (55.51%) รองลงมา คือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (52.83%), นายอนุทิน ชาญวีรกูล (47.40%) ตามลําดับ ส่วนนางสาวพินทองทา ชินวัตร มีคะแนนน้อยที่สุด (12.81%)
    1.7 ผลสรุปคุณลักษณะด้านที่ 6 คือ คุณลักษณะด้านการเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์ สุจริต ไม่เล่นพรรคเล่น
    พวก
    เห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์มีคะแนนสูงสุด (64.72%) รองลงมา คือ พลตํารวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (58.74%), พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (54.13%) ตามลําดับ ส่วนนางสาวพินทองทา ชินวัตร มีคะแนน
    น้อยที่สุด (9.60%)
    1.8 ผลสรุปคุณลักษณะด้านที่ 7 คือ คุณลักษณะด้านการเป็นผู้ที่รักษาสถาบันชาติ ศาสนา และ
    พระมหากษัตริย์
    เห็นได้ว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มีคะแนนสูงสุด (62.01%) และรองลงมา คือ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (60.12%), คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (57.96%) ตามลําดับ ส่วนนางสาวพินทองทา ชินวัตร มีคะแนนน้อยที่สุด (16.34%)
    1.9 ผลสรุปคุณลักษณะด้านที่ 8 คือ คุณลักษณะด้านการเป็นผู้ควบคุมกํากับความมั่นคงทางการทหารและตํารวจ
    เห็นได้ว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มีคะแนนสูงสุด (68.99%) และรองลงมา คือ พลตํารวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (60.92%) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (60.12%) ตามลําดับ ส่วนนางสาวพินทองทา ชินวัตร มีคะแนนน้อย
    ที่สุด (2.85%)
  2. ประชาชนในกรุงเทพมหานครประเมินคุณลักษณะพรรคการเมืองที่ผู้นําสังกัด หรือ อาจจะเป็นผู้ได้รับเสนอชื่อ
    ให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป 2.1 ผลสรุปภาพรวมคุณลักษณะพรรคการเมืองที่ผู้นําสังกัด หรือ อาจจะเป็นผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อ ให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป
    เห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ผู้นําจากพรรคประชาธิปัตย์ มีคะแนนรวมสูงสุด (58.15%) และรองลงมา
    คือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้นําจากพรรคพลังประชารัฐ (45.59%), นายอนุทิน ชาญวีรกูล ผู้นําจากพรรคภูมิใจไทย, (40.74%) ตามลําดับ ส่วนนางสาวพินทองทา ชินวัตร ผู้นําจากพรรคเพื่อไทย มีคะแนนน้อยที่สุด (31.44%)
    2.2 ผลสรุปคุณลักษณะพรรคการเมือง ด้านที่ 1 ยึดมั่นในอุดมการณ์ประชาธิปไตยและระบบรัฐสภา
    เห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ผู้นําจากพรรคประชาธิปัตย์ มีคะแนนสูงสุด (62.01%) และรองลงมา คือ
    นายอนุทิน ชาญวีรกูล ผู้นําจากพรรคภูมิใจไทย (54.20%), ตามลําดับ ส่วนนางสาว พินทองทา ชินวัตร ผู้นําจากพรรคเพื่อไทย มีคะแนนน้อยที่สุด (26.28%)
    2.3 ผลสรุปคุณลักษณะพรรคการเมือง ด้านที่ 2 มีกลไกการทํางานที่เป็นระบบ เป็นพรรคการเมืองของ
    ประชาชน ไม่เป็นพรรคของใครคนใดคนหนึ่ง หรือ คณะบุคคล หรือ นายทุน
    เห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ผู้นําจากพรรคประชาธิปัตย์ มีคะแนนสูงสุด (58.74%) และรองลงมา คือ
    พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้นําจากพรรคพลังประชารัฐ (45.93%), นายกรณ์ จาติกวณิช ผู้นําจากพรรคกล้า
    (42.63%) ตามลําดับ ส่วนนางสาวพินทองทา ชินวัตร มีคะแนนน้อยที่สุด (23.46%)
    2.4 ผลสรุปคุณลักษณะพรรคการเมือง ด้านที่ 3 มีบุคลากรของพรรคที่มีคุณภาพสูงในการบริหารพรรค
    และมีความพร้อมในการเป็นผู้บริหารประเทศ
    เห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ผู้นําจากพรรคประชาธิปัตย์ มีคะแนนสูงสุด (56.57%) และรองลงมา คือ
    นางสาวพินทองทา ชินวัตร ผู้นําจากพรรคเพื่อไทย (44.92%), พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้นําจากพรรคพลังประชารัฐ (42.48%) ตามลําดับ ส่วนพลตํารวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ผู้นําจากพรรคเสรีรวมไทย มีคะแนนน้อยที่สุด (23.04%)
    2.5 ผลสรุปคุณลักษณะพรรคการเมือง ด้านที่ 4 ที่มีบุคลากรคุณภาพโดดเด่นในการทํางานแก้ไขปัญหา
    ของประชาชนในระบบสภา และการดูแลประชาชนในพื้นที่
    เห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ผู้นําจากพรรคพรรคประชาธิปัตย์ มีคะแนนสูงสุด (56.29%) และรองลงมา คือ นางสาวพินทองทา ชินวัตร ผู้นําจากพรรคเพื่อไทย (47.47%), พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้นําจากพรรคพลังประชารัฐ (44.76%) ตามลําดับ ส่วนนายกรณ์ จาติกวณิช ผู้นําจากพรรคกล้า มีคะแนนน้อยที่สุด (18.18%)
    2.6 ผลสรุปคุณลักษณะพรรคการเมือง ด้านที่ 5 ที่มีความอิสระในการตัดสินใจ ปราศจากการครอบงํา
    ใด ๆ
    เห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ผู้นําจากพรรคประชาธิปัตย์ มีคะแนนสูงสุด (57.15%) และรองลงมา คือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้นําจากพรรคพลังประชารัฐ (51.48%), พลตํารวจเอก
    เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ผู้นําจากพรรคเสรีรวมไทย (45.94%) ตามลําดับ ส่วนนางสาวพินทองทา ชินวัตร ผู้นําจากพรรคเพื่อไทย มีคะแนนน้อยที่สุด (15.10%)

งานเทศกาลดิวาลี ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของคนเชื้อสายอินเดีย The Great Indian Diwali Festival

 เทศกาลแห่งแสงสีจากแดนภารตะที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานนับพันปี

โดยมีท่านทูตอินเดียประจําประเทศไทย สุจิตร ดูไร คุณหญิงดร.สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หัวพรรคไทยสร้างไทย คุณ ปรเมศน์ งามพิเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม คุณฐาปนีย์ เกีรยติไพบูลย์ รองผู้ว่าการค้าตลาดในประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และคุณ ลักขณา นะวิโรจน์ ประธานโครงการ สุขสยาม ไอคอนสยาม เป็นประธานเปิดงาน เพื่อเสริมสร้างความสําคัญระหว่างประเทศ

ระหว่างวันที่ 5-7 พฤศจิกายน 2564 บริเวณลานเมือง เมืองสุขสยาม ณ ไอคอนสยาม ชั้น G

วช. ปลื้ม เด็กไทยเก่ง พัฒนา “กระเบื้องทางเท้าสำหรับผู้พิการทางสายตาจากขยะกล่องนมและยางพารา” คว้าเหรียญทอง จากเวทีโมร็อกโก

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า ถือเป็นความภาคภูมิใจ
ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ที่สนับสนุนผลงาน “กระเบื้องทางเท้าสำหรับผู้พิการทางสายตาจากขยะกล่องนมและยางพารา” ของ

นางสาวพรพิสุทธิ์ ชินอมรพงษ์ นางสาวฤทัยชนก แสงเงินอ่อน และนางสาวรมณ เจียมกิม มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี (จภ.ปท.) โดยมีนายขุนทอง คล้ายทอง และนางสาววรางคณา ธุภักดี เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา เข้าร่วมประกวดสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติ ในงาน The Innovation Week in Africa (IWA 2021)

ณ ประเทศโมร็อกโก ในรูปแบบออนไลน์ เมื่อวันที่ 8-12 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา จนสามารถคว้ารางวัลเหรียญทองมาครองได้สำเร็จ จากการนำขยะกล่องนมมาผ่านกระบวนการขึ้นรูปด้วยยางพาราสู่การพัฒนาเป็นกระเบื้องทางเท้าสำหรับผู้พิการทางสายตา

นางสาวพรพิสุทธิ์ ชินอมรพงษ์ กล่าวว่า จุดเริ่มต้นมาจากการที่ได้สังเกตเห็นว่าผู้พิการเป็นบุคคลซึ่งมีข้อจํากัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเรียนรู้ ทำให้การดำเนินชีวิตมีอุปสรรคในด้านต่าง ๆ และมีความจําเป็นเป็นพิเศษที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือ โดยเฉพาะผู้พิการทางสายตานั้นเป็นผู้ที่ไม่สามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ซึ่งในประเทศไทยนั้น
พบผู้พิการทางการมองเห็นจำนวน 191,965 คน โดยปัจจุบันอาคาร สถานที่และหน่วยงานต่าง ๆ
เช่น โรงพยาบาล สถานีขนส่ง หรือ ห้างสรรพสินค้า ได้มีการติดตั้งเบรลล์บล็อกเพื่ออำนวยความสะดวกและสร้างความปลอดภัยในการสัญจร ให้กับผู้พิการทางสายตา แต่บางครั้งการติดตั้งเบรลล์บล็อกก็สามารถทำได้ยาก เนื่องจากภายในสถานที่ปิด มีการออกแบบสถานที่และจัดวางเครื่องเรือน ตามรูปแบบที่ออกแบบเพื่อความสวยงาม ทำให้เกิดอุปสรรคหรือสิ่งกีดขวางในการติดตั้ง อีกทั้งเบรลล์บล็อกบาง ชนิดจะต้องมีการทำการรื้อถอนหรือขุดเจาะพื้นผิวเดิมเพื่อทำการติดตั้ง จึงนำมาซึ่งการใช้เวลา แรงงาน และค่าใช้จ่าย ที่สูงขึ้นและอาจเป็นการรบกวนผู้ที่สัญจรไปมา ในบริเวณนั้น ๆ

นางสาวฤทัยชนก แสงเงินอ่อน กล่าวอีกว่า สมาชิกในทีมเห็นตรงกันว่าปัญหานี้ควรได้รับการแก้ไข จึงมีแนวคิดที่จะประดิษฐ์นวัตกรรม เบรลล์บล็อกที่มีความทนทานต่อแรง น้ำหนัก สภาพอากาศ มีน้ำหนักเบา สามารถติดตั้งและเคลื่อนย้ายได้ง่าย 

มีต้นทุนการผลิตและราคาที่ไม่สูงมาก ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งใหม่หรือติดตั้งเพิ่มมากขึ้น โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์กระเบื้องทางเท้าสำหรับผู้พิการทางสายตานั้น จะทำมาจากขยะกล่องนมและยางพารา ซึ่งเป็นขยะรีไซเคิลมาทำการแปรรูปอีกครั้ง โดยใช้น้ำยางพาราธรรมชาติชนิดข้นต่อน้ำหนักของกล่องนม UHT ที่ผ่านการทำความสะอาดและปั่นละเอียดจนมีลักษณะเป็นเยื่อ ในอัตราส่วนของปริมาณยางพาราต่อน้ำหนักของกล่องนม จากนั้นผ่านการทดลองขึ้นรูปในสูตรต่าง ๆ และพบว่ามีสูตรการผลิตบางสูตรที่มีคุณสมบัติที่ดีมากๆ เหมาะแก่การนำไปใช้งานได้เป็นอย่างดี ซึ่งสมาชิกทั้งสามคนยังกล่าวอีกว่าหากผลงานดังกล่าวมีผู้สนใจที่จะนำไปต่อยอด จะเป็นการดีมากเพราะจะช่วยให้ผู้พิการทางสายตาสามารถใช้ชีวิตในที่ต่าง ๆ ได้สะดวกยิ่งขึ้น

เปิดตัวการประกวด “Miss Herbal Thailand 2022 และ Miss Herbal World 2023”

บริษัท ซีไอเอสดับเบิ้ลยู อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (ประเทศไทย) เปิดตัวโปรเจค “Miss Herbal Thailand 2022 และ Miss Herbal World 2023” เพื่อเป็นตัวแทนของแบรนด์ บริษัท ซีไอเอสดับเบิ้ลยู อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (ประเทศไทย) โดยเปิดรับสมัคร Miss Herbal Thailand 2022 ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2564 – 28 กุมภาพันธ์ 2565 ซึ่งผู้สมัครมีอายุตั้งแต่ 20 – 28 ปี ผู้ที่ผ่านรอบคัดเลือก 20 คนสุดท้าย

 เข้าประกวดในรอบตัดสิน ในวันที่ 20 เมษายน 2565 และผู้ชนะเลิศในการประกวดอันดับที่ 1 – 5 จะได้รับเชิญเข้าร่วมงานเฉลิมฉลองวันกัญชาโลกในวันที่ 20 เมษายน 2565 

โดยมีจุดมุ่งหมายในการ โปรโมทสมุนไพรไทยจากทั่วประเทศให้เป็นที่รู้จักทั่วโลก

และเห็นถึงประโยชน์การท่องเที่ยวเชิงกัญชาทางการแพทย์ และเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศไทยให้กลับมาฟื้นฟูและรุ่งเรืองอีกครั้ง

ดังนั้น บริษัท ซีไอเอสดับเบิ้ลยู อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (ประเทศไทย) จึงดำเนินการจัดการประกวด Miss Herbal Thailand 2022 เพื่อสรรหาสาวงามในประเทศไทยที่พรั่งพร้อมทั้งความคิด สติปัญญา และจิตใจ ภายใต้แนวคิด “การท่องเที่ยว สมุนไพรทางการแพทย์” ที่จะมาดำรงตำแหน่ง “Miss Herbal Thailand 2022” มาเป็นตัวแทน เสริมสร้างภาพลักษณ์ ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย ฯลฯ สร้างการรับรู้ ประชาสัมพันธ์ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์ทางการแพทย์ การท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์ และเพื่อ โปรโมทการท่องเที่ยว สมุนไพรทางการแพทย์ของประเทศไทยและทั่วโลก

นอกจากนี้ยังมีการจัดการประกวด “Miss Herbal World” เป็นครั้งแรกในปี 2023 เพื่อสรรหาสาวงามในต่างประเทศมาเป็นตัวแทน เสริมสร้างภาพลักษณ์ ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย ฯลฯ สร้างการรับรู้ ประชาสัมพันธ์ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์ทางการแพทย์ และเพื่อโปรโมทการท่องเที่ยว สมุนไพรทางการแพทย์ทั่วโลก
ทางบริษัท ซีไอเอสดับเบิ้ลยู อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (ประเทศไทย) ยังคงให้ความสำคัญกับประโยชน์ด้านสุขภาพของสมุนไพรทางการแพทย์ และทางบริษัทฯ ยังส่งเสริมอุตสาหกรรมสมุนไพรทาง การแพทย์ของประเทศไทย การท่องเที่ยวสำหรับสมุนไพรทางการแพทย์ในประเทศไทย และอุตสาหกรรมสมุนไพรไทยสู่ตลาดโลกอีกด้วย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อเบอร์: 062-394-2448
Email: missherbalthailand@gmail.com
www.ciswinternational.com

สำหรับผู้ที่สนใจเข้ารับการอบรมฝึกอาชีพคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวสายลุย

นายสุกษม อามระดิษ นายกสมาคมแพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทยร่วมกับชมรมคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวสายลุย

จัดโครงการ"ฝึกอาชีพคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวสายลุย"

โดยมีคุณ ยุพวรรณ อามระดิษ (จ๋า) ประธานชมรม
พร้อมด้วย อ.อำภา ชาญรบ ที่ปรึกษาโครงการ และคณะทีมงานจากโรงเรียนสอนศิลปะการปรุงอาหารไอเชฟพระนครศรีอยุธยา พร้อมคณะวิทยากรครูสอน นวดกดจุดสะท้อนเท้าอาจารย์ หยาดฝน ธุระแพง, อ.พลอยนภัส บุญรัตน์ธนาคิม และ ดร.ปิยวรรณ ทัศนาญชลี เจ้าของเพจ วุ้นละมุน

สำหรับรุ่นนี้มีผู้สนใจขอเข้ารับการฝึกอบรมโครงการฯ เป็นจำนวนมาก..แต่ชมรมฯติดปัญหาการจำกัดจำนวนคนเพื่อป้องกันตามมาตรการของรัฐบาลต่อการการแพร่เชื้อโควิด- 19 จึงรับได้เพียง 25 ท่าน.. สำหรับผู้ที่สนใจเข้ารับการอบรมฝึกอาชีพคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวสายลุย..รุ่นต่อไป ติดต่อเข้าฝึกอบรมได้ที่ ที่ อ.อำภา ชาญรบ.ที่ปรึกษาโครงการ โทร 0968802056

วช. หนุนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น 4 พื้นที่เดินหน้าจัดการน้ำชุมชนอย่างรู้คุณค่า

นักวิจัยแผนงานการบริหารจัดการน้ำปี 2 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ร่วมกับเครือข่ายนักวิจัยชุมชน นำเสนอ งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ใน 4 พื้นที่กรณีศึกษา แก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง ตั้งแต่ระบบนิเวศต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ชี้การจัดการน้ำชุมชน ควรขับเคลื่อนแบบ 3+2 เน้นนำเทคโนโลยีมาช่วยแบบชุมชนมีส่วนร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ทีมวิจัยจากโครงการวิจัยแนวทางการพัฒนากลุ่มองค์กรผู้ใช้น้ำ เพื่อเพิ่มความสามารถในการวางแผนการบริหารจัดการน้ำระดับพื้นที่ ภายใต้โครงการแผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคม แผนงานการบริหารจัดการน้ำปีที่ 2 โดยการสนับสนุนของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นำโดย รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ ประธานแผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคม ร่วมกับ เครือข่ายนักวิจัยเพื่อท้องถิ่น นักวิจัยชุมชนจัดการน้ำ 4 ภูมิภาค และนักวิชาการหน่วยงานต่าง ๆ เปิดเผยงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ในเวทีเสวนา CBR Talk เรื่อง การบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน “ทางเลือก ทางรอด” โดยนำเสนอ 4 พื้นที่กรณีศึกษา ประกอบด้วย พื้นที่จังหวัดน่าน ราชบุรี อุบลราชธานี และสตูล ที่นำงานวิจัยในท้องถิ่นมาช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งตั้งแต่ระบบนิเวศต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยชี้ให้เห็นภาพปัจจุบันของปัญหาน้ำมาก ในช่วงฝนตกหนักภายในระยะเวลาสั้น ๆ และน้ำแล้ง จากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง (Climate change) พร้อมเสนอแนะการจัดการน้ำชุมชน ใน 4 ภูมิภาค ควรขับเคลื่อนงานแบบ 3+2 เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สามารถขยายผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ไปสู่พื้นที่อื่น ๆ ได้ต่อไป

รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ เผยมุมมองว่า ลักษณะการตกของฝนระยะหลังเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การจัดการน้ำโดยชุมชน ต้องเริ่มสร้างภูมิคุ้มกันเรื่องน้ำกินน้ำใช้ เพื่อสร้างความมั่นคง และเกิดการใช้น้ำที่มีอยู่จำกัดอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เกิดการกระจายรายได้ รู้คุณค่าทรัพยากร ชุมชนต้องลุกขึ้นมาจัดการเชิงรุกจากล่างขึ้นบนร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ และนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย

การมี พรบ.ทรัพยากรน้ำจะช่วยองค์กรผู้ใช้น้ำในการจัดการน้ำชุมชนเพื่อมุ่งสู่ให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี ดังนั้น ทั้ง 4 ภูมิภาค

ควรขับเคลื่อนงานแบบ 3+2 คือ 1. การจัดโครงสร้างพื้นฐาน 2. การสร้างกติกา และ 3. พัฒนาคน ร่วมกับ 1. สร้างนวัตกรรมและใช้เทคโนโลยี และ 2. จัดตั้งกองทุนในพื้นที่ตนเอง ทั้งน้ำอุปโภคบริโภค คิดค้นนวัตกรรมเพื่อนำไปใช้ในการจัดการน้ำและการสร้างอาชีพ จากตัวอย่างที่มี 30 ตำบลในงานวิจัยปีสอง จะเกิดการเปลี่ยนแปลง หากขยับ 400 ตำบล ในปีถัดไป จะขยายผลได้ในวงกว้าง และมีภาคีเข้ามามีส่วนร่วมเป็นกลไกระดับจังหวัด ดังในโครงการในแผนงานวิจัยเข็มมุ่ง เมื่อทำงานวิจัยเสร็จสิ้นสรุปเป็นข้อเสนอแนะจากรูปธรรมในพื้นที่ ก็สามารถนำเสนอสู่ระดับนโยบายและรัฐบาล เพื่อให้ใช้ใขยายผลไปสู่ 80,000 หมู่บ้าน 8,000 ตำบล ของประเทศไทยได้ต่อไป

ขณะที่ คุณชิษนุวัฒน์ มณีศรีขำ แห่งศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงคราม ได้เสริมว่า การดำเนินงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จะเชื่อมโยงการทำงานจากล่างขึ้นบนและจากบนลงล่าง จาก 4 กรณีศึกษา ที่มีระบบนิเวศที่แตกต่างกัน เป็นการแก้ปัญหาแบบ “ตัดเสื้อให้พอดีตัว” จับมือกับนักวิชาการในการจัดการน้ำ เกิดการจัดทำแผนน้ำจากชุมชนนำไปสู่การจัดการน้ำอย่างทั่วถึง ความสำเร็จทั้ง 4 พื้นที่ มุ่งสู่การขยายผลระดับหมู่บ้านและตำบลได้ โดยสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้ทุกคนมีส่วนร่วม เป็นเจ้าของทรัพยากรน้ำร่วมกัน มีกลไกการขับเคลื่อนงาน การติดอาวุธทางปัญญาทั้งความรู้จากชุมชนและความรู้จากนักวิชาการ เพื่อสร้างความเข้าใจบริบทของพื้นที่และสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในทุกส่วน โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย

สำหรับพื้นที่ ตำบลแม่จริม อำเภอเมือง จังหวัดน่าน โดยเฉพาะพื้นที่ต้นน้ำที่ประสบปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง ชุมชนได้มีการตั้งโจทย์ เก็บข้อมูล และทดลองปฏิบัติการด้วยตนเอง และเชื่อมโยงข้อมูลสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ชุมชนจึงเกิดการกระตุ้นรู้เท่าทันปัญหา เกิดการจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะการเพิ่มพื้นที่ป่าต้นน้ำ ควบคุมคุณภาพน้ำ และฟื้นฟูระบบแก่เหมืองแก่ฝาย เกิดการจัดทำแผนน้ำในระดับหมู่บ้านและ อบต.ได้ ในขณะที่ พื้นที่ตำบลบ้านคา อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี ที่มีปัญหาในลักษณะเดียวกัน ชุมชนได้ลุกขึ้นมาจัดการตนเอง มีการปรับปรุงแหล่งน้ำและจัดการน้ำอย่างมีน้ำใจ ทำธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อเติมน้ำ และความชื้นลงดิน โดยจัดทำบ่อเก็บน้ำ สร้างฝายมีชีวิตด้วยงบประมาณที่ลดลง

พื้นที่ในจังหวัดอุบลราชธานี คือ อำเภอโพธิ์ไทร อำเภอบ้านสำโรง 

ที่ประสบกับน้ำแล้ง ชาวบ้านได้ใช้ข้อมูลจากการทำงานวิจัย ผลักดันให้ชุมชนประหยัดน้ำ และคิดค้น “นวัตกรรมแอร์แวร์” ในการสูบน้ำขึ้นที่สูงเพื่อใช้แรงดันอากาศสูบน้ำเข้าถังและแจกจ่ายในครัวเรือน ประสานกับอุทยานผาแต้มเพื่อทำฝายปล่อยน้ำตามระบบกาลักน้ำไว้ใช้หน้าแล้ง และเพียงพอต่อการทำการเกษตร นอกจากนี้ที่ ตำบลบ้านกุดลาด และตำบลปทุม ที่ประสบกับน้ำท่วม อบต.ได้จับมือกันทำวิจัย ในการสื่อสารข้อมูลระดับน้ำให้กลุ่มผู้ประสบภัยเพื่อเตรียมรองรับปัญหาอุทกภัย และได้คิดค้น”นวัตกรรมชุดนอนนา”โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ฝีมือของชาวบ้าน เพื่อให้มีไฟส่องสว่าง และชาร์ตโทรศัพท์ได้ในช่วงประสบภัยพิบัติ

และในกรณีพื้นที่ ตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ที่ชาวบ้านใช้ประโยชน์น้ำจากคลองดูสน-คลองมำบัง เพื่อการประปาและการเกษตร แต่เกิดปัญหา คนที่อยู่ริมคลองไม่ได้ใช้น้ำและช่วงฝนตกเกิดน้ำหลากจนท่วม ขาดการมองเห็นเชิงระบบ งานวิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูล แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อค้นหาข้อเท็จจริง และปรับเปลี่ยนชุดความคิด หรือ Mindset ใหม่ ให้ชุมชนใช้น้ำอย่างประหยัดมากขึ้น