รฟฟท. จัดเจ้าหน้าที่ชุดเฉพาะกิจลงพื้นที่ตรวจลาดตระเวนเส้นทางเดินรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง

ป้องกันการลักลอบตัดสายอาณัติสัญญาณในระบบรถไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง

สอดคล้องกับนโยบาย และข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจ และเป็นไปตามมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยในระบบรถไฟฟ้า บริษัทจึงจัดเจ้าหน้าที่ชุดเฉพาะกิจลงพื้นที่ตรวจลาดตระเวนเส้นทางเดินรถไฟฟ้า ในบริเวณด้านนอกรั้วทางคู่ขนานแนวเส้นทางเดินรถ และบนรางรถไฟฟ้า ทั้งช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน 

เพื่อตรวจสอบ และป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอกเข้ามาลักลอบตัดสายอาณัติสัญญาณในระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง โดยบริษัทได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย และข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการออกมาตรการกำกับ ควบคุม และดูแล ป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ลักลอบตัดสายอาณัติสัญญาณขึ้น โดยระดมเจ้าหน้าที่ออกลาดตระเวน ทั้งช่วงกลางวัน และช่วงกลางคืน

รถไฟฟ้าสายสีแดง ยกระดับคุณภาพชีวิตคนชานเมือง Call Center 1690 ตลอด 24 ชั่วโมง

62 ปี วช. มิติใหม่ พัฒนาไทยด้วยวิจัยและนวัตกรรม


สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ครบรอบ 62 ปี พร้อมก้าวเข้าสู่ปี 63

ด้วยความมุ่งมั่นพัฒนาผลงานวิจัย เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคม พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่อไป
วันที่ 28 ตุลาคม 2564 ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า เนื่องในโอกาส
“วันคล้ายวันสถาปนาสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ครบรอบ 62 ปี”

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา วช. ได้มีบทบาทในการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการวิจัยของประเทศให้พัฒนาขึ้น สร้างฐานความรู้ที่มีคุณค่าสามารถประยุกต์และพัฒนาวิทยาการที่เหมาะสม รวมถึงการต่อยอดงานวิจัยให้เกิดประโยชน์ ทั้งในเชิงพาณิชย์และสาธารณะ นอกจากนี้ วช. มีภารกิจสำคัญเป็นหน่วยงานให้ทุนวิจัยหลักของประเทศ รวมถึง การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ NRIIS (National Research and Inter System) ที่สามารถบริหารจัดการทุนวิจัยในแบบออนไลน์ ได้ 100% และ วช. จัดทำมาตรฐานและจริยธรรมการวิจัย ให้เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและในระดับสากล
กิจกรรม “วันคล้ายวันสถาปนาสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ครบรอบ 62 ปี” วช.ยังคงให้ความสำคัญในกิจกรรมการให้ความรู้ด้านการวิจัย และการถ่ายทอดเทคโนโลยี จึงจัดกิจกรรมดังนี้ กิจกรรมการเสวนาความสำคัญของระบบข้อมูลสารสนเทศ ด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมของประเทศและการเปิดให้บริการข้อมูลจากฐานข้อมูลกลางด้าน ววน. ของประเทศ นำโดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ, และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาภรณ์ เกียรติสิน หัวหน้าโครงการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล การบรรยายกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานและจริยธรรมการวิจัย โดย ดร.มาร์ค เจริญวงศ์ อัยการจังหวัดประจำสำนักอัยการสูงสุด กิจกรรม Research Knowledge Management : เรื่อง “การใช้ประโยชน์ไม้อย่างคุ้มค่า” และเรื่อง “เทคนิคการทำปุ๋ยหมักและการปลูกพืชครัว” กิจกรรม NRCT Talk : เรื่อง เซ็นเซอร์ฉลาดสำหรับตรวจวัดสารปนเปื้อนในอาหารและสิ่งแวดล้อม รางวัลการวิจัยแห่งชาติ รางวัลประดิษฐ์คิดค้น 2564 และเรื่อง ถุงตอนกิ่งสำหรับมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง รางวัลเหรียญทอง การประกวดเวทีนานาชาติ

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

นอกจากนี้ วช.

ยังจัดกิจกรรมเปิดมุมวิจัยรักษ์โลก ที่เกิดขึ้นจากนโยบายการปรับภาพลักษณ์องค์กร การรักษาสิ่งแวดล้อม
เพื่อเป็นองค์กรต้นแบบในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ลดพลาสติก ลดโลกร้อน รวมทั้งการนำผลงานวิจัยมาใช้ประโยชน์ โดยนำเก้าอี้
และกระถางต้นไม้ ซึ่งเป็นผลผลิตจากโครงการวิจัยท้าทายไทย : ประเทศไทยไร้ขยะ ได้แก่ ผลงานวิจัยเรื่อง แผ่นปูพื้นและเก้าอี้ที่มีส่วนของขยะพลาสติกจากทะเลเพื่อสร้างมูลค่า ของ รองศาสตราจารย์ ดร.สัญญา สิริวิทยาปกรณ์ มาใช้ในมุมวิจัยรักษ์โลกดังกล่าว และภายในงานยังมีกิจกรรมปลูกต้นไม้ ลดฝุ่น PM 2.5 ซึ่งเป็นผลงานวิจัย เรื่อง “การใช้พืชยืนต้นบำบัดฝุ่นละอองอย่างยั่งยืน” ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยรัตน์ ตรีทรัพย์สุนทร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยต้นไม้ที่ลดฝุ่นนี้ปลูกในบริเวณ วช. ได้แก่
ต้นพลูปีกนก ต้นเฟิร์นขนนก ต้นคล้าแววมยุรา ต้นคริสติน่า ต้นตีนเป็ด ต้นโมก ต้นยางอินเดีย ต้นกวักมรกต ต้นหมากเหลือง
และพรมกำมะยี่

สำหรับผู้ที่เข้าร่วมงานในครั้งนี้ ได้รับผลิตภัณฑ์ผลงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก วช. อาทิ ต้นกล้าฟ้าทะลายโจร ของ รองศาสตราจารย์ ดุสิต อธินุวัฒน์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, หน้ากาก N-Breeze M02 ของ ดร.วรส อินทะลันตา ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, น้ำมังคุดชิงธง ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ ภาควิชาวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง ,และนวัตกรรมผลิตภัณฑ์น้ำยาฆ่าเชื้อ ของ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โดยกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อเผยแพร่ภารกิจ หน้าที่ ผลงานวิจัยและกิจกรรม วช. ต่อสาธารณชน และนำไปใช้ให้ประโยชน์ และสร้างความภาคภูมิใจให้นักวิจัย และนักวิชาการ พร้อมรำลึกถึงวันครบรอบ 62 ปี สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

62 ปี วช. เปิดตัว เด็กเก่ง คิดค้น “ถุงตอนกิ่งสำหรับมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง” รักษ์โลก คว้ารางวัลสิ่งประดิษฐ์ ระดับนานาชาติ มาครอง

วันที่ 28 ตุลาคม 2564 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดแถลงข่าว “NRCT Talk: 62 ปี วช. เปิดตัวผลงานสิ่งประดิษฐ์ “ถุงตอนกิ่งสำหรับมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง” ที่นำขยะทางการเกษตรมาพัฒนาเป็นถุงเพาะชำที่ให้ธาตุกับต้นไม้ได้ หนึ่งในสิ่งประดิษฐ์ที่เข้าร่วมประกวดในเวทีนานาชาติงาน “The Innovation Week in Africa (IWA 2021) ณ ประเทศโมร็อกโก”

นายสมปรารถนา สุขทวี รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช.ได้ส่งเสริมและสนับสนุนนักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทยในการนำผลงานที่มีคุณภาพและมีศักยภาพด้านการวิจัยและด้านการประดิษฐ์คิดค้น เข้าร่วมแสดงนิทรรศการและประกวดผลงานในเวทีระดับนานาชาติ นั้น ทำให้ผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมของคนไทยที่ไปเผยแพร่

เป็นที่รู้จักสามารถนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดผลงานให้ได้มาตรฐานเกิดการยอมรับในทางการตลาดและก้าวสู่เชิงพาณิชย์ต่อไป ในครั้งนี้ วช. ได้สนับสนุนผลงานสิ่งประดิษฐ์ “ถุงตอนกิ่งสำหรับมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง” ของ นายพรหมพิริยะ ขัตติยวงษ์,นายนรากรณ์ ธนิกกุล, นายจิราวัฒน์ ศรีศิลป์โสภณ, นายอชิตพล จินดาพรรณ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5, และนายขุนทอง คล้ายทอง อาจารย์ที่ปรึกษา แห่ง โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี เข้าร่วมประกวดสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติ ในงาน The Innovation Week in Africa (IWA 2021) ณ ประเทศโมร็อกโก” ในรูปแบบออนไลน์ เมื่อวันที่ 8-12 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา และเป็นที่น่ายินดีที่ผลงานสิ่งประดิษฐ์ “ถุงตอนกิ่งสำหรับมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง” ได้รับรางวัลเหรียญทองมาครองได้สำเร็จ

นายขุนทอง คล้ายทอง อาจารย์ที่ปรึกษา นายพรหมพิริยะ ขัตติยวงษ์ กล่าวว่า ประเทศไทยและทั่วโลก หันมานิยมบริโภคมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเพิ่มขึ้น ทำให้เกษตรกรเริ่มสนใจปลูกมะม่วงพันธุ์นี้มากขึ้นด้วยเช่นกัน จากการศึกษาพบว่า เกษตรกรนิยมใช้พลาสติกเป็นวัสดุห่อหุ้มวัสดุปลูก แต่เมื่อแกะถุงพลาสติกออกจะเกิดการกระทบกระเทือนราก ส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโต อีกทั้งพลาสติกเหล่านั้นที่ไม่สามารถนำไปใช้ต่อได้จึงกลายเป็นขยะตามมา และเมื่อพิจารณาถึงปริมาณขยะพลาสติกที่เกิดจากเกษตรกรพบว่ามีจำนวนมากถึง 500 ล้านตันต่อปี จากปัญหาดังกล่าว สมาชิกในกลุ่มจึงมีแนวคิดที่จะแก้ปัญหาทั้งสอง พร้อมกันนี้ยังมีแนวคิดเพิ่มคุณสมบัติพิเศษในการเพิ่มสารอาหารที่ช่วยให้เกิดการเจริญเติบโตที่ดี

ด้าน นายพรหมพิริยะ ขัตติยวงษ์ หัวหน้าทีมนักประดิษฐ์ กล่าวต่อว่า ผลงานประดิษฐ์คิดค้นนี้ ได้เริ่มจากรายวิชาในชั้นเรียน โดยมองหาสิ่งใกล้ตัว ที่ต้องการการแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยคำนึงถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ทำการทดลองแบบเน้นใช้วัสดุอุปกรณ์ใกล้ตัวที่ราคาไม่แพง ประหยัด เช่น การใช้แป้งมันสำปะหลัง เพื่อผลิตเป็นแผ่นฟิล์มสำหรับถุงตอนกิ่งมะม่วง เป็นการกระตุ้นการใช้ประโยชน์มันสำปะหลังในประเทศที่มีจำนวนมาก เกษตรกรสามารถใช้งานได้ง่าย และต่อยอดไปได้อีก

สำหรับกระบวนการผลิตถุงตอนกิ่ง ทีมวิจัยได้เลือกทำเป็นแผ่นฟิล์มที่สามารถย่อยสลายได้ เริ่มจากนำแป้งมันสำปะหลังมาผสมกับสารช่วยขึ้นรูป และได้เพิ่มคุณสมบัติของกากกาแฟและขี้เถ้าแกลบลงไป เนื่องจากกากกาแฟมีองค์ประกอบของแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของราก เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม รวมถึงยังมีสารที่สามารถขับไล่แมลงได้หลายชนิดในเวลาเดียวกัน ส่วนขี้เถ้าแกลบก็ประกอบด้วยแร่ธาตุหลายชนิด เช่น ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และแมกนีเซียม อีกทั้งยังเสริมความแข็งแรงให้กับถุงตอนกิ่ง พอถุงตอนกิ่งสำเร็จ นักเรียนได้นำไปทำการทดสอบค่ามาตรฐานต่าง ๆ จนพบว่าถุงตอนกิ่งที่ผลิตขึ้น มีคุณสมบัติที่เหมาะสมในการนำไปใช้ได้จริง ซึ่งผลงานดังกล่าวอยู่ระหว่างการต่อยอดที่จะขยายสเกลการผลิตที่เพิ่มมากขึ้นซึ่งอาจจะช่วยในการเพิ่มทางเลือกของเกษตรกรในอนาคตได้

62 ปี วช. ยกงานวิจัย “นวัตกรรมเซนเซอร์ฉลาดสำหรับตรวจวัดสารปนเปื้อนในอาหารและสิ่งแวดล้อม” มาโชว์

วันที่ 28 ตุลาคม 2564 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

จัดแถลงข่าว “NRCT Talk: 62 ปี วช. นวัตกรรมรักษ์โลก” โชว์ “นวัตกรรมเซนเซอร์ฉลาดสำหรับตรวจวัดสารปนเปื้อนในอาหารและสิ่งแวดล้อม” หนึ่งในนวัตกรรมที่ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับรางวัลประกาศเกียรติคุณ ประจำปี 2564 โดยมี ศาสตราจารย์ กิตติคุณ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน พร้อมกับ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

ศาสตราจารย์ กิตติคุณ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า สิ่งที่นักวิจัยถูกวิจารณ์ คือ การอยู่บนหอคอยงาช้าง งานวิจัยไม่มีช่องทางการสื่อสารมากเพียงพอ NRCT Talk ถือเป็นเวทีให้กับนักวิจัยเพื่อสื่อสารงานวิจัยไปยังสาธารณะ ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อนเกินไป เป็นการสร้างปัญญาให้กับประเทศ ให้ประชาชนสามารถหยิบยกไปใช้ประโยชน์ในชีวิตได้ หวังว่าจะช่วยให้ประเทศไทยเห็นคุณค่าในการลงทุนด้านวิจัย และนวัตกรรมมากยิ่งขึ้น

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เปิดบ้านแถลงข่าว “NRCT Talk: 62 ปี วช. นวัตกรรมรักษ์โลก”

เพื่อเชิดชูนักประดิษฐ์ที่สร้างสรรค์ผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ สร้างคุณูปการให้กับวงวิชาการและประเทศชาติ รวมทั้งเป็นรางวัลที่ส่งเสริมการสร้างแรงจูงใจของนักประดิษฐ์ และนักวิจัยในอันที่จะพัฒนานวัตกรรมทางความคิด และภูมิปัญญาที่เป็นประโยชน์ สร้างความก้าวหน้าในศาสตร์แขนงต่าง ๆ ซึ่งนวัตกรรมเซนเซอร์ฉลาดสำหรับตรวจวัดสารปนเปื้อนในอาหารและสิ่งแวดล้อม ของ รองศาสตราจารย์ ดร.นภาพร ยังวิเศษ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับรางวัลประกาศเกียรติคุณ ซึ่งนวัตกรรมดังกล่าว
นักประดิษฐ์มีความคิดเห็นว่าอาหารการกินเป็นเรื่องสำคัญที่จะส่งผลต่อร่างกายของผู้บริโภคได้ จึงได้อุทิศตนเพื่อประดิษฐ์คิดค้น “นวัตกรรมเซนเซอร์ฉลาดสำหรับตรวจวัดสารปนเปื้อนในอาหารและสิ่งแวดล้อม” ขึ้น

รองศาสตราจารย์ ดร.นภาพร ยังวิเศษ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
กล่าวว่า นวัตกรรมเซนเซอร์ฉลาดสำหรับตรวจวัดสารปนเปื้อนในอาหารและสิ่งแวดล้อม เป็นอุปกรณ์ตรวจวัดสารปนเปื้อน ซัลไฟด์ และไซยาไนด์ โดยอาศัยปฏิกิริยาเฉพาะเจาะจง และมีอุปกรณ์ sample holder ที่ออกแบบใหม่ เป็น “Novel Sample Holder” เพื่อหนีบกับสมาร์ทโฟน และใช้แอปพลิเคชั่นในการหาปริมาณสารในอาหาร นอกจากนี้ นวัตกรรมดังกล่าว ยังตรวจวัดปริมาณ
ซัลไฟต์ในอาหาร ตรวจวัดปริมาณไซยาไนด์ในน้ำดื่ม ตรวจวัดทีเอ็นทีในดิน รวมทั้งในเสื้อผ้า พื้นผิวต่าง ๆ และตรวจวัดไนไตรต์
ในตัวอย่าง ซึ่งจะเป็นเครื่องมืออย่างง่ายให้ผู้ประกอบการ หรือให้ผู้บริโภคใช้ตรวจสอบป้องกันสารอันตรายต่อร่างกาย โดยผลที่ได้เมื่อเทียบเคียงกับวิธีทดสอบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน สามารถให้ผลแม่นยำเช่นกัน

การใช้งานของ “นวัตกรรมเซนเซอร์ฉลาดสำหรับตรวจวัดสารปนเปื้อนในอาหารและสิ่งแวดล้อม” นำเซนเซอร์ฉลาดที่ออกแบบไปหนีบบนสมาร์ทโฟนได้ทั้งแนวตั้งแนวขวาง กล้องอยู่ริมหรืออยู่กลางก็สามารถใช้งานได้ สามารถประมวลผลเป็นปริมาณสาร พร้อมชุดทดสอบสารต่าง ๆ บนแพลตฟอร์มของสำลีก้านเพื่อช่วยลดการรบกวนจากสารอื่น ๆ ในตัวอย่างโดยเฉพาะเมื่อใช้ร่วมกับเทคนิค headspace microextraction โดยสารที่สนใจถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแก๊สและขึ้นไปจับกับ
รีเอเจนต์เฉพาะในสำลีก้านที่แขวนเหนือสารตัวอย่าง และเมื่อนำไปใส่ใน sample holder ที่หนีบติดกับกล้องสมาร์ทโฟน จากนั้น แอปพลิเคชั่น จะถ่ายภาพและแปลงข้อมูลเป็นความเข้มข้น โดยเทียบกับกราฟมาตรฐานที่เก็บไว้

นอกจากนี้ ตัว sample holder มีจุดเด่นคือ สามารถใช้ได้กับสมาร์ทโฟนหลายรุ่น และหลายยี่ห้อ เนื่องจากออกแบบเป็นแบบหนีบมีขนาดเล็ก ตัว sample holder มีเลนส์ช่วยเพื่อลดระยะห่างระหว่างตัวอย่างที่ถ่ายกับกล้อง เพื่อทำให้อุปกรณ์มีขนาดเล็กลง มี LED white light เพื่อช่วยให้แสงในการถ่ายภาพ นอกจากนี้ sample holder ยังสามารถประยุกต์ใช้กับการถ่ายสารละลายใน cuvette โดยออกแบบที่ใส่ cuvette และ vial ไว้ด้วย
งานวิจัยคุณภาพจะเป็นทางเลือกให้เกษตรกร และภาคอุตสาหกรรมเกษตรนำไปใช้ช่วยยกระดับคุณภาพ ลดรายจ่าย และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ซึ่งช่วยให้สินค้าเกษตรกรไทย เปิดโอกาสในตลาดโลก ลดปัญหาการกีดกันทางการค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสำหรับคนรักสุขภาพ COCOA PHIMMY

นางงาม นางแบบ คุณหมอ คนดัง พร้อมใจร่วมงานเปิดตัว COCOA PHIMMY

มีดีที่คุมไขมัน ถือฤกษ์ดีเปิดตัวอย่างเป็นทางการ สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสำหรับคนรักสุขภาพ COCOA PHIMMY ของคุณพิมพ์ชนก แก้วพระสุนา ประธานกรรมการ บริษัท เทียร่า ซีเคร็ท จำกัด โดยได้รับเกียรติจากนายแพทย์ สุรสิทธิ์ อัศดามงคล ประธานกรรมการโรงพยาบาลบางมด คุณหมอชื่อดัง ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน

โดยมี ชนากานต์ ชัยศรี มิสไทยแลนด์เวิลด์ ปี 1990 เจียรนัย สังข์ห้อง Miss Chumphon 2017 บุญวรา เลิศปรีชา นิธินันท์ คุณสินศรัณย์ นางแบบร่วมแสดงความยินดี ณ เดอะลักษ์ คลีนิค ถนนเพชรบุรี
บรรยากาศภายในงานจัดให้มีกิจกรรม “เปิดซอง ลองชิม” เพื่อสัมผัสรสชาติละมุนของคนรักโกโก้ตัวจริง ที่ต้องการทั้งความอร่อย และควบคุมน้ำหนัก ทำเอากลิ่นหอมฟุ้งไปทั้งห้อง ซึ่งแต่ละคนหลังเปิดซองก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าหอมมาก กลิ่นดีงามต่อสุขภาพมากๆ ยิ่งได้ชิมลิ้มรสก็ยิ่งหลงรักเพราะความเข้มข้นของโกโก้ที่เจ้าของแบรนด์ ตั้งใจจัดส่วนผสมมาให้ในซองแบบเต็มพิกัดเข้มข้น รสโกโก้ ที่สำคัญรสชาติอร่อยหวานอ่อนๆ ของสารสกัดจากธรรมชาติทำให้ดื่มง่ายสบายท้อง หลายคนติดใจจนต้องขอแก้วที่ 2 เรียกว่าถูกอกถูกใจสาวๆ ที่ไม่รักความหวานและไม่ต้องการความอ้วน มาดูแลรูปร่างได้อย่างลงตัวเลยทีเดียว


ชนากานต์ ชัยศรี มิสไทยแลนด์เวิลด์ 1990 และเชฟนางงาม จาก Le Cordon Bleu เปิดเผยว่า “วันนี้ก็ต้องขอแสดงความยินดีกับน้องพิมพ์ชนก บริษัท เทียร่า ซีเคร็ท จำกัด

ด้วยคะกับการเปิดตัวผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่ดีที่สุดอีกตัวหนึ่งตอนนี้ COCOA PHIMMY ทำไมส้มถึงบอกว่าดีที่สุดเนื่องจากว่าก่อนที่จะเปิดตัวงานในวันนี้น้องพิมพ์ชนก ได้ส่งไปให้ส้มทาน การที่ได้ทานอะไรแบบนี้ทำให้รู้สึกสดชื่น สิ่งสำคัญสำหรับผู้หญิงคือเรื่องความสวย สุขภาพ ที่สำคัญไม่อยากแก่ ไม่อยากอ้วน สิ่งนี้มาพร้อมกับผู้หญิงทุกคนคะ โกโก้พริมมี่ของน้องพิมพ์ชนก มาในจังหวะที่เหมาะสมมาก ตอบโจทย์มากๆ ทานง่ายๆได้สารอาหารครบ กลิ่นหอมละมุน ปกติส้มทานกาแฟวันละ 2 แก้วเพราะเป็นคนชอบดื่ม ตอนนี้ก็เป็นกาแฟหนึ่งแก้ว โกโก้หนึ่งแก้ว ถ้าจะให้เห็นผลดีสำหรับการลดน้ำหนัก ควบคุมน้ำหนัก ควรจะทานตอนเช้าก่อนมื้ออาหาร เพราะจะทำให้รู้สึกอิ่ม ไม่กินจุบจิบ แต่ว่าอาหารหลักในมื้อเที่ยงควรจะทานเหมือนเดิมนะคะ ก็จะทำให้ร่างกายได้สารอาหารในแต่ละวันครบถ้วนและช่วยให้เราไม่อ้วนด้วยค่ะ”

SKYMED ยื่นฟ้องนายหน้า-บริษัทตัวแทนจำหน่ายที่ลักลอบปลอมแปลงผลิตภัณฑ์

และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้ชื่อเสียงบริษัทเสื่อมเสีย

วันที่ 28 ต.ค. 2564 เวลา 12.30 น. ที่สถานีตำรวจนครบาล พหลโยธิน ทาง SKYMED ได้ยื่นจดหมายและสำนวนฟ้องร้องนายหน้า-บริษัทตัวแทนจำหน่าย จากกรณีการนำเข้าถุงมือยางทางการแพทย์เข้าไปจำหน่ายในสหรัฐอเมริกา

ในช่วงเกิดการระบาดของเชื้อโคโรน่าไวรัส (COVID-19) และมีการตรวจสอบจากผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ว่าเป็นถุงมือยางทางการแพทย์ที่ใช้แล้วมาล้างทำความสะอาด ย้อมสี และบรรจุกล่องให้ดูเหมือนเป็นสินค้าใหม่แล้วส่งออก

ทำให้มีการสืบสวนข้อเท็จจริงจากกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ จากเหตุการณ์นี้ทางสำนักข่าวซีเอ็นเอ็นได้รายงานและเผยแพร่ข่าวไปไม่กี่วันที่ผ่านมาว่ามีรายชื่อบริษัทที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นี้คือ บริษัท Paddy the Room

ซึ่งเป็นบริษัทจัดจำหน่ายถุงมือยาง และ SKYMED ซึ่งเป็นยี่ห้อถุงมือยางทางการแพทย์ที่มีบริษัท เมืองเศรษฐกิจพอเพียง จำกัด เป็นผู้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จากนั้นทาง SKYMED ได้ออกมาชี้แจงว่าได้มีกลุ่มบุคคลลักลอบบรรจุหีบห่อถุงมือยางทางการแพทย์อย่างผิดกฎหมาย โดยที่ “เมืองเศรษฐกิจพอเพียง” ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าไม่รับรู้และไม่ได้อนุญาต

น.อ. (พิเศษ) คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ ประธานกรรมการบริหาร (ซีอีโอ) บริษัท เมืองเศรษฐกิจพอเพียง จำกัด ซึ่งเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ภายใต้เครื่องหมายการค้า SKYMED กล่าวว่า “จากการปรึกษาหารือทุกๆฝ่าย เกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ที่ทำให้ชื่อเสียงของบริษัทและครอบครัวเสื่อมเสีย อีกทั้งทำให้แผนงานของบริษัทที่วางไว้ที่จะช่วยเหลือประเทศโดนทำลาย จึงจำเป็นต้องตั้งทีมกฎหมายพร้อมทั้งรวบรวมข้อมูลหลักฐานการทำสัญญากับนายหน้า-บริษัทตัวแทนจำหน่ายที่กระทำการผิดต่อสัญญาหรือตัดแต่ง ปลอมแปลงสัญญาไปหาผลประโยชน์ส่วนตนแล้วนำความเสียหายมาให้ SKYMED เบื้องต้นนี้จึงได้ยื่นเอกสารและแจ้งความฟ้องร้องที่สถานีตำรวจนครบาล พหลโยธินก่อน จากนั้นจะผลักดันเรื่องถีงกองปราบปรามและอนุญาโตตุลาการ”

ซีอีโอ บริษัท เมืองเศรษฐกิจพอเพียง จำกัด กล่าวต่อวา “ในกรณีนี้ได้ยื่นสำนวนฟ้องและเรียกร้องค่าเสียหาย บริษัท Paddy the Room เป็นจำนวน 50 ล้านล้านบาท ในส่่วนต่อมาได้เรียกร้องค่าเสียหายจาก Medico Titan, Lund Entertainment และ VLSG เป็นจำนวนเงิน 500 ล้านล้านบาท ในกรณีที่ทางเลขาองค์การอาหารและยาได้กล่าวข้อมูลที่ผิดๆกับทางซีเอ็นเอ็นไป จากข่าวที่ได้นำเสนอไปเบื้องต้นทางบริษัทคงต้องยื่นฟ้องเช่นกันเนื่องจากทำให้ภาพลักษณ์ของ SKYMED เสื่อมเสียยิ่งขึ้น และทางบริษัทหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านจะช่วยแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง โดยมูลค่าความเสียหายทั้งหมดที่ได้มาจากการฟ้องร้องครั้งนี้ บางส่วนจะมอบให้ WHO เพื่อใช้เป็นการนำไปช่วยเหลือผู้ปวยจากโควิด-19 บางส่วนจะนำมาช่วยพัฒนาประเทศ ช่วยเหลือผู้ลี้ภัย สร้างพุธมหานคร สร้างธนาคารพุทธ และพัฒนานวัตกรรมเพื่อคนไทยต่อไป”

สำหรับกรณีอื่นๆ ทาง SKYMED จะรื้อสัญญามาดูใหม่ทั้งหมด รวมทั้งสัญญาแนบที่ห้ามเปิดเผย (Non Disclosure Agreement) ทุกห่วงโซ่และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคน หากพบว่ามีการแอบอ้าง ขายสัญญา และเทรดในตลาดเป็นลูกโซ่โดยที่บริษัทไม่ทราบและไม่อนุญาตทางบริษัทจะตั้งทีมกฎหมายเข้าดำเนินการฟ้องร้องเรียกค่าลิขสิทธิ์จากอนุญาโตตุลาการทั้งหมด หากท่านหรือบริษัท หน่วยงานต่างๆที่สนใจในผลิตภัณฑ์ของ SKYMED ให้ติดต่อกับบริษัทโดยตรงหรือตัวแทนจำหน่ายที่มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีนเท่านั้น นอกนั้นทางบริษัทขอระงับการเป็นนายหน้ารายอื่นไว้ก่อน หลังจากตรวจสอบครบแล้วจะแจ้งเส้นทางการติดต่อกับตัวแทนจำหน่ายและบริษัทนายหน้าอื่นๆอีกครั้ง

ทางบริษัทก็พร้อมที่จะย้ายฐานการผลิตทั้งหมดไปที่ประเทศจีน โดยได้เตรียมการโยกย้ายทั้งนำนักวิทยาศาสตร์ ทีมวิศวกรและทีมวิจัยไปทั้งหมด ซึ่งทางบริษัทได้เตรียมการมาระยะหนึ่งแล้ว และทางตัวแทนที่ประเทศจีนได้เตรียมความพร้อมในการควบคุมคุณภาพสินค้าและโรงงานผลิตขนาดใหญ่กว่า 100 โรงงาน เรียบร้อยแล้ว สำหรับโรงงานที่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี จะปรับแผนพัฒนาฟ้าทะลายโจรและนวัตกรรมต่างๆเพื่อคนไทยแทน" น.อ. (พิเศษ) คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ กล่าวทิ้งท้าย

วช.หนุนคิดค้น “รถยนต์สามล้อไฟฟ้าสำหรับผู้สูงอายุ -คนพิการ”

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

สนับสนุนสถาบันเทคโนโลยีพระจอม เกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คิดค้นนวัตกรรม“มอเตอร์ไซค์สามล้อไฟฟ้าสำหรับผู้สูงอายุและคนพิการทางการเคลื่อนไหว” เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน

รศ.ดร.ดอน อิศรากร ภาควิชาการวัดและระบบควบคุม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอม เกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เปิดเผยว่า ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในการคิดค้นนวัตกรรมมาสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อช่วยผู้สูงอายุและคนพิการในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้ทำงานได้เหมือนคนปกติ นั่นก็คือ “มอเตอร์ไซค์สามล้อไฟฟ้าสำหรับผู้สูงอายุและคนพิการทางการเคลื่อนไหว” ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 4 กิโลวัตต์ สามารถ ให้มีความเร็วในการขับขี่สูงสุดถึง 77 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีระบบบริหารจัดการและระบบประจุแบตเตอรี่ที่ชาญฉลาด สามารถขับเคลื่อนรถ ในขณะที่มีน้ำหนักรถรวม น้ำหนักบรรทุก ของคนพิการและเก้าอี้รถเข็นได้มาก ถึง 180 กิโลกรัม มีการออกแบบที่ทันสมัย มีระบบทางลาดขึ้น – ลง แบบใช้กระบอกโช๊คน้ำมันแบบเกลียวไฟฟ้าช่วยให้คนพิการที่โดยสารเก้าอี้รถเข็นให้สามารถขึ้น – ลงรถยนต์สามล้อไฟฟ้าได้อย่าง สะดวกและปลอดภัย ระบบไฟฟ้าส่องสว่างและสัญญาณไฟต่าง ๆ เป็น LED มีหลังคาและกระจกหน้าที่ ได้รับมาตรฐาน มอก. ช่วยให้คนพิการได้ขับขี่อย่างปลอดภัย และสุดท้ายรถยนต์สามล้อไฟฟ้าส่วนบุคคล สำหรับคนพิการสามารถนำไปจดทะเบียนได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายของกรมการขนส่งทางบก ทั้งนี้ การผลิตรถยนต์สามล้อส่วนบุคคลสำหรับคนพิการได้ถูกปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติมอยู่หลายครั้ง จนมีรูปลักษณ์ภายนอกที่สวยงาม

ด้าน ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า “มอเตอร์ไซค์สามล้อไฟฟ้าสำหรับผู้สูงอายุและคนพิการทางการเคลื่อนไหว” ได้รับการจดทะเบียนอย่างถูกต้องแล้ว องค์ความรู้และต้นแบบที่เกิดขึ้นสามารถนำไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้ การผลิตจำนวนมากเพื่อรองรับความต้องการของคนพิการที่มีความต้องการใช้ยานพาหนะในการเดินทางและดำเนินชีวิตแบบคนปกติ ยังเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการและการให้โอกาสทางสังคมแก่คนพิการ

เริ่มแล้ววันนี้… งาน OTOP MIDYEAR 2021 เมืองสุขสยาม ณ ไอคอนสยาม

🗓 วันที่ 25 – 31 ตุลาคม 2564
📌ลานเมือง และโซนภาคใต้ เมืองสุขสยาม ณ ไอคอนสยาม ชั้น G และ ชั้น UG

บรรยากาศพิธีเปิดงาน“ OTOP MIDYEAR 2021” จัดโดย กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย 
#จัดใหญ่จัดเต็ม

ทั้งชั้น G และชั้น UG เมืองสุขสยาม ณ ไอคอนสยาม
🎯เพื่อสนับสนุนร้านค้าและผู้ประกอบการ OTOP ทั้ง 4 ภาคทั่วไทย รวม 204 ร้านค้า #จัดเต็มความสุขทั้งพื้นที่ #ละลานตา 🤩 ครบทุกไลฟ์สไตล์ ทั้งสินค้าแฟชั่น-ผ้าไทย,เครื่องประดับไปจนถึงของใช้ #เต็มอิ่มกับสำรับของกินทั้งคาวหวานอร่อยเด็ด สุดแซ่บ!!

  • มาร่วมด้วยช่วยกัน #สนับสนุนและต่อยอด
  • ให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อย ร้านค้าชุมชน จากทั่วทุกภาคของไทย ที่รวมกันไว้ภายในงานเดียว 🛡พร้อมให้บริการภายใต้มาตรการความสะอาดด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยสูงสุด

🗓 วันที่ 25 – 31 ตุลาคม 2564
📌ลานเมือง และโซนภาคใต้ เมืองสุขสยาม ณ ไอคอนสยาม ชั้น G และ ชั้น UG

สุขสยาม #เมืองสารพัดสุขสนุกแบบไทย

SOOKSIAM #ICONSIAM #OTOPMIDYEAR2021

อว.ช่วยชาวบ้านน้ำท่วม มอบ “บาล์มตะไคร้ อว.” 3,000 ขวด รักษาโรคน้ำกัดเท้า จ.พระนครศรีอยุธยาและสุพรรณบุรี พร้อมฟ้าทะลายโจร 500 ต้น

วันที่ 26 ตุลาคม 2564 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมส่งมอบผลิตภัณฑ์บาล์มตะไคร้ ให้ผู้แทนชุมชนจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดสุพรรณบุรี นำไปใช้รักษาโรคน้ำกัดเท้าในช่วงสถานการณ์อุทกภัย และส่งมอบต้นฟ้าทะลายโจร เพื่อป้องกันโควิด-19 โดยมี ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธี ณ อาคารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กรุงเทพมหานคร

ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า อว. ดำเนินโครงการ อว.พารอด มากว่า 2 – 3 เดือนแล้ว มาวันนี้ที่ประชาชน
ในหลายพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วม อว. ก็พร้อมพารอดด้วยองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เรามี อย่างในวันนี้มีคนไทยที่เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากความชื้นเยอะที่สุด การที่ อว.นำเทคโนโลยี ความรู้ที่มีอยู่แล้วมาผลิต “บาล์มตะไคร้” ทำให้เห็นว่า อว. เก่งและเร็วมาก ๆ เพราะใช้เวลาแค่ 3 วันเท่านั้นในการผลิต เพื่อนำมามอบ
ให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดสุพรรณบุรี ใช้ในการรักษาโรคน้ำกัดเท้า ซึ่งจะช่วยลดความยากลำบากในการใช้ชีวิตในช่วงประสบภัยนี้ได้มาก

ศาสตราจารย์ (วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แห่งประเทศไทย 

กล่าวว่า ประเทศไทยประสบเหตุการณ์น้ำท่วมเป็นประจำทุก ๆ ปี กินระยะยาวนานหลายเดือน ประชาชนต้องประสบกับโรคน้ำกัดเท้า ที่ผ่านมา วว. โดยศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร ได้ดำเนินงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรมาเป็นเวลากว่า 40 ปี จากงานวิจัยการใช้ประโยชน์จากพืชหอม ได้สกัดน้ำมันหอมระเหยหลายชนิดนำมาทดสอบฤทธิ์ในการต้านเชื้อจุลินทรีย์ แบคทีเรียและเชื้อราต่าง ๆ พบว่า น้ำมันตะไคร้ที่มีองค์ประกอบสำคัญ คือ สารซิทรัล (Citral) มีคุณสมบัติสามารถต้านเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคผิวหนังได้ เหมาะสมที่จะพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ในการรักษาเชื้อราบนผิวหนัง และได้ทดลองพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ผสมน้ำมันตะไคร้ นำไปทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อราพบว่าได้ผลดีกว่าผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด วว. จึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์บาล์มตะไคร้จากสารสกัดน้ำมันตะไคร้เพื่อรักษาโรคน้ำกัดเท้า ที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย นอกจากนี้ยังสามารถรักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อราอื่น ๆ เช่น กลาก เกลื้อนได้อีกด้วย โดย วว. ได้รับการสนับสนุนทุนในการผลิต จาก วช. ให้ดำเนินการผลิตบาล์มตะไคร้จากสารสกัดน้ำมันตะไคร้ จำนวน 3,000 ขวด เพื่อมอบให้แก่ชุมชนในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดสุพรรณบุรีเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนที่ประสบอุทกภัย นับว่าเป็นการบูรณาการความร่วมมือของหน่วยงานภายใต้ กระทรวง อว. ที่ร่วมมือกันขยายประโยชน์งานวิจัยให้สามารถใช้ได้จริง

ด้าน ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. มีภารกิจสำคัญในการการบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมแก่นักวิจัย หน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม ในประเด็นสำคัญของประเทศ

มุ่งเน้นการสร้างผลงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์และแก้ไขปัญหาได้จริงอย่างทันท่วงที ทั้งเชิงวิชาการ เชิงเศรษฐกิจ เชิงสังคมและชุมชน และเชิงนโยบาย เพื่อใช้เป็นกลไกในการพัฒนาและแก้ปัญหาเร่งด่วนสำคัญของประเทศ ในครั้งนี้ ประเทศไทยต้องประสบกับสถานการณ์น้ำท่วม และยังคงมีจังหวัดที่น้ำท่วมขังสูง ยาวนานหลายสัปดาห์ ทำให้ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน ต้องเดินลุยน้ำและแช่น้ำเป็นเวลานาน จนเริ่มมีอาการของ “โรคน้ำกัดเท้า” การป้องกันโรคน้ำกัดเท้าโดยรักษาความสะอาดและทำให้เท้ามีความชื้นน้อยที่สุดจึงเป็นเรื่องสำคัญ วช. เล็งเห็นว่า สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
โดยศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร ได้ดำเนินงานวิจัยและพัฒนา โดยนำสมุนไพรไทยมาสกัดแล้วพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับป้องกันและรักษาโรคและอาการต่าง ๆ ได้ วช.จึงได้ให้การสนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนา จนนำมาสู่การใช้ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์บาล์มตะไคร้ เพื่อรักษาน้ำกัดเท้า

นอกจากนี้ วช. ยังได้นำต้นฟ้าทะลายโจรซึ่งเป็นพืชสมุนไพรจากโครงการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร
คืนถิ่นจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ วช. ให้การสนับสนุน จำนวน 500 ต้น มามอบให้กับตัวแทนชุมชนด้วย โดยฟ้าทะลายโจรเป็นสมุนไพรไทยที่ถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย ในฐานะสมุนไพรทางเลือกที่มีฤทธิ์เย็น ช่วยปรับลดความร้อนในร่างกาย เมื่อมีอาการไข้หวัด ไอและเจ็บคอ เพื่อรักษาสมดุลในร่างกาย ทำให้ฟ้าทะลายโจรเป็นสมุนไพรที่นิยมใช้ประโยชน์ในการรักษาไข้หวัด อีกทั้งยังสามารถนำมารักษาอาการเบื้องต้นของผู้ป่วยโควิด-19 ได้อีกด้วย
สำหรับการส่งมอบผลิตภัณฑ์บาล์มตะไคร้และต้นฟ้าทะลายโจรในวันนี้ ได้มีตัวแทนชุมชนเข้ารับมอบ ประกอบด้วย ผู้ใหญ่สมพร ธัญญาวุฒิ หมู่บ้านหาดทราย หมู่ที่ 3 ต.พระยาบันลือ อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา สท.สุนทร กำเสียงใส ผู้แทนหมู่บ้านศาลาแดง หมู่ที่ 11 ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี อาจารย์พูนศักดิ์ ทิพย์ศิริ ผู้แทนหมู่บ้านอ่าวหม้อแกง หมู่ที่ 10 อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี นายพันธกานต์ ปทุมวัน ผู้แทนประชาชนใน อ.ท่าเรือ อ.เสนา อ.บางบาล อ.มหาราช อ.บางประหัน จ.พระนครศรีอยุธยา และผู้ใหญ่อารุณี วงศ์หาญ ผู้แทนบ้านเกาะกลาง หมู่ที่ 3 ต.ลุมพลี อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

กรมบังคับคดีเร่งให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ธนาคารนับ 10 ราย ถูกยึดบ้านขายทอดตลาด

ตามที่มีข่าว ลูกหนี้ธนาคารนับ 10 ราย ถูกยึดบ้านขายทอดตลาดในราคาเพียง 235,000 บาท ติดต่อซื้อคืนจากผู้ซื้อรายใหม่ จะขายคืนในราคา 2,500,000 บาท ไม่สามารถหาเงินซื้อกลับมาได้ นั้น


นางทัศนีย์ เปาอินทร์ รองอธิบดี รักษาราชการแทนอธิบดีกรมบังคับคดี 
เปิดเผยว่า กรณีดังกล่าว เป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดวิเชียรบุรี คดีหมายเลขแดงที่ มย10/2563 โดยโจทก์ได้ขอให้
เจ้าพนักงานบังคับคดีนำยึดที่ดินรวม 4 แปลง

 แปลงที่ 1 โฉนดเลขที่ 1189 แปลงที่ 2 โฉนดเลขที่ 1457 แปลงที่ 3 โฉนดเลขที่ 5202 แปลงที่ 4 โฉนดเลขที่ 1479 ต.โคกสะอาด อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ เพื่อนำออก ขายทอดตลาดชำระหนี้ ก่อนการขายทอดตลาด เจ้าพนักงานบังคับคดีได้เชิญคู่ความที่เกี่ยวข้องมาทำการไกล่เกลี่ย ปรากฏผลการไกล่เกลี่ยสำเร็จ จำเลยยอมชำระเงินให้แก่โจทก์ เนื่องจากจำเลยไม่ได้ชำระหนี้ ตามข้อตกลง
เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงทำการขายทอดตลาดที่ดินทั้ง 4 แปลง และสามารถขายที่ดินแปลงที่ 3 และแปลงที่ 4 ซึ่งมีผู้ร้องเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ได้ก่อนเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา ผู้ร้องประสงค์จะซื้อที่ดินคืนจากผู้ซื้อทรัพย์ แต่ผู้ซื้อทรัพย์แจ้งขายคืนในราคา 2,500,000 บาท สำหรับแปลงที่ 1 และ 2 ยังไม่มีผู้สนใจเข้าสู้ราคา ซึ่งต่อมาจำเลยได้ทำข้อตกลงปรับปรุงโครงสร้างหนี้ใหม่ โจทก์จึงได้แถลงของดการบังคับคดี เป็นระยะเวลา 1 ปี โดยครบกำหนดวันที่ 4 ตุลาคม 2565 ทันทีที่ทราบข่าวความเดือดร้อนของผู้ร้อง และครอบครัว กรมบังคับคดีไม่ได้นิ่งนอนใจและเร่งให้ความช่วยเหลือผู้เดือดร้อนในทันที โดยในวันนี้ (25 ตุลาคม 2564) ได้มอบหมายให้สิบตำรวจโทหญิง มัณฑนา เฉลิมฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานบังคับคดี
จังหวัดเพชรบูรณ์ สาขาวิเชียรบุรี ลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือผู้ร้อง โดยได้ประสานไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และอัยการคุ้มครองสิทธิ และช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรบูรณ์ สาขาวิเชียรบุรี เพื่อเจรจาไกล่เกลี่ยหาทางออกร่วมกัน ในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2564 เวลา 13.30 น. ณ สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิ และช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรบูรณ์ สาขาวิเชียรบุรี
ทั้งนี้
 กรมบังคับคดีได้ให้ความสำคัญกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดีมาโดยตลอด คู่ความสามารถยื่นคำร้องขอไกล่เกลี่ยข้อพิพาทผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ทางเว็บไซต์กรมบังคับคดี www.led.go.th และสามารถขอไกล่เกลี่ยข้อพิพาทออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Session Call สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท กรมบังคับคดี โทรศัพท์หมายเลข 0 2881 4840, 0 2887 5072 หรือ
สายด่วนกรมบังคับคดี 1111 กด 79 และสำนักงานบังคับคดีจังหวัด/สาขาทั่วประเทศ