สุดปัง ! “Modern Walk” อุปกรณ์ช่วยพยุงเดินป้องกันหกล้ม คว้ารางวัลการวิจัยแห่งชาติ ปี 64 จาก วช.

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
 มอบรางวัลการวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับประกาศเกียรติคุณ ประจำปี 2564 ให้กับผลงาน Modern Walk อุปกรณ์ช่วยพยุงเดินป้องกันการหกล้ม ด้วยระบบสปริง 2+2 ทิศทาง

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. มีนโยบายที่จะส่งเสริมและเชิดชูเกียรตินักวิจัยไทย ซึ่งได้ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและวงวิชาการเป็นส่วนรวม จึงได้จัดให้มีการประกาศเกียรติคุณนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติเป็นประจำทุกปี ในครั้งนี้ วช. ได้มอบรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับประกาศเกียรติคุณ ประจำปี 2564 ให้แก่ นายศักนรินทร์ ผิวเหลือง แห่งวิทยาลัยเทคนิคอำนาจเจริญและคณะ เนื่องจากเป็นนักวิจัยที่สร้างองค์ความรู้ทางการวิจัยที่สำคัญ ในการนำอุปกรณ์ช่วยพยุงเดินป้องกันการหกล้ม หรือ Modern Walk มาเป็นเครื่องมือที่มีส่วนช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีความผิดปกติของร่างกาย ซึ่งมีความยากลำบากในการเดินหรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ให้สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ซึ่งนับว่าเป็นผลงานที่มีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง อีกทั้งยังเป็นผลงานที่รองรับสังคมสูงวัยในอนาคตอีกด้วย

นายศักนรินทร์ ผิวเหลือง อาจารย์ประจำแผนกเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ แห่งวิทยาลัยเทคนิคอำนาจเจริญ กล่าวว่า Modern Walk อุปกรณ์ช่วยพยุงเดินป้องกันการหกล้ม ด้วยระบบสปริง 2+2 ทิศทาง เป็นอุปกรณ์ช่วยพยุงเดินสำหรับผู้สูงอายุ มีหลักในการสร้างและออกแบบโดยออกแบบยึดตามโครงสร้างของร่างกายมนุษย์กล่าวคือ สามารถปรับความสูงต่ำได้ตามโครงสร้างร่างกายของผู้ใช้งาน ใช้ระบบป้องกันการหกล้มด้วยระบบสปริงแบบแยกส่วนได้ โดยสปริง 2 ตัวแรกจะยึดเข้ากับเข็มขัดที่อยู่ที่ตำแหน่งเอวและสปริงอีก 2 ตัวจะยึดเข้ากับเข็มขัดที่มีลักษณะคล้ายเสื้อกั๊ก มีตะขอเกี่ยวที่ตำแหน่งบ่าไหล่ทั้งสองข้างยึดเข้ากับโครงสร้างส่วนบน ซึ่งทั้งสองส่วนสามารถถอดแยกส่วนการใช้งานหรือใช้งานร่วมกันทั้งสองส่วนได้ โครงสร้างทั้งหมดเป็นสแตนเลส เกรด 304 มีข้อดี คือ มีน้ำหนักเบาไม่เป็นสนิม มีระบบเบรกมือซ้ายขวาและมีเบาะพับเก็บได้ในตัว ในกรณีผู้ใช้งานต้องการนั่งพักได้ออกแบบมือจับทั้งด้านหน้าและด้านหลัง กรณีที่ผู้ใช้งานต้องการให้ผู้ดูแลหรือญาติช่วยเข็น โดยผู้สูงอายุขึ้นนั่งที่เบาะและผู้ดูแลสามารถเข็นไปในที่ต้องการได้อย่างสะดวก

สำหรับผลงาน Modern Walk อุปกรณ์ช่วยพยุงเดินป้องกันการหกล้ม ด้วยระบบสปริง 2+2 ทิศทางนั้น มีอุปกรณ์ป้องกันการหกล้มด้วยสปริง 4 ทิศทางและมีอุปกรณ์ช่วยลดแรงกระแทกหากมีการหกล้ม สามารถรับน้ำหนักผู้ใช้งานได้สูงสุดประมาณ 120 กิโลกรัม สามารถปรับใช้งานได้กับผู้มีความสูงตั้งแต่ 145 – 175 เซนติเมตร โดยวัสดุที่นำมาจัดสร้างเป็นสแตนเลส เกรด 304 ซึ่งมีคุณสมบัติไร้สนิมและมีน้ำหนักเบาเคลื่อนย้ายหรือนำไปใช้งานได้สะดวก มีตะกร้าไว้เก็บสัมภาระด้านหน้าที่รับน้ำหนักได้ประมาณ 20 กิโลกรัม ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าว เหมาะสมกับการนำไปใช้ในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีความยากลำบากในการเดินในชีวิตประจำวัน

 อุปกรณ์ชิ้นนี้จะเป็นแบบ Passive ไม่มีระบบไฟฟ้ามาเกี่ยวข้อง 

ในส่วนของผลการทดสอบระบบการทำงานของ Modern Walk อุปกรณ์ช่วยพยุงเดินป้องกันการหกล้มด้วยระบบ สปริง 2+2 ทิศทาง กับกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ระบบต่าง ๆ ในอุปกรณ์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ทุกประการ ซึ่งปัจจุบัน ผลงานดังกล่าวอยู่ในระหว่างการขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) จาก สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

“รวมพลังจิตอาสาปลูกป่า”

อธิบดีพช.ร่วมกิจกรรม
 "รวมพลังจิตอาสาปลูกป่า" เนื่องในโอกาสวันรักต้นไม้ ประจำปีของชาติ 2564

นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานเปิดกิจกรรม “รวมพลังจิตอาสาปลูกป่า” เนื่องในโอกาสวันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ. 2564 พร้อมด้วย ผศ.ดร.ศศิธร จันทมฤก ประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชน นายนิวัติ น้อยผาง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นายสุรศักดิ์ อักษรกุล รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่กรมการพัฒนาชุมชน เข้าร่วมกิจกรรมฯ โดยมีนายอำพล อังคภากรณ์กุล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก และ นายสิทธิชัย สวัสดิ์แสน รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก ให้การต้อนรับ ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครนายก ตำบลสาลิกา อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก
โดยกิจกรรมครั้งนี้ ได้ยึดหลักตามมาตรการ D-M-H-T-T เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) อย่างเคร่งครัด

นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2533 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ วันที่ 21 ตุลาคม ของทุกปี เป็น “วันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ” กรมการพัฒนาชุมชน จึงได้จัดทำโครงการรวมพลังจิตอาสาปลูกป่า เนื่องในโอกาสวันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ. 2564 เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีพระราชปณิธานอย่างแรงกล้าที่จะฟื้นฟูความสมดุลของธรรมชาติ โดยทรงปลูกและบำรุงต้นไม้ด้วยพระองค์มาโดยตลอด กิจกรรมครั้งนี้ จึงเป็นการสร้างจิตสำนึกให้เกิดความรักความหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ของชาติ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียว และเพิ่มทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดความสมบูรณ์ สร้างความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยได้มอบกล้าพันธุ์ไม้ให้
นางประภา ปานนิตยกุล ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครนายก และร่วมกิจกรรมปลูกต้นรวงผึ้ง ปลูกพืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจร พัฒนาคุณภาพดินด้วยการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำ พร้อมทั้งปล่อยพันธุ์ปลานิล ปลานวลจันทร์ และปลาตะเพียน จำนวน 600 ตัว รวมถึงเยี่ยมชมกิจกรรม “โคก หนอง นา พช.” ของศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครนายก

กรมการพัฒนาชุมชน

ขอยืนยันว่าจะร่วมสืบสานพระปณิธานสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สมเด็จย่า) ดูแล รักษา ผืนป่า สร้างความสมดุลทางธรรมชาติให้เกิดความยั่งยืน และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป

รวมพลังจิตอาสาปลูกป่า

กรมการพัฒนาชุมช

แห่งเดียวในประเทศไทย อาณาจักรฮิโนกิแลนด์เมืองญี่ปุ่น

อาณาจักรฮิโนกิแลนด์เมืองญี่ปุ่นจำลอง

Hinoki Land เป็นสถานที่ท่องเที่ยวชมวัฒนธรรมของญี่ปุ่น แห่งแรก

แห่งเดียวในประเทศไทยที่ยกอาณาจักรฮิโนกิแลนด์เมืองญี่ปุ่นจำลองมาไว้ที่นี่….อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ … ได้กลิ่นอายความเป็นญี่ปุ่นสุดๆ มีมุมถ่ายรูปเยอะ รวมถึงมีชุดกิโมโนให้เช่าอย่างมากมาย

 วันเวลาเปิด-ปิด : เปิดให้เข้าชมทุกวัน 08.00-17.00 น. ราคาค่าเข้าชม : ผู้ใหญ่ 80 บาท / เด็ก 30 บาท พิกัด....... อ่านต่อได้ที่ : https://www.chillpainai.com/scoop/12965 

มีน้ำทะเลที่ใสและลึกประมาณ 1 เมตร

หาดวอนนภา  หาดบางแสนตอนล่าง มีลักษณะเป็น แนวหินกั้นคลื่นซัดเซาะชายฝั่ง ยาวตลอดแนวชายหาด ตั้งอยู่ตอนใต้ของ หาดบางแสน

ต้อนรับการมาของลมหนาวช่วงปลายปีแบบพอดิบพอดี

จิตรกรรมฝาผนัง แบบไลฟ์สไตล์ กิน,เที่ยว,ความงาม

มีน้ำทะเลที่ใสและลึกประมาณ 1 เมตร

สามารถทำกิจกรรมต่างๆทางทะเลได้ เช่น เช่าห่วงยางเล่นน้ำทะเล เล่นบานาน่าโบ้ท แต่ก็ต้องใช้ความระมัดระวังในการเล่น เนื่องจากมีระดับที่ลึกและมีโขดหินจำนวนมาก ส่วนบนลานหินริมทะเลเป็นที่สำหรับนั่งปูเสื่อ หรือเตียงผ้าใบใต้ร่มเงาทิวมะพร้าว

ต้อนรับการมาของลมหนาวช่วงปลายปีแบบพอดิบพอดี

เพื่อนั่งรับลม รับประทานอาหาร ส่วนฝั่งตรงข้ามริมถนน มีร้านค้า ร้านอาหาร สิ่งอำนวยความสะดวกจำนวนมาก ให้ใช้บริการ ส่วนปลายหาดเป็นสวนสาธารณะและสะพานปลา ซึ่งในช่วงเช้า ชาวประมงจะจอดเรือเทียบฝั่ง เพื่อแกะกุ้งหอยปูปลาออกจากอวนแบบสดๆ มาขายให้นักท่องเที่ยว ในราคาถูก…!

หาดบางแสน ที่มีลักษณะเป็น แนวหินกั้นคลื่นซัดเซาะชายฝั่ง ยาวตลอดแนวชายหาด

“ยักษ์ใหญ่” 2 สมาคม จับมือ ช่วยประชาชน ฝ่าวิกฤตโควิด-19

กลุ่ม”พญาต่อ”ประสานปั่นน้ำใจแจกข้าวกล่องช่วยประชาชน ฝ่าวิกฤตโควิด-19

วันเสาร์ที่ 23 ต.ค 64 เวลา 11.00 น.ที่ร้านข้าวแกง 100 หม้อ ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพมหานคร ายโชคภิวัสร์ เลิศสุรสีห์(พญาต่อ) นายกสมาคมสื่อมวลชน ดิจิทัลประธานองค์การประชาชนเพื่อประชาชน

พร้อมด้วยนายจิรวัฒน์ รุ่งอัครเศรษฐี(เชฟคำมูล)นายกิตติพันธ์ ขันติศีลชัย นายกสมาคมช่างภาพ สื่อมวลชน ดิจิทัล,นายเกียรติคุณ โปณสุวรรณ(กบชุดขาว) ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการการศึกษา,นายรัฐณกรณ์ อมรวีระวัฒน์(ชาติพยัคฆ์)นางสาวธนาภา สายศรี(ภรรยา),ดร.พีรวัฒน์-ดร.ธัชวิน สุรเศรษฐ ประธานกต.ตร.กทม.(ภาคประชาชน)ประธานกต.ตร.บก.น.1,ประธานกต.ตร.บก.สายตรวจและปฏิบัติการประธาน.กต.ตร.สน.ชนะสงคราม และรองประธานที่ปรึกษากองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว ร่วมกันแจกข้าวกล่องช่วยประชาชน ฝ่าวิกฤตโควิด-19

ซึ่งขณะนี้ รัฐบาลยังประกาศล็อกดาวน์

เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และยังมีผู้ติดเชื้ออยู่จำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนธุรกิจและปัญหาการดำเนินชีวิตในกลุ่มของ”พญาต่อ” จึงได้มาร่วมกันแจกข้าวกล่องที่ร้านข้าวแกง 100 หม้อ ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพมหานคร ทุกวันเสาร์ตั้งแต่เวลา 11 โมงเป็นต้นไป โดยมีเงื่อนไข ประชาชนคนทั่วไปสามารถมารับข้าวกล่องได้หนึ่งคนต่อหนึ่งกล่อง

ดังนั้น”นายโชคภิวัสร์(พญาต่อ)และนายจิรวัฒน์(เชฟคำมูล)ดร.พีรวัฒน์-ดร.ธัชวิน สุรเศรษฐ, นายเกียรติคุณ(กบชุดขาว)นายกิตติพันธ์, นายรัฐณกรณ์(ชาติพยัคฆ์)นางธนาภา(ภรรยา)จึงอยากจะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือ กลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดโควิด-19 เพื่อให้ผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน.

“ดร.ซก” ที่ปรึกษาฮุนเซน เข้าหารือ ” สุริยะ” ไทย-กัมพูชา

พร้อมร่วมมือด้านพลังงาน อุตสาหกรรมดิจิทัล และการท่องเที่ยว หลังจากโควิดผ่านไป

วันอังคารที่ 19 ตุลาคม 2564 14:30 น. รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ 
วุฒิสภา ได้ทำหน้าที่ประสานและนำ ดร.ซก ซกกรัดทะยา ( Dr.Sok Sokrethya) ที่ปรึกษาส่วนตัวของท่านนายกรัฐมนตรีสมเด็จฮุนเซน ผู้แทนรัฐบาลกัมพูชา และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา เข้าพบ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ณ ห้องรับรอง 1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างรัฐบาลของสองประเทศให้มั่นคงยิ่งขึ้น นอกจากนี้ เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักการเมืองรุ่นใหม่ของกัมพูชากับของประเทศไทย ตลอดจนเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแสวงหาความร่วมมือในด้านต่างๆ ในช่วงที่ทั้งสองประเทศเกิดโควิดและหลังจากสถานการณ์โควิดผ่านไปแล้ว
  • นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ได้กล่าวขอบคุณท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงท่องเที่ยวของกัมพูชาว่า กระทรวง อุตสาหกรรม เป็นเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่านได้มาเยือนกระทรวงอุตสาหกรรมในวันนี้

ทางไทยได้ทราบว่ารัฐบาลกัมพูชาให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมการแปรรูปการเกษตรอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอุตสาหกรรมยานยนต์และประเทศกัมพูชากำลังอยู่ในกระบวนการสร้างอุตสาหกรรมดิจิตัล ท่านจึงมีความเชื่อมั่นว่าไทยและกัมพูชาสามารถจะทำงานร่วมกันได้

นอกจากนี้ นายสุริยะ ได้เสริมว่าการค้าชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ ท่านจึงมีความปรารถนาที่จะเห็นการค้าชายแดนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งท่านยังไข้ขอให้รัฐบาลกัมพูชาจะให้การสนับสนุนให้นักธุรกิจไทยมีโอกาสจับคู่กับนักธุรกิจกัมพูชาเพื่อให้ความสัมพันธ์ด้านการค้าของสองประเทศมีความมั่นคงยิ่งขึ้นด้วย พร้อมกันนี้ ยังได้ ฝากความขอบคุณและความปรารถนาดีไปถึงนายกฮุนเชนผู้นำกัมพูชาในโอกาสนี้ด้วย

ทางด้าน ดร.ซก ซกกรัดทะยา รัฐมนตรีช่วยการท่องเที่ยวกัมพูชากล่าวว่า ท่านนายกรัฐมนตรีแห่งกัมพูชาสมเด็จฮุนเซน ได้ฝากความปรารถนาดีอย่างสูงสุดมายังรัฐบาลไทย ว่า ท่านปรารถนาที่จะเห็นนักการเมือง ข้าราชการ และประชาชนของกัมพูชาและไทยช่วยเหลือกัน ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดฉันท์ประเทศบ้านพี่เมืองน้อง

  อย่างไรก็ดีในสถานการณ์โควิดท่านนายกรัฐมนตรีสมเด็จฮุนเซน ได้มีนโยบายเร่งให้สร้างถนนและระบบการขนส่งอย่างกว้างขวางเพื่อเป็นการตระเตรียมรองรับการท่องเที่ยวที่จะกลับมาอีกครั้งหนึ่งในเร็ววันนี้  ซึ่งไทยแบะกัมพูชาพร้อมจับมือกับพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไปพร้อมกัน

ดร.ซก กว่าอีกว่า สถานการณ์ของเอสเอ็มอีในประเทศกัมพูชาในขณะนี้กำลังมีอนาคตที่ดียิ่ง กล่าวคือเอสเอ็มอีของกัมพูชามีอัตราการเจริญเติบโตถึงร้อยละ 15 ต่อปี สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะได้รับการสนับสนุนจากประเทศไทย ท่านจึงใคร่ขอกาพย์ขอบพระคุณต่อรัฐบาลไทย นักธุรกิจไทย และประชาชนคนไทยไว้ณโอกาสนี้ด้วย

สำหรับประเทศกัมพูชาอุตสาหกรรมเบามากกว่าอุตสาหกรรมหนัก

ปัญหาของประเทศกัมพูชาในขณะนี้ก็คือการขาดแคลนไฟฟ้าเพราะธุรกิจอุตสาหกรรมสามารถทำงานได้เฉพาะในเวลากลางวันเท่านั้นส่วนกลางคืนไม่สามารถทำได้ ซึ่งเรื่องนี้รัฐบาลกัมพูชากำลังส่งเสริมให้ธุรกิจเอกชนเข้ามาลงทุนในธุรกิจไฟฟ้ามากขึ้น อย่างไรก็ดีในสถานการณ์โควิดท่านนายกรัฐมนตรีสมเด็จฮุนเซน ได้มีนโยบายเร่งให้สร้างถนนและระบบการขนส่งอย่างกว้างขวางเพื่อเป็นการตระเตรียมรองรับการท่องเที่ยวที่จะกลับมาอีกครั้งหนึ่งในเร็ววันนี้

กระทรวงเกษตรฯ.ผนึกสภาอุตสาหกรรมภาคเหนือเร่งเครื่อง5โครงการใหญ่

มุ่งแปรรูปสินค้าเกษตรภายใต้”5ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย” “อลงกรณ์”มอบ”กรกอ.ภาคเหนือเดินหน้ากลยุทธ์โลจิสติกส์ใหม่ใช้ด่านรถไฟโมฮ่านและโลว์คอสต์แอร์คาร์โก้”เชื่อมเหนือ-เชื่อมโลก”เปิดตลาดจีนทุกมณฑล-เอเซียกลาง-ยุโรปภายในสิ้นปีน

 นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ในฐานะประธานคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กรกอ.)เปิดเผยวันนี้(21ต.ค.)หลังจากเข้าร่วมการประชุมทางไกลพร้อมมอบนโยบายให้แก่คณะอนุกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยภาคเหนือ(กรกอ.ภาคเหนือ)ซึ่งมีนายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยภาคเหนือเป็นประธานโดยมีคณะกรรมการทั้งภาครัฐภาคเอกชนภาควิชาการศูนย์AICละภาคเกษตรกรเช่นดร.สุขกิจ ยะโสธรศรีกุล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร นายพิศณุ ไชยนิเวศน์ ประธานกรรมการชุมนุมสหกรณ์การเกษตรภาคเหนือ นายสุพจน์ ป้อมชัย ผู้แทนสภาเกษตรกรแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่1-2-12 และหน่วยงานกระทรวงเกษตร ในพื้นที่ภาคเหนือ ร่วมประชุมกว่า50คนเพื่อบูรณาการทำงานเชิงรุกขับเคลื่อนโครงการสำคัญๆได้แก่

1.โครงการพัฒนาเกษตรแม่นยำสู่ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม 2 ล้านไร่ทั้งเฟส1และเฟส2ปี2564-2566

ในสินค้าเป้าหมาย 15ชนิด: ปาล์มน้ำมัน และยางพารา อ้อยโรงงาน ข้าวโพดหวาน และมะเขือเทศ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างระบบเกษตรแปลงใหญ่(Big Farm)ที่กระทรวงเกษตรฯสนับสนุนให้เกษตรกรรวมกลุ่ม และบริหารจัดการแผนการผลิตและจำหน่ายจับคู่กับบริษัทอุตสาหกรรมขนาดใหญ่(Big Brothers)ตามความต้องการของอุตสาหกรรมทั้งด้านปริมาณ คุณภาพและช่วงเวลาการรับซื้อ พร้อมพัฒนากระบวนการจัดการเพื่อลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มผลผลิต โดยใช้องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ


2.โครงการ1กลุ่มจังหวัด 1นิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหาร


3.โครงการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกของกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง 1

(พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ ตาก)เช่นโครงการศูนย์พัฒนาผลไม้สดเพื่อการส่งออก ประกอบด้วยโครงการโรงอบไอน้ำและคัดบรรจุมะม่วง 2.โครงการโรงงานแปรรูปแช่แข็งบรรจุมะม่วง วงเงินงบประมาณ 150 ล้าน


4.โครงการพื้นที่เศรษฐกิจนวัตกรรมอาหารภาคเหนือ (Northern Thailand Food Valley : NTFV)ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันภาคอุตสาหกรรมอาหารของไทย
5.การขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ภาคเหนือตามแนวคิดใหม่ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่13ว่าด้วยทิศทางการพัฒนาภาคเหนือ ปี 2566 – 2570 ซึ่งเน้น“เศรษฐกิจสร้างสรรค์ สานสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ สุขภาวะดี วิถีชีวิตยั่งยืน” บนทิศทางการพัฒนาบน “4C”ได้แก่

  1. Creative : พัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์มูลค่าสูง
    2.Connect : สร้างโอกาสในการเชื่อมโยงเศรษฐกิจภายในประเทศ และอนุภูมิภาค
  2. Clean : พัฒนาตามแนววิถีใหม่ (New Normal) บนฐานการเติบโตอย่างยั่งยืนของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการใช้พลังงานสะอาด
    4.Care : ที่ให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่องกับการดูแลผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส
    ทั้งนี้เพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่เป้าหมายในการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปในอาเซียนยุทธศาสตร์
    นอกจากนี้ที่ประชุมยังเห็นชอบ”แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารภาคเหนือเพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานของกรกอ.ภาคเหนือภายใต้5ยุทธศาสตร์ปฏิรูปภาคเกษตรของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คือยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิตโมเดลเกษตร-พาณิชย์,ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร 4.0 เพื่อการบริหารราชการแผ่นดินการบริการประชาชนและการพัฒนาภาคเกษตรกรรมโดยการใช้เทคโนโลยีตลอดห่วงโซ่อุปทานและมูลค่า(Supply-Value Chain)ตั้งแต่การผลิต การแปรรูปจนถึงการตลาด,ยุทธศาสตร์3Sเกษตรปลอดภัย เกษตรมั่นคง เกษตรยั่งยืน(Safety-Security-Sustainability),ยุทธศาสตร์บูรณาการเชิงรุกและยุทธศาสตร์ศาสตร์พระราชา
    นายอลงกรณ์ ยังได้มอบนโยบายต่อกรกอ.ภาคเหนือเพิ่มเติมอีก6เรื่อง
    1.Product based เพิ่มลำไยในโครงการเกษตรแม่นยำ2ล้านไร่ 2.Logistics Advantage เพิ่มแผนงานโลจิสติกส์”เชื่อมเหนือเชื่อมโลก”เปลี่ยนLand lockเป็นLand Linkด้วยการขนส่งทางรางเชื่อมด่านเชียงของกับด่านรถไฟโมฮ่านสู่ทุกมณฑลในจีน เอเซียตะวันออก เอเซียกลาง ตะวันออกกลาง รัสเซียและยุโรป โดยใช้ท่าเรือบกคอร์คอสของคาซัคสถานเป็นศูนย์พักและกระจาย(Hub&Spoke)สินค้าเกษตรอาหารของไทยและการขนส่งทางอากาสในระบบLow cost air cargo systemด้วยสนามบินนานาชาติในภาคเหนือเช่นสนามบินเชียงใหม่และเชียงราย
    3.Sustainable Agroindustry โครงการอุตสาหกรรมสีเขียว(Green Industry)ในกรอบเกษตรกรรมยั่งยืน
    4.งบประมาณการวิจัยและพัฒนาสินค้าเกษตรโดยการสนับสนุนของสวก.องค์การมหาชนในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ.
    5.ระบบสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อการลงทุนเกษตรอุตสาหกรรมโดยความร่วมมือของธกส.และกระทรวงเกษตร
    6.โครงการLaboratoryภาคเหนือระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
    รายงานข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยังแจ้งด้วยว่า นอกจากการประชุมกรกอ.ภาคเหนือแล้วในสัปดาห์หน้า กรกอ.ภาคตะวันออกจะมีการประชุมในวันที่27ตุลาคม.

ปั่นน้ำใจแจกข้าวกล่องช่วยประชาชน ฝ่าวิกฤตโควิด-19

วันพฤหัสที่ 21 ต.ค 64 เวลา 11.00 น.ที่วัดศิริพงษ์ธรรมนิมิต ซอยวัชรพล แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กทม

.นายโชคภิวัสร์ เลิศสุรสีห์(พญาต่อ) นายกสมาคมสื่อมวลชน ดิจิทัล พร้อมด้วยนายจิรวัฒน์ รุ่งอัครเศรษฐี(เชฟคำมูล)นายเกียรติคุณ โปณสุวรรณ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการการศึกษา,ดร.พีรวัฒน์-ดร.ธัชวิน สุรเศรษฐ ประธานกต.ตร.กทม.(ภาคประชาชน)

ประธาน กต.ตร.บก.น.1,ประธานกต.ตร.บก.สายตรวจและปฏิบัติการประธาน.กต.ตร.สน.ชนะสงคราม และรองประธานที่ปรึกษากองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว ร่วมกันแจกข้าวกล่องช่วยประชาชน ฝ่าวิกฤตโควิด-19

ซึ่งขณะนี้ รัฐบาลยังประกาศล็อกดาวน์ เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
  • และยังมีผู้ติดเชื้ออยู่จำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนธุรกิจและปัญหาการดำเนินชีวิตในกลุ่มของ”พญาต่อ” จึงได้มาร่วมกันแจกข้าวกล่องที่วัดศิริพงษ์ธรรมนิมิต ซอยวัชรพล แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กทม.ตั้งแต่เวลา 11 โมงเป็นต้นไป โดยมีเงื่อนไข ประชาชนคนทั่วไปสามารถมารับข้าวกล่องได้หนึ่งคนต่อหนึ่งกล่อง
ดังนั้นนายโชคภิวัสร์(พญาต่อ)และนายจิรวัฒน์(เชฟคำมูล)ดร.พีรวัฒน์-ดร.ธัชวิน สุรเศรษฐ, นายเกียรติคุณ จึงอยากจะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือ กลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดโควิด-19 เพื่อให้ผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน.

วช. ร่วมกับ จ. ชุมพร นำทีมวิจัย ลุยพื้นที่ ดันนวัตกรรมแปรรูปผลไม้ ช่วยชาวสวนมังคุด แก้ปัญหาผลิตผลล้นตลาด

วันนี้ (20ตุลาคม 2564) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

ร่วมกับจังหวัดชุมพร นำโดย นายสัมฤทธิ กองเงิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร

นำทีมนักวิจัย จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง “โครงการชุดโรงงานพร้อมเครื่องจักรแปรรูปผลไม้ตัวต่อเพื่อธนาคารผลไม้เคลื่อนที่” และ “โครงการนวัตกรรมแปรรูปเพิ่มมูลค่ามังคุดสำหรับเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน : บทเรียนต้นแบบจากชุมชนลุ่มน้ำหลังสวน” ลงพื้นที่ อ.หลังสวน จ.ชุมพร ผนึกการทำงานกับภาครัฐ เอกชน และกลุ่มชาวสวนมังคุด เพื่อขับเคลื่อนการแปรรูปผลไม้เพิ่มมูลค่า บรรเทาผลผลิตล้นตลาด กระตุ้นการจ้างงาน

  • ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย วช. ตระหนักถึงปัญหา และผลกระทบในหลายมิติ โดยเฉพาะเศรษฐกิจฐานราก จึงได้วางเป้าหมายการวิจัยและพัฒนา ให้สอดรับกับแผนพัฒนาประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

เพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจของประเทศให้เข้มแข็ง 

ดยส่งเสริมให้ “นวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ” ภายใต้แนวคิดหลัก คือ เปลี่ยนจากการผลิตสินค้า ไปสู่ “นวัตกรรม” เปลี่ยนภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และเปลี่ยนภาคการผลิตสินค้า ไปสู่ภาคการบริการมากขึ้น วช.จึงได้สนับสนุนทุนวิจัย แก่โครงการชุดโรงงานพร้อมเครื่องจักรแปรรูปผลไม้ตัวต่อเพื่อธนาคารผลไม้เคลื่อนที่ และโครงการนวัตกรรมแปรรูปเพิ่มมูลค่ามังคุดสำหรับเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน เพื่อเพิ่มมูลค่าให้สินค้าแปรรูปทางการเกษตร โดยทั้ง 2 โครงการนับเป็นการสร้างต้นแบบงานวิจัยเชิงพื้นที่ สำหรับการถ่ายทอดระบบการผลิตไปยังชุดการผลิตอื่นได้อีก ช่วยยกระดับขีดความสามารถให้กลุ่มเกษตรกรจังหวัดชุมพร และยังก่อให้เกิดการจ้างงานกับคนในพื้นที่ หรือนักศึกษาจบใหม่ได้

รศ.ดร.ปิติเขต สู้รักษา หัวหน้าโครงการชุดโรงงานพร้อมเครื่องจักรแปรรูปผลไม้ตัวต่อเพื่อธนาคารผลไม้เคลื่อนที่ กล่าวว่า คณะนักวิจัย เห็นความสำคัญของการแก้ปัญหาผลิตผลทางการเกษตร โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดโรคโควิด-19

ที่เข้ามาสมทบ ทำให้สินค้นทางการเกษตรไม่สามารถส่งออกได้

เกิดการล้นตลาด สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังจึงได้บูรณาการการทำงานร่วมกันแบบสหวิชาการ เช่น ด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมเครื่องกล สถาปัตยกรรม และอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อร่วมกันออกแบบชุดโรงงานพร้อมเครื่องจักรแปรรูปผลไม้ตัวต่อ จนมีความพร้อมและประสิทธิภาพสำหรับการแปรรูปผลไม้ มาตรฐานเป็นไปตามข้อกำหนด GMP โดยการสร้างชุดเครื่องจักรตัวต่อให้อยู่ในตู้คอนเทนเนอร์ ประมาณ 3-4 ตู้ มีขนาดเหมาะสมกับพื้นที่ ประกอบพร้อมใช้งาน เคลื่อนที่ไปในชุมชน แหล่งผลิตผลทางการเกษตรได้ สามารถแปรรูปพืชผลทางการเกษตรให้อยู่ในรูปแช่เยือกแข็ง เพื่อเก็บรักษาผลไม้ที่ล้นตลาด รอการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงไว้ในธนาคารผลไม้ได้อย่างเร่งด่วน ขณะนี้ได้นำไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่โครงการร้อยใจรักษ์ และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มมังคุดศูนย์การเรียนรู้การเกษตรท่ามะพลา อ.หลังสวน จ.ชุมพร ซึ่งกลุ่มชาวสวนมังคุดหลังสวนถือเป็นต้นแบบที่เข้มแข็ง สามารถต่อยอดเชิงพาณิชย์ต่อไปได้ จากการที่มีผลผลิตเก็บไว้อย่างเพียงพอต่อความต้องการของตลาด สามารถดันราคาให้สูงขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถแปรรูปผลิตผลอื่น ๆ ได้อีกไม่รู้จบ

ขณะเดียวกัน ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ หัวหน้าโครงการนวัตกรรมแปรรูปเพิ่มมูลค่ามังคุดสำหรับเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน : บทเรียนต้นแบบจากชุมชนลุ่มน้ำหลังสวน ได้กล่าวว่า ได้วางเป้าหมายการแปรรูปมังคุดให้มีคุณค่าตรงกับความต้องการของตลาด เพิ่มมูลค่าให้มังคุดสด และเพิ่มยอดขายผลิตภัณฑ์แปรรูป ถือเป็นการกระตุ้นความต้องการมังคุดสด โดยได้ออกแบบเป็น 5 ผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย 1)น้ำมังคุดพร้อมดื่ม 2)เจลเพื่อพลังงานจากมังคุด 3)มังคุดสดตัดแต่งพร้อมรับประทาน 4)เครื่องดื่มมังคุดผงชงเสริมโพรไบโอติกและพรีไบโอติก และ 5)ผลิตภัณฑ์เค้กจากเนื้อสดและผงจากเปลือกมังคุด ซึ่งนวัตกรรมการผลิตสามารถคงคุณภาพของมังคุดสดไว้ได้อย่างเต็มเปี่ยม ตัวผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์มีความเชื่อมโยงกับภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม บอกเล่าผ่านประเพณี “แห่พระแข่งเรือขึ้นโขนชิงธง” ของชาวหลังสวน สามารถส่งเสริมให้เป็นของฝากของที่ระลึก สร้างเศรษฐกิจให้กับอำเภอหลังสวนในฤดูการท่องเที่ยว ส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อจัดจำหน่ายในพื้นที่เพื่อสร้างเศรษฐกิจในพื้นที่ ด้วยมิติการเกษตรและการท่องเที่ยวได้

พร้อมกันนี้ วช. นำโดย ดร.จันทรวิภา ธนะโสภณ ที่ปรึกษาโครงการและคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ วช. ภาคประชาคมวิจัย ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ร่วมชมชุดโรงงานพร้อมเครื่องจักรแปรรูปผลไม้ตัวต่อ พร้อมหารือการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมแปรรูปเพิ่มมูลค่ามังคุดไปใช้ประโยชน์ร่วมกับจังหวัดชุมพร ระหว่างวันที่ 19 – 20 ตุลาคม 2564 โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เกษตรกรจะได้รับการแก้ปัญหาอย่างตรงจุด อนาคตของจังหวัดชุมพรสามารถต่อยอดไปได้ไกลที่สุด สร้างการตระหนักรู้ด้านวิจัยและนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมการเกษตรและการท่องเที่ยว โดยมีชุมชนชาวลุ่มน้ำหลังสวนเป็นต้นแบบ นอกจากจะสามารถพยุงเศรษฐกิจในช่วงส่งออกไม่ได้แล้ว ยังส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพการผลิตและบริโภคในประเทศให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืนยิ่งขึ้นต่อไป

รองอธิบดี ศย.กลาง ร่วมพิธีมอบเกียรติบัตรและมอบของที่ระลึกแก่เด็กและเยาวชน

ในโครงการ “ส่งเสริมและพัฒนาทักษะเด็กและเยาวชน 
เพื่อเตรียมความพร้อมในการประกอบอาชีพ หลักสูตร : กิจการร้านกาแฟเบื้องต้น รุ่นที่ ๑ / ๒๕๖๔
   วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๔  เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา    นางวิรา ยากะจิ ณ พิกุล  รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง 
 ร่วมพิธีมอบเกียรติบัตร  มอบของที่ระลึก จากนั้นได้มอบโอวาทในการปฏิบัติตนเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจแก่เด็กและเยาวชน ให้แก่เด็กและเยาวชนในโครงการ “ส่งเสริมและพัฒนาทักษะเด็กและเยาวชน  เพื่อเตรียมความพร้อมในการประกอบอาชีพ หลักสูตร : กิจการร้านกาแฟเบื้องต้น  รุ่นที่ ๑ / ๒๕๖๔ ณ ห้องประชุมใหญ่ ๗ – ๐๑ ชั้น ๗ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน อาคารกระทรวงยุติธรรม ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
     อนึ่ง เยาวชนที่สำเร็จการอบรมบางส่วน เป็นเยาวชนที่อยู่ในการดูแลของคณะทำงานติดตามด้วยใจของศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ซึ่งคณะผู้พิพากษาสมทบคณะทำงานได้เข้าร่วมให้กำลังใจในพิธีดังกล่าวด้วย