ผู้ตรวจราชการ พช. เยี่ยมชมไร่สุขพ่วง จ.ราชบุรี ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานศูนย์การเรียนรู้พัฒนาพื้นที่ต้นแบบตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โมเดช“โคกหนองนา”
วันที่ 11 พฤษภาคม 2565 นายอาทร พิมชะนก ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วย นางสาวภัทลภา สุริโย ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน และนายปฏิพัทธ์ พวงแก้ว ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน และเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดราชบุรี ลงพื้นที่ติดตามและสนับสนุนงานการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนากรมการพัฒนาชุมชนในระดับตำบล (CLM-Community Lab model) ณศูนย์เรียนรู้ไร่สุขพ่วงซึ่งดำเนินการโดยนายอภิวรรษ สุขพ่วง ณ พื้นที่ หมู่ 10 ต. จอมบึง อ. จอมบึง จ. ราชบุรี โดยในการลงพื้นที่ดังกล่าวนางสาวสาวิตรี ประดับศรี พัฒนาการอำเภอจอมบึง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอจอมบึงร่วมลงพื้นที่และให้ข้อมูลในการพัฒนา พื้นที่ดำเนินการการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบไร่สุขพ่วง ดำเนินการในพื้นที่ 15 ไร่ ในการปรับเปลี่ยนจากพื้นดินซึ่งเป็นที่ทำนาเดิมดำเนินการจัดการเป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบภายใต้โครงการการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบของกรมการพัฒนาชุมชนในปี 2564 โดยมีการขับเคลื่อนร่วมกันกับเครือข่ายการพัฒนาในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตจนเป็นวิถีใน เบื้องต้นของการดำเนินงานมีการ จัดการไร่เป็นศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ด้วย เพื่อเผยแพร่ความรู้ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เช่น การปลูกผักในตะกร้า ทำการเกษตรในพื้นที่ขนาดเล็ก ทำปุ๋ยปลอดภัย เลี้ยงสัตว์แบบพึ่งพา (หมูป่า เป็ด ไก่ไข่ ปลาดุก) ทำอาหารสัตว์ต้นทุนต่ำ แปรรูปเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร เช่น น้ำส้มสายชู ซีอิ๊วจากอ้อย กล้วยตาก ซึ่งในระดับศูนย์เรียนรู้ต่างๆ มีการจัดทำศูนย์เรียนรู้และการใช้ครุภัณฑ์ซึ่งจัดสรรโดยงบประมาณกรมการพัฒนาชุมชนและการสนับสนุนการจ้างแรงงานตามโครงการดังกล่าวอย่างคุ้มค่า อีกทั้งยังเป็นการผนึกกำลังภาคีเครือข่ายในการพัฒนาเพื่อเชื่อมโยงการดำเนินงานในรูปแบบต่างๆ

โดยจุดเด่นของไร่สุขพ่วงมีการดำเนินงานและส่งต่อองค์ความรู้สำหรับผู้ที่สนใจและสามารถเป็นศูนย์เรียนรู้กระจายองค์ความรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง มีการนำผลิตผลจากการพัฒนาพื้นที่มาสู่การแปรรูปทั้งในรูปแบบอาหารเครื่องดื่มของใช้และสมุนไพรต่างๆ ที่ไม่ใช่อาหารเพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างรายได้ตลอดทั้งปีและในทางเดียวกันไร่สุขพ่วงยังมีความโดดเด่น ในด้านการบริหารจัดการน้ำและทรัพยากรของไร่อย่างสมดุล โดยภาพที่เห็นได้ชัดคือพื้นที่เป็นพื้นที่รับน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก บริเวณโดยรอบมีปัญหาน้ำท่วมหากแต่ในฤดูแล้งจะประสบกับปัญหาน้ำไม่เพียงพอ ซึ่งในการจัดสรรพื้นที่ในไร่มีการจัดสรรน้ำอย่างเป็นระบบโดยยึดแนวทางและองค์ความรู้ตามหลักบริหารจัดการน้ำขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เป็นแนวทางในการจัดการและสามารถเป็นต้นแบบในการแก้ปัญหาในระดับพื้นที่โดยในการลงพื้นที่ดังกล่าวนายอาทร พิมชะนก ได้เน้นย้ำถึงกรอบการดำเนินงานและการถอดบทเรียนจากกรณีความสำเร็จในการแก้ปัญหาและการพัฒนาพื้นที่เพื่อเป็นต้นแบบในการขับเคลื่อนศูนย์เรียนรู้อื่น ๆ ในระดับพื้นที่อำเภอจอมบึง และจังหวัดราชบุรีต่อไปโดยมุ่งเน้นให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนทั้งที่เป็นเจ้าของแปลงศูนย์เรียนรู้และประชาชนทั่วไปผู้มีความสนใจในการดำเนินชีวิตขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในรูปแบบทฤษฎีใหม่และการประยุกต์ต่อยอด ต่อไป


กระทรวงมหาดไทย
สำนักตรวจราชการ
60ปีกรมการพัฒนาชุมชน
130ปีกระทรวงมหาดไทย_บำบัดทุกข์บำรุงสุข
SEPtoSDGs
SDGforAll
ADVERTISEMENT

