ผู้สื่อข่าว รายงานจากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ณ จังหวัดเชียงรายว่า นายซัยยิด เรซา โนบัคตี (H.E.Mr. Seyed Reza Nobakhti)เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ได้ส่งผู้แทนสถานทูตฯเข้าร่วมในงาน 25 ปีแห่งสถาปนามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยมีบรรดาทุตานุทูต เจ้าหน้าที่การทูตต่างประเทศ ข้าราชการ อาจารย์และนักศึกษา จำนวนหนึ่ง เข้าร่วมด้วย

ในงานนี้ นายมุรเตซา ซุลทานี ผู้ชำนาญการฝ่ายการเมืองและวัฒนธรรมประจำสถานทูตอิหร่าน เป็นผู้แทน นายซัยยิด เรซา โนบัคตี เอกอัครราชทูตอิหร่าน อ่านสาสน์ของทูตอิหร่าน ซึ่งในสาส์นดังกล่าว ชี้ให้เห็นถึง ความสัมพันธ์ทางมิตรภาพระหว่างประเทศไทยและอิหร่าน 400 กว่าปี พร้อมทั้งเชิญชวนให้มีความร่วมมือกันโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความร่วมมือทางวัฒนธรรมและการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยทั้งสองประเทศไทย-อิหร่าน

ทั้งนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ เริ่มต้นมาจากการเดินทางมายังประเทศไทยของเฉกอะหมัด กุมมี ที่กรุงศรีอยุธยา เมืองหลวงประเทศไทยในสมัยนั้น จนกระทั่งมีการขยายความสัมพันธ์มากยิ่งขึ้นในปัจจุบันนี้

เฉกอะหมัด เดินทางยังกรุงศรีอยุธา ในปี 1605 หลังจากนั้นเขาก็สามารถกลายเป็นหนึ่งในเจ้าหน้าที่ระดับสูงในราชสำนักของกษัตริย์ เนื่องจากการบริหารจัดการและไหวพริบของเขา และเขาเข้ารับราชการที่กรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยของกษัตริย์ 6 พระองค์และดำรงตำแหน่งต่างๆ อีกด้วย เนื่องจากเขาได้รับความไว้วางใจ
เฉกอะหมัด ยังได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ให้ดำรงตำแหน่ง ชัยคุลอิสลามคนแรกของราชอาณาจักรไทย โดยมีหน้าที่ในการเป็นผู้นำชาวมุสลิมและดูแลกิจการของชาวมุสลิมในประเทศ

ในสมัยของเฉกอะหมัด ข้าราชบริพารและขนบธรรมเนียมของพวกเขาได้รับอิทธิพลจากชาวอิหร่าน กษัตริย์แห่งสยามได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอิหร่านในการแต่งกาย การรับประทานอาหาร และรูปแบบสถาปัตยกรรม และชาวอิหร่านเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์เป็นประจำ
เฉกอะหมัด สมรสกับสตรีคนหนึ่งในราชวงศ์อยุธยา และผลของการแต่งงานครั้งนี้ คือลู กชายสองคนและลูกสาวหนึ่งคน ปัจจุบันลูกหลานของเขากลายเป็นครอบครัวไทยที่มีชื่อเสียงทั้งสองครอบครัว คือ ตระกูลอะหมัดจุฬา และบุนนาค
เฉกอะหมัด เสียชีวิตในปี 1631 ขณะที่มีอายุ 88 ปี และหลุมฝังศพของเขา ตกแต่งด้วยสถาปัตยกรรมอิสลาม-อิหร่าน ตั้งอยู่ในบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ห่างกรุงเทพประมาณ 80 กิโลเมตร
ADVERTISEMENT

